“หมูเถื่อนทะลัก” ร้อง ป.ป.ช.-ป.ป.ท. ตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐ เกียร์ว่าง

29 ก.ย. 2565 | 05:05 น.

เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูสุดทุน ยื่นหนังสือร้อง ป.ป.ช.-ป.ป.ท.ตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐ เกียร์ว่างปล่อยหมูเถื่อนหวั่นเชื้อโรค ASF เป็นภัยร้ายแรงส่งผลอุตสาหกรรมหมูล่มสลาย ชี้พฤติกรรมน่าสงสัย ไม่เคยเปิดเผยรายชื่อ กลับช่วยปกปิด เพื่อความโปร่งใสจึงขอให้ ตรวจสอบโดยเร็ว

“หมูเถื่อนทะลัก” ร้อง ป.ป.ช.-ป.ป.ท. ตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐ เกียร์ว่าง

 

นายเดือนเด่น ยิ้มแย้ม รองประธานชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนายอุดมศักดิ์ แก้วจันทร์วงษ์ เลขาธิการ ชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะ เข้ายื่นหนังสือ เพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐทางกรมศุลกากรและกรมปศุสัตว์กรณีการนำเข้าหมูเถื่อน ต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)โดยมีนายพิสิษฐ์ พัฒนกิจจำรูญ ผู้อำนวยการสักนักสืบสวนและกิจการพิเศษ จากนั้นได้นำคณะเกษตรกรได้ไปยื่นหนังสือต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) โดยนายพุฒิพงษ์ เลิศสถิตย์ รองเลขาฯ ปปท. เป็นผู้รับเรื่อง

 

ข้อความในหนังสือที่ยื่นนั้น ขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งกรมศุลกากร และกรมปศุสัตว์ในการปราบปรามขบวนการหมูเถื่อน โดยไม่เคยเปิดรายชื่อผู้กระทำผิดทั้งที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงบริษัทผู้นำเข้าได้ไม่ยาก ขณะที่หมูเถื่อนยังคงมีการวางขายปะปนกับหมูไทยในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ สร้างความเดือดร้อนเกษตรกรไม่รู้จบ

 

“หมูเถื่อนทะลัก” ร้อง ป.ป.ช.-ป.ป.ท. ตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐ เกียร์ว่าง

“การตรวจจับหมูเถื่อนในขณะนี้นับว่าน้อยนิดเมื่อเทียบกับปริมาณที่ลักลอบนำเข้ามาซึ่งผ่านด่านสำคัญอย่างท่าเรือแหลมฉบับเข้ามาเป็นจำนวนนับพันตู้ต่อเดือน แต่กลับไม่พบการตรวจจับ ณ ท่าเรือออก จึงน่าสงสัยมากว่าเกิดอะไรขึ้นกับขบวนการตรวจสอบ ณ ท่าเรือนั้น นอกจากนี้การตรวจจับยังไม่เคยเปิดเผยผู้กระทำผิดทั้งที่ประเทศไทยมีรายชื่อผู้นำเข้าได้อยู่เพียงไม่กี่ราย อยากให้ ป.ป.ช.ช่วยตรวจสอบเพื่อความไม่โปร่งใส เพราะเกษตรกรเดือดร้อนภัยขบวนการนี้เป็นอย่างมากในลักษณะหมูแข่แข็งบรรจุกล่องใส่ตู้คอนเทนเนอร์เก็บความเย็น

 

กระทั่งส่งผลต่อเชิงลบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูของไทยทำให้ปริมาณการขายหมูมีชีวิตหน้าฟาร์มในทุกพื้นที่ทั่วประเทศลดลง และส่งผลถึงระดับราคาหมูที่เกษตรกรควรจะได้รับ ตลอดจนความเสี่ยงในระดับที่อาจทำให้อุตสาหกรรมหมูไทยล่มสลาย เนื่องจากหมูลักลอบเข้ามาส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบตะวันตกทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังมีการระบาดโรค ASF อย่างกว้างขวางนับเป็นโรคที่สร้างความเสียหายแก่หมูไทยไปแล้วกว่าล้านตัว อีกทั้งในประเทศต่างๆ ดังกล่าวยังใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงหมูกันอย่างเสรีซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค นอกจากนี้จะส่งผลกระทบระยะยาวถึงความมั่นคงทางอาหารของประเทศตลอดจนการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ประเทศกำลังต้องการ

 

ทั้งนี้ในการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อนมีการสำแดงเด็จ เป็นสินค้าชนิดอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจโรค เลี่ยงภาษี เลี่ยงการขอใบอนุญาต เคลื่อนย้ายสัตว์ ขณะเดียวกันก็มีการวางขายหมูเถื่อนผ่านโซลเชียลมีเดียอย่างเปิดเผย ไม่เกรงกลัวกฎหมาย โดยเข้าสู่ราชอาณาจักรไทยทั้งด่านชายแดนและท่าเรือต่างๆ ได้อย่างสะดวกราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ท่าเรือแหลมฉบัง ที่มีข้อมูลว่ามีการนำเข้าถึงเดือนละ 1,000 ตู้คอนเทรนเนอร์