“เศรษฐา” ตั้งเป้าสนามบินสุวรรณภูมิ ติด 1 ใน 20 สนามบินที่ดีที่สุดในโลกใน 5 ปี

01 มี.ค. 2567 | 05:08 น.

“เศรษฐา” ตั้งเป้าสนามบินสุวรรณภูมิ ติด 1 ใน 20 สนามบินที่ดีที่สุดในโลกใน 5 ปี ประกาศสร้างเซ้าท์ เทอร์มินัล สร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ รับผู้โดยสารเพิ่มเป็น 150 ล้านคนต่อปี เดินหน้าอัพเกรดเอวิเอชั่นฮับ พร้อมตั้งเป้าดันการบินไทย ผงาด Top 3 สายการบินที่ดีที่สุดของเอเชีย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเป้าหมายการผลักดันให้ประเทศไทย ก้าวสู่การเป็น Aviation Hub ซึ่งเป็น 1 ใน 8 ด้านที่นายกฯได้ประกาศวิสัยทัศน์ “IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง” ยกระดับให้ไทยก้าวไปเป็นที่ 1 ของภูมิภาค และมุ่งเป้าพัฒนาให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก โดยกล่าวว่าประเทศไทยพร้อมมากที่จะระเบิดฉายแววให้รู้เรามีศักยภาพมากแค่ไหน

เศรษฐา ทวีสิน

การจะผลักดันให้ไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการบิน ( Aviation Hub ) ของภูมิภาค จะเริ่มจากการอัพเกรดเอวิเอชั้น ฮับ ปัจจุบันเรามี Pain Point  หลายปัญหาเพื่อนำไปสู่การพัฒนา  ซึ่งการพัฒนาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว สนามบินสุวรรณภูมิ ติดอันดับ 13 สนามบินที่ดีที่สุดในโลกในปี 2548 แต่วันนี้เราตกมาอยู่ที่ 68 ซึ่งตกลงไปมากถึง 55 อันดับ สำหรับประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ 24 ของโลก เทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่ได้ลงทุนอะไรสูง อย่าง จากาตาร์ มาเลเซีย ก็ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าเรา

ไทย Avation hub

ขณะที่คนต่างชาติอยากมาไทย แต่เที่ยวบินหรือตารางการบิน (สล็อตบิน)ไม่พอ เกิดจากแลนด์ดิ้งฟรี แพง แต่ดีเลย์ฟรี ถูก สวนทางกับต่างประเทศ ที่ แลนด์ดิ้งฟรีถูก ดีเลย์ฟรี แพง ทำให้เขาอาจไม่อยากมาก็ได้ เช่นเดียวกับ Capacity ของสนามบินสุวรรณภูมิก็ล้น โดยสนามบินสุวรรณภูมิ ศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารอยู่แค่ 45 ล้านคน แต่ในปีที่ผ่านมา รองรับอยู่ที่ 60 ล้านคน ก็ถือว่าตึงมาก  ยังไม่นับเรื่องของการท่องเที่ยว ที่จะเป็นอีกหนึ่งเสาหลัก ถ้าตรงนี้ประสบความสำเร็จวุ่นวายแน่นอนถ้าสนามบินสวุรรณไม่ได้ทำอะไร รันเวย์มี 2 รันเวย์ไม่พอแน่นอน ลานจอด คลังสินค้า ก็รับไม่ไหวแน่นอน

ระบบคอมพิวเตอร์ในสนามบินมีหลายซัพพลายเออร์ ไม่ซิงค์กันเป็นปัญหาใหญ่ ระบบล่ม พอมีปัญหาเกิดขึ้นบั่นทอนศักยภาพของประเทศ ไฟล์ตที่มาต่อเครื่องบินก็มีน้อยลง เราจะเห็นว่าเครื่องบินที่มาเปลี่ยนผ่านที่สนามบินสุวรรณภูมิอยู่แค่ 1% ขณะที่สนามบินชางงี ประเทศสิงคโปร์ อยู่ที่ 30% จริงๆแค่เขามาเปลี่ยนเครื่องบินแค่ 2-3 ชั่วโมง

ถ้าเขามาเห็นไทยฮอสพิทาลิตี้ เห็นจุดขายต่างๆของไทย ต่อไปไทยก็จะเป็นอีกหนึ่งในเดสติเนชั่นที่เขาจะมา วันนี้สนามบินสุวรรณภูมิ รองรับผู้โดยสาร 60 ล้านคน 1.6 แสนคนต่อวัน แน่นมาก ระบบตรวจคนเข้าเมือง ระบบกระเป๋า งานต่างๆก็ล้นมือ และถ้าเราไม่มีการทำอะไรเลย สนามบินสุวรรณภูมิ ก็อาจจะตกลงไปอีก อย่าว่าแต่ขึ้นจากอันดับที่ 68 เลย

เป้าหมายจากนี้คือรัฐบาลจะพัฒนาให้สนามบินสุวรรณภูมิ รองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็น 150 ล้านคนต่อปี และส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องการบิน และมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้สนามบินสุวรรณภูมิ ก้าวสู่ 1 ใน 50 สนามบินที่ดีที่สุดในโลก ภายใน 1 ปีจากนี้ และจะขับเคลื่อนให้สนามบินสุวรรณภูมิ ติดอันดับ 1 ใน 20 สนามบินที่ดีที่สุดในโลก ใน 5 ปี

“เศรษฐา” ตั้งเป้าสนามบินสุวรรณภูมิ ติด 1 ใน  20 สนามบินที่ดีที่สุดในโลกใน 5 ปี

“เศรษฐา” ตั้งเป้าสนามบินสุวรรณภูมิ ติด 1 ใน  20 สนามบินที่ดีที่สุดในโลกใน 5 ปี

การจะทำให้บรรลุเป้าหมายขับเคลื่อนให้สนามบินสุวรรณภูมิ ติดอันดับ 1 ใน 20 สนามบินที่ดีที่สุดในโลก ใน 5 ปี จะดำเนินการใน 5 เรื่อง ได้แก่

1.การแก้ปัญหาระยะสั้นของสนามบินสุวรรณภูมิ โดยสนามบินสุวรรณภูมิ มีพื้นที่ 2 หมื่นไร่ โดยอาคารผู้โดยสาร มีการเปิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลักที่ 1 (SAT 1) ที่เปิดได้เร็วเพราะมีการขุดอุโมงค์รอไว้แล้วเมื่อ 17 ปีที่แล้ว ไม่งั้นกว่าจะเปิด SAT 1 ได้ จะเสียเวลา ซึ่งต้องยกให้เป็นวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในยุคนั้น โดยในระยะสั้นมีเป้าหมายต้องเร่งแก้ปัญหาในสนามบิน โดยขยายคอขวดการให้บริการ

ทั้งนี้ตั้งเป้าภายใน 6 เดือน สนามบินสุวรรณภูมิจะรองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคนต่อปีจริงๆ ไม่ใช่ศักยภาพอยู่ที่ 40 ล้านคนต่อปี แต่ถ้าตรึงถึง 60 ล้านคนอย่างในปัจจุบัน ทำให้ทุกอย่างคลุกขลักไปหมด ส่วนการสร้างรันเวย์ที่ 3 จะเสร็จในเดือนตุลาคมนี้หรือเร็วกว่านั้น เพื่อขยายการรองรับเที่ยวบินเพิ่มจาก 60 ลำต่อชั่วโมง เป็น 90 ลำต่อชั่วโมง

นอกจากนี้เราลดเวลาของผู้โดยสาร ในการผ่านจุดตรวจสอบต่างๆลง เช่น การนำระบบออโต เช็คอิน ระบบไอทีมาใช้ หรือการเปิดเคาท์เตอร์ให้เช็คอินได้เพิ่มขึ้น อาจจะเป็นเปิดก่อน 6 ชั่วโมง ให้นักท่องเที่ยวมาจับจ่ายใช้สอยในสนามบินเพิ่มขึ้น การเพิ่มเจ้าหน้าที่ของทอท.และตม. ในการให้บริการ การเพิ่มจำนวนบริษัทบริการภาคพื้น การขนส่งกระเป๋าสัมภาระ ที่จะต้องมีการแข่งขัน มีการวัด KPI เพื่อให้เกิดการให้บริการที่ดีที่สุดแก่นักท่องเที่ยวและประชาชน ซึ่งการให้บริการต่างๆในสนามบินมีระบบมากมาย มีหลายซัพพลายเออร์ ถ้ามีปัญหาจะต้องมีการดาวน์เกรด หรือมีบทลงโทษ

2.  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว ของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันเรามีอาคารผู้โดยสารหลัก ต่อไปก็จะมีการสร้างอาคารผู้โดยสารด้านทิศใต้ หรือ เซ้าท์ เทอร์มินัล ในทางตรงถนนบางนา-ตราด และต่อไปก็จะมีการเชื่อมกันโดยรถไฟฟ้าระหว่าง 2 เทอร์มินัลนี้ ที่จะทำให้สนามบินสุวรรณภูมิ มีพื้นที่อาคารผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็นดับเบิ้ล

สนามบินสุวรรณภูมิ

พอมี 2 เทอร์มินัล ต่อไปการเชื่อมต่อการให้บริการผู้โดยสารและกระเป๋าสัมภาระก็จะมีความสมูธ เพราะวันนี้หลายคนจะเห็นปัญหาในเส้นทางบินยุโรป เช่น การเดินทางมาโดยสารการบินในกลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์ พอเปลี่ยนมาใช้ วันเวิล์ด ก็จะไม่สะดวก แต่ถ้ามีการลิงก์กันต่อไปก็จะมีการให้บริการที่สะดวกสบายเพิ่มขึ้น และต่อไปก็จะมีการขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออก และตะวันตก ก็จะทำให้สนามบินสุวรรณภูมิเพิ่มการรองรับผู้โดยสารได้อีก 30 ล้านคน และเมื่อรวมกับการก่อสร้างเซ้าท์ เทอร์มินัลที่เกิดขึ้น สนามบินสุวรรณภูมิ จะรองรับผู้โดยสารเพิ่มได้เป็น 150 ล้านคนต่อปี ถ้าเราดึงดูดคนได้ถึง 150 ล้านคนมาท่องเที่ยวได้ จากการอัพเกรดเอวิเอชั่น ทั้งหมดก็นำรายได้เข้าประเทศ รวมไปถึงการก่อสร้างรันเวย์ 4 ที่จะขยายการรองรับเที่ยวบินเพิ่มเป็น 120 เที่ยวบินต่อชั่วโมง

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการขนส่งสินค้าทางอากาศหรือคาร์โก้  ซึ่งจุดศูนย์กลางคลังสินค้าของกลุ่ม CLMV คือไทย  ปัจจุบันมีสินค้าผ่านสนามบินสุวรรณภูมิอยู่ที่  1.2 ล้านตันต่อปี เทียบกับ สิงคโปร์ อยู่ที่ 1.8 ล้านตันต่อปี ฮ่องกง อยู่ที่ 3.9 ล้านคนต่อปี  ซึ่งจะเห็นว่าประเทศเล็กแค่นี้แต่ทำไมมีคาร์โก้มากกว่าเรา  2-3 เท่า ซึ่งเราระบบเหมือนฮีทโธรว์ ,อัมสเตอร์ ดัม  แต่เราต้องทำระบบคลังสินค้าไม่ให้เกิดคอขวด

โดยตั้งเป้าจะเพิ่มคาร์โก้ของสนามบินสุวรรณภูมิ ให้ได้อีก 1.5 เท่าใน 3 ปี และไทยจะเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าทางอากาศแห่งภูมิภาค ภายใน 5 ปี โดยการขยายพื้นที่คลังสินค้าสนามบินสุวรรณภูมิ ที่ปัจจุบันใช้พื้นที่แนวนอนมาก ต่อไปเราก็จะใช้แนวตั้งเก็บสินค้าได้มากขึ้น การจัดทำสร้างระบบขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain) เพื่อนำสินค้าเกษตรสดใหม่จากเกษตรกรไทย อาหารไทยปรุงสดๆ ส่งจากเมืองไทยไปทั่วโลกง

การทำระบบขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain) จะทำให้การเก็บอาหารสด ซึ่งเรามีแผนจะพัฒนาอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 2 (SAT 2) ที่ทอท.มีแผนจะก่อสร้าง เพื่อทำเป็นคาร์โก้ เทอร์มินัล ซึ่งทางอเมซอน อีคอมเมิร์ซ ต่างๆก็ให้ความสนใจ อยากให้เราเป็นฮับกระจายขนส่งสินค้าไปทั่วโลก และในพื้นที่ SAT 2 จะทำเป็นฟรีเทรด โซน ส่งออก พักสินค้ากระจายขายทั่วโลก ผมมั่นใจว่าก้าวแรกสนามบินสุวรรณภูมิ จะประทับใจ ทำให้สินค้าวิ่งผ่านรวดเร็วมีประสิทธิภาพ    

3. การเปลี่ยนสนามบินดอนเมือง ให้เป็นสนามบินแบบ  Point to Point ขยายขีดความสามารถของสนามบินจาก 30 ล้านคน ( Capacity จริงๆ 23 ล้านคน) ที่ปัจจุบันก็เกินศักยภาพอยู่ โดยจะสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างปรเทศหลังใหม่รองรับได้ 23 ล้านคน และจะเปลี่ยนอาคาร 1 และอาคาร 2 เป็นอาคารผู้โดยสารในประเทศ รองรับได้ 27 ล้านคน ซึ่งการทำให้เวอร์ชั่นอัพเกรดสนามบินดอนเมือง จะรองรับผู้โดยสารได้  50 ล้านคน มีผู้โดยสารและร้านค้ามากขึ้น และจะเป็นฮับของการเอาสินค้าโอทอปมาโชว์ได้ด้วย  และเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงให้เดินทางเข้าออกเมืองได้สะดวกรวดเร็วขึ้น การก่อสร้างที่จอดรถในสนามบิน 7,600 คัน หรือเพิ่มขึ้นอีก  5 เท่า

รวมถึงการพัฒนาการให้บริการเพื่อรองรับไพรเวท เจ็ท ซึ่งปัจจุบันการใช้ไพรเวทเจ็ทสูงมาก เรามีเจ้าของไพเวทเจ็ท มากกว่าสิงคโปร์ ซึ่งในช่วงเทศกาลไม่พอรองรับผู้โดยสาร เราจะเปิดไพเวท เจ็ทที่ สนามบินสุวรรณภูมิ

 4. อินเตอร์เนชั่นแนล มาสเตอร์แพลน การขยายสนามบินนานาชาติ โดยเราจะสร้างสนามบินใหม่ ได้แก่ “สนามบินอันดามัน” เพราะศักยภาพของภาคใต้ไม่ได้มีแค่ ภูเก็ต เท่านั้น การสร้างสนามบินอันดามัน จะรองรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว ภูเก็ต พังงา กระบี่ และจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงจะขยายสะพานสารสิน เพื่อรองรับให้เรือยอช์ตขนาดใหญ่สามารถผ่านได้ โดยไม่ต้องไปอ้อมที่แหลมพรหมเทพ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวไอเอนท์ และทอท.ก็มีแผนจะสร้าง ซีเพลน เทอร์มินัล ในสนามบินภูเก็ตด้วย เชื่อมต่อการเดินทางไปยังเกาะต่างๆ และขยายอาคารผู้โดยสารสนามบินภูเก็ต จาก 12.5 ล้านคนเป็น 18 ล้านคน

รวมไปถึงการก่อสร้าง “สนามบินล้านนา” เพื่อรองรับผู้โดยสารได้อีก 20 ล้านคนต่อปี และรองรับผู้โดยสารในจังหวัดต่างๆในภาคเหนือ ซึ่งเราจะเห็นว่าในช่วงโควิด-19 เวียตเจ็ท เป็นสายการบินที่มีการสั่งซื้อเครื่องบินเยอะมาก เขาต้องการทำให้เชียงใหม่เป็นฮับ ถ้าเราทำก็เป็นโฮมเบส ของเวียตเจ็ทได้  ผมเชื่อว่าการแข่งขันจะทำให้สายการบินไทยก็จะพัฒนาตัวเอง แข่งขันกับเวียดเจ็ทได้

รวมถึงการขยายอาคารผู้โดยสารสนามบินเชียงใหม่ รองรับจาก 8 ล้านคนต่อปี เป็น 16.5 ล้านคน ภายใน 4 ปี ซึ่งหลังจากเราได้ขยายการให้บริการของสนามบินเชียงใหม่เป็น 24 ชั่วโมง ก็มีเครื่องบินจากญี่ปุ่น จีน เกาหลี เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้น จากเดิมที่เครื่องบินจะขึ้นไม่ได้หลังเที่ยงคืน

แผนพัฒนาไทยฮับบินภูมิภาค

การยกระดับสนามบินทั่วประเทศ อย่าง สนามบินน่าน สนามบินศรีสะเกษ สนามบินโคราช เพื่อพัฒนาเมืองรองเป็นเมืองหลัก เราคุยกับกองทัพอากาศ ทำให้เกิดการใช้น่านฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควบคู่กับความมั่นคง

“เศรษฐา” ตั้งเป้าสนามบินสุวรรณภูมิ ติด 1 ใน  20 สนามบินที่ดีที่สุดในโลกใน 5 ปี

การพัฒนาครัวไทยสู่การเป็น “ครัวของโลก” ผ่านการผลิตอาหารบนเครื่องบินที่ดีที่สุดในโลก ให้สายการบินต่างๆมาใช้บริการสั่งอาหารขึ้นเครื่อง  ครัวการบินจะถูกต่อยอดยกระดับป้อนสายการบิน รวมถึงการยกระดับระบบการทำงานในสนามบิน เราจะขยายทำให้สนามบินศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบินพาณิชย์และไพเวท เจ็ท พัฒนาระบบขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain) ต่อยอดระบบขนส่งอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสำอางค์ ป้อนกลุ่ม CLMV ซึ่งประชากรจะได้รับผลบวกมากกว่า 280 ล้านคน การพัฒนาระบบราง ที่จะมีการสร้างรถไฟความเร็วสูงไปยังท่าเรือแหลมฉบังด้วย

รวมถึงการสนับการต่อยอดความร่วมมือในแบบพาร์ทเนอร์ ชิฟ ระหว่างสายการบินต่างๆ การท่องเที่ยวและโรงแรม เพื่อขยายเส้นทางบินและบริการ เช่น การเป็นพันธมิตรร่วมกันระหว่างบางกอกแอร์เวย์ส กับสายการบินต่างชาติ หรือ แอร์เอเชีย  การนำอาหาร หรือโรงแรม ไปอยู่ในเว็บไซต์ของสายการบินต่างชาติ โดยสายการบินจะมีการออกแพ็คเกจร่วมกัน ซึ่งในการเดินทางไปงานส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ไอทีบี เบอร์ลิน ผมก็จะไปเสนอไอเดียนี้ด้วย

นอกจากนี้การบินไทย ก็เป็นสายการบินที่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน เป็นสายการบินแห่งชาติ การพัฒนาต่อไปเราไปไม่ได้ถ้าการบินไทยไม่แข็งแรง การบริหารฝูงบินที่เหมาะสม พัฒนาระบบ เช่นการพัฒนาเรื่องของออนไลน์บุกกิ้ง เพิ่มขึ้น จากเดิมที่การบินไทย พึ่งเอเย่นต์มาก เอเย่นต์ก็จะกั๊กตั๋วเครื่องบินไว้ ก็มีปัญหาพอขึ้นเครื่องก็จะเห็นที่นั่งว่าง เป็นต้น ก็ต้องพัฒนาทำให้ดีขึ้น

ส่วนเรื่องการบริการการบินไทยเป็นเวิล์ดคลาสอยู่แล้ว ทั้งด้านอาหาร การจัดตารางบินก็ต้องมาหารือกัน การบินไทยอยู่ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ พอหลุดจากแผน เราก็ต้องการให้การบินไทยกลับมาระดับโลก โดยอย่างน้อย จะติดอันดับ 1 ใน 3 ในเอเชีย ที่อยู่ในระดับเดียวกับสิงคโปร์ แอร์ไลน์ส และสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค คนไทยก็จะภาคภูมิกัลการกลับมา

5.การวางรากฐานที่มั่นคงให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินแห่งภูมิภาค โดยเน้นการพัฒนาบุคคลกร และสวัสดิการ ที่จำต้องมีจำนวนบุคคลากรที่เพียงพอ เงินเดือนและสวัสดิการที่สอดคล้องกับค่าครองชีพ และยกระดับความสามารถของบุตคลากร ทุกภาคส่วน  ซึ่งวันนี้ต้องยอมรับว่าคนที่ให้บริการในสนามบินไม่พอ ตึงไปหมด การที่ผมแอบไปตรวจสนามบินสุวรรณภูมิ ไม่ได้ไปจับผิดเจ้าหน้าที่ แต่อยากให้เข้าใจเจ้าหน้าที่สละเวลาส่วนตัวทำโอเวอร์ไทม์ ผมเข้าไปดูทั้งระบบหน้าบ้านและหลังบ้านด้วย การจัดเวร ก็เห็นใจ และทอท.ก็มีแผนขยายทำให้เขามีความสะดวกสบายมากขึ้น ผมคิดว่าถ้าทำให้เขารู้สึกดีมีความสะบาย ก็จะมีการส่งต่อความสุขต่อกันได้ เริ่มจากผู้ให้บริการก่อน และการส่งต่อให้ผู้โดยสาร

การสร้างความยั่งยืน ซึ่งสายการบินมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงมาก เราจะดึงดูดสายการบินด้วยเชื้อเพลิง SAF และส่งเสริมการผลิตในประเทศ สนับสนุนบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม