เปิดเทคนิคการทำตลาดออนไลน์ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่

22 มี.ค. 2566 | 06:20 น.

เปิดเทคนิคการทำตลาดออนไลน์ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ นิคอินสไปร์แนะทำตลาดผ่านตัวแทนการตลาดออนไลน์บนแพลตฟอร์มที่เหมาะสม ระบุช่วยลดความเสี่ยงของธุรกิจ

ปัจจุบันธุรกิจออนไลน์ ถือเป็นธุรกิจที่สร้างเศรษฐีใหม่ ทำให้เกิดผู้ประกอบการประเภทอายุน้อยร้อยล้านขึ้นเป็นจำนวนมาก ช่องการตลาดออนไลน์กลายเป็นช่องทางที่ธุรกิจหรือแบรนด์สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างไม่จำกัด

ประกอบกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีความคุ้นเคยและมีความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้การซื้อขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ หรือ อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ได้รับความนิยม

โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย 3 เหตุผลหลัก ได้แก่ 1.สินค้ามีราคาถูกและคุ้มค่ากว่า 2.ความสะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง และ 3.มีความคุ้นเคยกับการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือมีร้านประจำที่ซื้อสินค้าออนไลน์อยู่แล้ว ช่องทางการตลาดออนไลน์จึงกลายมาเป็นช่องทางที่สามารถสร้างรายได้ไม่จำกัดให้กับผู้ประกอบการจำนวนมาก

นายพงษ์ชัยวัฒน์ สอนสุภาพ CEO นักการตลาดออนไลน์จาก นิคอินสไปร์ ซึ่งอยู่ภายใต้บริษัท นิคเอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด เปิดเผยว่า ความท้าทายของการทำตลาดออนไลน์ในปัจจุบันไม่ใช่เป็นเพียงการสร้างกระแสเพื่อให้เกิดยอดขาย 

แต่จะต้องทำให้เกิดความยั่งยืนของธุรกิจและแบรนด์ด้วย ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจและแบรนด์ประสบความสำเร็จในการทำตลาดออนไลน์ก็คือ ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญในแพลตฟอร์มที่เลือกใช้ในการทำตลาดนั่นเอง

ทั้งนี้ แพลตฟอร์มที่ธุรกิจในไทยนิยมใช้กันส่วนใหญ่ก็คือ เฟซบุ๊ก เพราะคนไทยส่วนใหญ่นิยมเล่นเฟซบุ๊ก ผู้ประกอบการหลายคนคิดว่าการทำตลาดในเฟซบุ๊กนั้น เพียงแค่ทำคอนเทนท์ให้ดีก็น่าจะเพียงพอแล้ว 

แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่อย่างนั้น เพราะความยากของการทำตลาดเฟซบุ๊กในตอนนี้ก็คือ เฟซบุ๊กได้ปรับลดการมองเห็น หรือ organic reach จากเพจต่าง ๆ ลง จึงทำให้ธุรกิจที่เปิดเพจบนเฟซบุ๊กถูกมองเห็นลดลงด้วย 

เปิดเทคนิคการทำตลาดออนไลน์ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ นั่นหมายความว่า จะต้องมีการบูสเพจ หรือยิงโฆษณาบนเฟซบุ๊ก ควบคู่ไปกับการทำคอนเทนท์ที่ดึงดูด และทำการตลาดด้วยกลยุทธ์เชิง Outbound เพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็คือ การมุ่งเน้นไปที่วิธีการเข้าหาลูกค้า นำเสนอสินค้าหรือการบริการให้กับลูกค้าในช่องทางต่าง ๆ นั่นเอง 

อย่างไรก็ดี สิ่งที่จะเป็นผลกระทบโดยตรงกับผู้ประกอบการก็คือ แนวโน้มราคาโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจุดนี้เองที่ผู้ประกอบการหลายคนยังไม่รู้ และยังไม่มีความชำนาญพอในการทำตลาดออนไลน์ด้วยตัวเอง

สำหรับทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการปัจจุบันที่ต้องการทำการตลาดออนไลน์ ก็คือ การทำตลาดผ่านตัวแทนการตลาดออนไลน์บนแพลตฟอร์มที่เหมาะสม เช่น การทำตลาดบนเฟซบุ๊ก ซึ่งข้อดีของเฟซบุ๊ก คือเป็นแพลตฟอร์มที่ปล่อย (Launch) ออกมานานแล้ว

จึงมีการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคเอาไว้เป็นจำนวนมากมายมหาศาล ทำให้นักการตลาดออนไลน์สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และเลือกกลยุทธ์ในทำการตลาดให้กับแบรนด์ หรือสินค้าได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และเห็นผลชัดเจนที่สุด 

นายพงษ์ชัยวัฒน์ กล่าวอีกว่า ข้อดี หรือจุดแข็งของการทำตลาดออนไลน์ผ่านตัวแทนการตลาดออนไลน์สำหรับผู้ประกอบธุรกิจมือใหม่ หรือผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นทำตลาดออนไลน์ การเลือกตัวแทนการตลาดออนไลน์เข้ามาช่วยเสริมทัพ จะช่วยลดความเสี่ยงของธุรกิจได้ เนื่องจากตัวแทนการตลาดออนไลน์จะมีความชำนาญในด้านกลยุทธ์ และมีความเชี่ยวชาญในการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ 

นอกจากนี้ ยังมีฐานข้อมูลของลูกค้าอยู่ในมือเป็นจำนวนมาก จึงสามารถทำการตลาดเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายของแบรนด์ได้ทันที และสามารถสร้างยอดขายเป็นจำนวนมากได้ จากการใช้สื่อต่าง ๆ การทำคอนเทนท์ และการยิงโฆษณา ซึ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าจากคอนเทนท์ 

"การสร้างคอนเทนท์ที่สามารถดึงดูดความสนใจ หรือกระตุ้นการรับรู้ได้ ก็ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ แต่การจะทำให้คอนเทนท์ที่ดีนั้นถูกมองเห็นจากกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายจริง ๆ ก็ต้องใช้กลยุทธ์หรือเทคนิคต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูล บริหารและดำเนินการ ซึ่งถือเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะของตัวแทนการตลาดออนไลน์แต่ละราย"

เมื่อผู้บริโภคสามารถเข้าถึงช่องทางการขายสินค้า และมีทางเลือกมากขึ้น การทำการตลาดแบบ Omni-channel หรือการเชื่อมแพลตฟอร์มออนไลน์-ออฟไลน์ เข้าด้วยกัน จึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการ  

นายพงษ์ชัยวัฒน์ กล่าวอีกว่า ยุคนี้หากธุรกิจหรือแบรนด์มีช่องทางการตลาดออนไลน์ การจะสร้างยอดขายหลักร้อยล้านก็คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะโฮกาสทางการตลาดยังเปิดกว้างมาก ดังจะเห็นได้จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่พบว่าผู้บริโภคกว่า 51% สนใจเลือกซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์ม E-marketplace เพิ่มขึ้น