ชู ‘มวยไทย’ Soft Power ‘วัน แชมเปี้ยนชิพ’ เดินหน้าสร้าง Sport Entertainment

03 ก.ย. 2566 | 08:59 น.

“วัน แชมเปี้ยนชิพ” ดัน “มวยไทย” เป็น Soft power สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่แค่อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เดินหน้าล้างภาพมวยยุคเก่า “กีฬาคนจน-การพนัน-มาเฟีย” สู่กีฬาอาชีพค่าตัวหลักสิบล้าน พร้อม ผลักดันไทยสู่ Sport Entertainment

แม้รัฐบาลจะมีนโยบายผลักดันให้ “มวยไทย” เป็น “Soft Power” แต่พบว่า เป็นเพียงการสร้างการรับรู้ทำให้ทั่วโลกรู้ว่าประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยว มีมวยไทย แต่กลับไปไม่ได้ไกล เป็นเพียงการออกงาน Expo หรือเปิดบูธในงานเทรดโชว์ต่างๆ ขาดการเผยแพร่ผ่านสื่อ และมักจะถูกโปรโมทในเชิงของ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ไม่เคยถูกโปรโมทในเชิงโปรดักท์หรือคอนเทนต์ที่ส่งออกได้ จึงขาดโอกาสในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจทำให้เติบโตได้

นายจิติณัฐ อัษฎามงคล ประธาน วัน แชมเปี้ยนชิพ ประเทศไทย (One championship)

นายจิติณัฐ อัษฎามงคล ประธาน วัน แชมเปี้ยนชิพ ประเทศไทย (One championship) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปัจจุบันมวยไทยสามารถเดินมาถึงจุดที่เป็น Sport Entertainment และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ มีฐานคนดูใหม่ๆเข้าถึงมวยไทยมากขึ้นทั้งกลุ่มผู้หญิงและชาวต่างชาติทั้งอเมริกา ตะวันออกกลางและอเมริกาใต้ซึ่งเป็นตลาดใหม่ แม้คนดูอาจจะไม่มากเท่าตลาดหลักอย่างประเทศไทยแต่มีกำลังซื้อสูงมากโดยเฉพาะชาวอเมริกัน อังกฤษ ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจโลกทำให้สถานะการยอมรับของกีฬามวยไทยอยู่ในระดับที่สูงขึ้นและใกล้เคียงกับกีฬาเมนส์สตรีมเช่นฟุตบอล บาสเกตบอล แข่งรถหรือกอล์ฟ

“การใช้จ่ายเม็ดเงินของชาวต่างชาติส่วนใหญ่จะผ่านการฝึกซ้อมและเครื่องกีฬา ไทยเป็น “สปอร์ต ทัวริซึ่ม” มีการเก็บตัว เทรนนิ่ง สัมผัสประสบการณ์เสมือนนักมวยจริง แต่ละทริปใช้เงินเป็นหลักแสนบาทขึ้นไปต่อทริป และใช้เวลาในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 1 สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือนหรือเป็นปีตามวีซ่าที่มี และในสนามมวยเองตอนนี้ก็มีชาวต่างชาติเข้าไปดูจำนวนมากขึ้นทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยว และExpat”

ชู ‘มวยไทย’ Soft Power  ‘วัน แชมเปี้ยนชิพ’  เดินหน้าสร้าง Sport Entertainment

สำหรับ One championship ปัจจุบันจัดแข่งขันศิลปะการต่อสู้อันดับ 1 ของโลกมีผู้ติดตามมากกว่า 75 ล้านคนบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ถ่ายทอดสดไปกว่า 180 ประเทศทั่วโลก ซึ่งในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ONE ได้จัดการแข่งขัน “ONE ลุมพินี” ในประเทศไทยและได้รับเสียงตอบรับจากผู้ชมทุกวัยเข้าชมการแข่งขันเต็มทุกที่นั่งทุกสัปดาห์ และมีผู้ชมถ่ายทอดสดทางทีวีช่อง 7 HD เรตติ้ง 5.8 ในช่วงเวลา Super Prime Time สูงเป็นอันดับ 1 ด้วยยอดเฉลี่ยผู้ชม 13.6 ล้านคนต่อวัน

“ปัจจุบันโพชิชั่นนิ่งของ ONE เป็นมากกว่าสื่อบันเทิงหรือโปรโมเตอร์มวยเพราะอยู่ในจุดสูงสุดในอุตสาหกรรมระดับโลก โดยมี Key Formula คือสร้าง World Class Production ให้ความสำคัญกับ Drama Story telling ภายใต้ 3 คีย์เวิร์ดที่เปรียบเหมือน DNA คือคำว่า Value, Hero และ Story สร้างความแตกต่างและมาตรฐานใหม่โดยวางโพสิชั่นของนักกีฬาใหม่ไม่ได้มองว่านักกีฬาเป็นแค่นักสู้ แต่ทำให้เขาก้าวความเป็นนักสู้ไปสู่นักกีฬา และจากนักกีฬาไปสู่สตาร์ระดับโลก”

ชู ‘มวยไทย’ Soft Power  ‘วัน แชมเปี้ยนชิพ’  เดินหน้าสร้าง Sport Entertainment วันนี้ภายใต้พอร์ตของ “วัน แชมเปี้ยนชิพ” มีรายการหลักคือ “One Fight Night” โดยนักชกที่ขึ้นสังเวียนจากเป็นนักกีฬาที่เซ็นสัญญา Exclusive กับวัน แชมเปี้ยนชิพและเป็น Top Star และอีกรายการหลักที่เพิ่งจัดไฟลต์แรกเมื่อเดือนมกราคม 2566 คือ “ONE ลุมพินี” เป็นรายการสำหรับ Rising Star และทุกๆ 3 เดือนจะมีอีเว้นต์ใหญ่ที่นำนักกีฬา “วัน แชมเปี้ยนชิพ” ชิงเข็มขัด One Championship ภายใต้ความร่วมมือกับ กองทัพบก สนามมวยลุมพินี TERO Digital และช่อง 7HD เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี ถ่ายทอดสดรายการไปมากกว่า 180 ประเทศทั่วโลกผ่านแพลตฟอร์มฟรีทีวี ออนไลน์และ Streaming platform และคาดว่าจะขยายการออนแอร์ไปถึง 200 ประเทศรวมถึงเขตปกครองพิเศษภายในไม่เกิน 2 ปีนี้ “

 

นอกจากรายการ flagship แล้วบริษัทกำลังจะมีรายการ “Reality One championship Edition” ที่จะออกอากาศต้นปีหน้า และรายการที่ผลิตโดยพาร์ทเนอร์ เช่น “ONE ลุมพินี ฮีโร่” โดยช่อง 7HD เป็นรายการนำโปรไฟล์ของนักกีฬา หรือคนในอุตสาหกรรมมวยและ ONE ลุมพินี มาสัมภาษณ์ หรือการนำไฮไลต์ของไฟลต์ที่ผ่านมามาออนแอร์ย้อนหลัง ซึ่งอาจจะเป็นการสร้างช่องทางการหารายได้ใหม่เพิ่มในการสร้างแบรนด์และการตลาดเราไม่ได้มองแค่กีฬาสดอย่างเดียว แต่สามาร ถเทิร์นคอนเทนต์ออกไปเป็นสารคดี Reality รายการบันเทิงหรือกิจกรรมอื่น ซึ่งภาพนี้คาดว่าจะเห็นภายใน 1 ปี และในระยะ 1-3 ปีนี้มีแผนลงทุนในระบบการสร้างนิเวศรากหญ้าของมวยไทย ซึ่งในปีที่ผ่านมาเรา ทุ่มงบกว่า 20 ล้านบาทเพื่อฟื้นฟูค่ายมวยยากไร้ทั่วประเทศเกือบ 40 ค่าย หลังจากนี้มีแผนลงทุนและ สร้างแนวทางการจัดการแข่งขันนอกสนามมวยลุมพินีและกระจายไปสู่จังหวัดต่างๆ เป็นโรดโชว์เพื่อลงไปช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น”

นายอริยะวัฏ บุษราบวรวงษ์ กรรมการผู้จัดการ วัน แชมเปี้ยนชิพ ประเทศไทย ด้านนายอริยะวัฏ บุษราบวรวงษ์ กรรมการผู้จัดการ วัน แชมเปี้ยนชิพ ประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า คนไทยหลายคนอาจไม่เคยดูมวยไทยมาก่อนเพราะต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาภาพพจน์ของมวยไทยติดกับดักภาพของการพนันหรือมาเฟียในสนาม กระทั่งจุดที่วัน แชมเปี้ยนชิพได้ร่วมมือกับสนามมวยลุมพินี ช่อง 7HD และTERO Entertainment เข้ามาร่วมกันเปลี่ยนภาพลักษณ์ของมวยไทย เพื่อสร้างการเติบโตให้กีฬามวยไทย เราเริ่มจากเปลี่ยนความคิดว่ามวยไทยเป็นกีฬาอาชีพไม่ใช่กีฬาคนจน

 

และต้องเข้าใจว่าก่อนนักมวยจะก้าวเข้ามาในสนามไม่ใช่เรื่องง่ายจะต้องใช้ทั้งโปรโมเตอร์ เจ้าของค่ายปั้นนักมวยขึ้นมา ซึ่งต้องใช้เงินและเวลาในการปั้น เราจึงแบ่งเปอร์เซ็นต์เพื่อให้สิ่งที่โปรโมเตอร์หรือค่ายมวยทำมาไม่เสียผลประโยชน์และมีกำลังใจสร้างนักมวยรุ่นใหม่ๆขึ้นมา และเราพยายามสนับสนุนกรรมการคนไทยให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยค่าตอบแทนที่เราสามารถกล้าพูดได้ว่าสูงกว่าเดิมหลายเท่า เพราะที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าค่าตอบแทนของกรรมการคนไทยน้อยมากทำให้มีการล้มมวยหรือตัดสินผิด เพราะค่าตอบแทนอยู่ที่ประมาณหมื่นกว่าบาทจึงทำให้เกิดสีเทาขึ้นในวงการมวยไทยง่าย

 

“หนึ่งในเป้าหมายของเราคือการทำให้มวยไทยเติบโตได้มากกว่านี้ ตอนนี้ทุกคนมองว่ากีฬามวยไทยเป็นกีฬาต่อสู้ยืนที่ดีที่สุดในโลก ต่างชาติอยากเข้ามาเรียนมวยไทยในไทย ซึ่งเป็น Soft Power ที่ดีที่สุด”

 

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,918 วันที่ 31 สิงหาคม - 2 กันยายน พ.ศ. 2566