บัณฑิตพันธุ์ใหม่"แม่โจ้"โชว์เคสนวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวสุขภาพ

08 พ.ค. 2566 | 08:46 น.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โชว์เคสผลงานผู้เข้าเวิร์คชอป โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ สร้างกำลังคนสมรรถนะสูง ในการจัดการและนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 

ดร.กีรติ ตระการศิริวานิช คณบดีคณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่าโครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "Building Experience from Our Journeys"  เป็นหลักสูตรการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและนวัตกรรม  เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พฤติกรรมการท่องเที่ยวที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงสามารถพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวและออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บนฐานความรู้ความเข้าใจสุขภาวะแบบองค์รวม ให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว

โครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 40 คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว เกษตรกรแพทย์ทางเลือกแผนไทย ตัวแทนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน โดยตลอดระยะเวลาการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นเวลา 4 เดือนนั้น พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการสามารถที่จะผลิตผลงาน และสุดท้ายได้ผลงานที่สามารถจะนำมาเสนอในงานนี้ รวมทั้งหมด 28 ผลงาน ถือว่าเป็นผลงานในเชิงนวัตกรรม

ดร.กีรติ ตระการศิริวานิช คณบดีคณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

บัณฑิตพันธุ์ใหม่\"แม่โจ้\"โชว์เคสนวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวสุขภาพ

โดยที่จะเกี่ยวข้องกับ Keyword 3 คำ ที่เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ เรื่องของเกษตร อาหาร สุขภาพ และท่องเที่ยวมาเป็นตัวสุดท้าย ในการที่จะเชื่อมโยง 3 คีย์เวิร์ดนี้เข้าด้วยกัน นำมาสู่การจัดงานสัมมนาวิชาการและนิทรรศการเผยแพร่ผลงานผู้ผ่านการฝึกอบรม เพื่อนำเสนอผลเรียนรู้ของผู้ผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

โดยมีการจัดแสดงผลงานในรูปแบบนิทรรศการ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ เพื่อต่อยอดธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากผู้ประกอบธุรกิจโดยตรง อันจะนำไปสู่โอกาสในการพัฒนาผลงานต้นแบบไปสู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์

บัณฑิตพันธุ์ใหม่\"แม่โจ้\"โชว์เคสนวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวสุขภาพ

บัณฑิตพันธุ์ใหม่\"แม่โจ้\"โชว์เคสนวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวสุขภาพ

อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ ที่มีความสนใจในการพัฒนาบริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ Social Network Analysis ที่ได้จากการเก็บข้อมูลของโครงการ พบว่า ผู้ประกอบการในโครงการได้สร้างและขยายเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ทั้งภายในและภายนอกโครงการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก 

จากเดิมที่แต่ละคนไม่เคยเชื่อมโยงกัน แต่ภายในช่วงเวลา 4 เดือนนี้ มีการเชื่อมโยงกันข้างในกลุ่ม 20-30 คน มีเม็ดเงินที่เกิดจากการเชื่อมโยงกันแล้ว 40,000 กว่าบาท หากเทียบกับการลงทุนรูปแบบอื่นถือว่าคุ้มค่า ยังไม่นับรวมกับการเชื่อมโยงกับหน่วยงานข้างนอก

บัณฑิตพันธุ์ใหม่\"แม่โจ้\"โชว์เคสนวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวสุขภาพ

คณบดีคณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับแนวโน้มการท่องเที่ยว เชื่อมั่นว่าตอนนี้ในเป็นเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่มีความสำคัญมากๆ โดยเฉพาะยุคหลังโควิด เราพบว่า ทั้งเรื่องความสะอาด ความปลอดภัย และเรื่องสุขภาพต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ทุกคนถวิลหา จึงได้เลือกมาขับเคลื่อนกิจกรรมนี้ ที่จะต่อยอดให้กับผู้ประกอบการและผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และเชื่อมโยงสู่การประกอบธุรกิจโดยตรง

เมื่อเสร็จสิ้นโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ รุ่น 1 ไปแล้ว เราไม่ได้มีงบประมาณในการขับเคลื่อนโครงการต่อ แต่จากฐานทุนที่ทุกคนมา เราจะนำมาแลกเปลี่ยนกันเพื่อจดกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไปโดยไม่ต้องใช้งบประมาณ เพื่อแสดงให้เห็นว่า สามารถออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้ สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อไปอย่างยั่งยืน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประธานในพิธีเปิด กล่าวว่า จาก วิกฤตโควิดที่ได้รับผลกระทบในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวซึ่งเจอโดยตรงและต้องเร่งฟื้นฟู ซึ่งมีคำถามว่าจะฟื้นฟูอย่างไรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม ที่จะสามารถนำความรู้ไปต่อยอดธุรกิจ พัฒนาสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง 

หลักสูตรการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและนวัตกรรม เป็นหลักสูตรที่จะสามารถสร้างบุคลากรทางการท่องเที่ยว ให้เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่จะสามารถพลิกฟื้นสร้างการเปลี่ยนแปลง ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย 

บัณฑิตพันธุ์ใหม่\"แม่โจ้\"โชว์เคสนวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวสุขภาพ

ผู้ที่จบการศึกษาจากหลักสูตรนี้จะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ในตัวแปรสำคัญของภาคธุรกิจการท่องเที่ยว เข้าใจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะคุณภาพแพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยวสมัยใหม่ เป็นผู้ที่ผ่านกระบวนการ Up-skilled Reskilled พร้อมต่อการทำงาน เพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

สำหรับงานสัมมนาวิชาการและนิทรรศการเผยแพร่ผลงานผู้ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "Building Experience from Our Journeys" หลักสูตรการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและนวัตกรรม จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3พ.ค. 2566 ที่ห้อง Gallery Room ชั้น 1 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) เชียงใหม่ (TCDC Chiang mai)

บัณฑิตพันธุ์ใหม่\"แม่โจ้\"โชว์เคสนวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวสุขภาพ

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย พิธีเปิดโครงการฯ การจัดนิทรรศการแสดงผลงาน การเรียนรู้และต้นแบบผลงานของผู้ผ่านการฝึกอบรม การเสวนาวิชาการ หัวข้อ "การประยุกต์ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (5 SENSES) สู่การสร้างคุณค่าทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ" โดยคุณณภัทร นุตสติ ผู้จัดการโรงแรม RAYA Heritage และคุณวงเดือน วังวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาระมิงค์ จำกัด และพิธีมอบประกาศนียบัตรสำหรับผู้ผ่านการฝึกอบรม โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ร่วมงานกว่า 80 คน

บัณฑิตพันธุ์ใหม่\"แม่โจ้\"โชว์เคสนวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวสุขภาพ