ตลาดแรงงานไทยฟื้นตัว แรงงานขาด-ฐานเงินเดือนเพิ่มยกแผง

02 ก.พ. 2566 | 11:05 น.

เศรฐกิจขาขึ้นหนุนตลาดแรงงานไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง ฐานเงินเดือนเพิ่มยกกระดานหลังบริษัทหาคนยาก Fist Jobber สายไอทีครองแชมป์เงินเดือนสูงสุด 80,000 บาท ส่วน Logistics และการตลาดแนวโน้มเป็นที่ต้องการสูง

อเด็คโก้ ประเทศไทย ชี้ตลาดแรงงานไทยปี 2565-2566 เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งจากเศรษฐกิจประเทศที่เริ่มฟื้นตัว สะท้อนผ่าน GDP ของไทยไตรมาส 3 ปี 2565 เติบโต 4.5% ขณะที่การจ้างงานเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการผลิต การขนส่ง การค้าขาย FMCG การเงินการธนาคาร (FinTech) ที่เงินเดือนขั้นต่ำเด็กจบใหม่กลับมาแตะ 15,000 บาทอีกครั้งหลังจากขยับลดลงอย่างเนื่องจาก 15,000 ไปเป็น 12,000 และเคยแตะเงินเดือนต่ำสุด 10,000 บาทในช่วงการระบาดของโควิด-19 ในช่วงปี 2563-2564

ตลาดแรงงานไทยฟื้นตัว แรงงานขาด-ฐานเงินเดือนเพิ่มยกแผง

หลังจากที่การระบาดของโควิด-19 ในช่วงปี 2563-2564 ส่งผลกระทบต่อความไม่แน่นอนในตลาดแรงงาน จนทำให้เงินเดือนเริ่มต้นของเด็กจบใหม่ขยับลดลงอย่างเนื่องจาก 15,000 ไปเป็น 12,000 และเคยแตะเงินเดือนต่ำสุด 10,000 บาท ในปีนี้เงินเดือนเริ่มต้นของเด็กจบใหม่ได้กลับมาแตะ 15,000 บาทอีกครั้ง

นอกจากนี้เงินเดือนเฉลี่ยของคนทำงานประสบการณ์ 0-3 ปีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 24,000 – 38,000 บาท และสูงสุดอยู่ที่ 80,000 บาท โดยเฉพาะสายงาน IT Security Analyst และ Software Tester รองลงมา เช่น ERP Consultant, Front End Developer, Programmer, Process Engineer, Nutritionist, Credit Analyst ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ต้องการทักษะเฉพาะด้าน และมีความเป็น specialist ในงาน เช่น ทักษะด้านไอที ดิจิทัล การเงิน และการวิเคราะห์ เป็นต้น 

นางสาวธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของ hard skills ที่คนทำงานจำเป็นต้องมี และต้องพัฒนาถึงระดับที่รู้จริงและเชี่ยวชาญ แต่ทั้งนี้การจะได้รับเงินเดือนสูง ผู้สมัครหรือคนทำงานก็จำเป็นจะต้องมีทักษะอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย เช่นทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร รวมถึงทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นส่วนช่วยเติมเต็มความสามารถ และทำให้ผู้จ้างยินดีที่จะจ่ายเงินเดือนที่สูงขึ้นกว่าระดับทั่วไป

ทั้งนี้การจ้างงานที่คึกคักในช่วงปี 2022 ทำให้เงินเดือนเริ่มต้นของพนักงานออฟฟิศในระดับซีเนียร์ และระดับผู้จัดการ ในช่วงปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยระดับซีเนียร์ได้เพิ่มจาก 15,000 บาท เป็น 18,000 บาท และผู้จัดการได้เพิ่มจาก 20,000 บาท เป็น 30,000 บาท โดยสายอาชีพที่มาแรงที่สุดในปีนี้คืองานด้าน IT ,Supply Chain Management และงานด้าน Sales & Marketing เพราะเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตตามยุค Digital Transformation ทำให้คนที่อยู่ในสายงานเหล่านี้เป็นที่ต้องการของตลาดในแทบจะทุกอุตสาหกรรม โดยนายจ้างยินดีให้เงินเดือนสูงเพื่อรั้งคนเก่งไว้ในองค์กร หรือดึงดูดผู้สมัครที่มีความสามารถมาร่วมงาน

 

นางสาวธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ประเทศไทย กล่าวว่า “ตลาดแรงงานในปี 2565 ที่ผ่านมา หลายบริษัทเริ่มฟื้นตัวจากโควิด-19 ทำให้มีตำแหน่งเปิดรับสมัครเป็นจำนวนมากรวมทั้งการโยกย้ายงานของTalent ที่มี skillset ที่เป็นที่ต้องการของตลาดให้เห็นในหลายสายงานทั่วโลก ตามรายงาน Global Workforce of the Future 2022 ของ Adecco ในปีที่ผ่านมายังพบว่าพนักงานกว่า 1 ใน 4 ตัดดสินใจลาออก หรือย้ายงานเพื่อให้ได้ผลตอบแทน สวัสดิการ หรือมีนโยบายเรื่องการทำงานที่ตอบโจทย์ตนเองมากกว่า”

สำหรับในปีนี้ HR และผู้นำองค์กรควรทำความเข้าใจกับพนักงานในองค์กรให้มากขึ้นโดยเฉพาะคน Gen Z ที่จะก้าวเข้ามาเป็นคนสำคัญในองค์กร และหาวิธีการปรับองค์กรให้พร้อมรับกับคนกลุ่มนี้ เช่น เตรียมความพร้อมให้ Manager ที่จะต้องทำงานกับ Gen Z ปรับวิธีทำงานให้เปิดกว้างเพื่อพร้อมรับฟังไอเดียใหม่ ๆ ปรับนโยบายการทำงานให้มีความยืดหยุ่นทั้งในแง่สถานที่และเวลา รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้าง Culture เพื่อให้คนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ทั้งในเรื่องอายุ เพศสภาพ ศาสนา และอื่น ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทใดที่สามารถทำได้ก่อนก็จะนำหน้าผู้อื่นไปหนึ่งก้าว

นายไซม่อน แลนซ์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายสรรหาทรัพยากรบุคคล อเด็คโก้เอเชียแปซิฟิก ด้านนายไซม่อน แลนซ์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายสรรหาทรัพยากรบุคคล อเด็คโก้เอเชียแปซิฟิก กล่าวถึงภาพรวมการตลาดแรงงานในระดับภูมิภาคว่า “ตลาดแรงงานทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงขาดแคลนทาเลนต์ โดยเฉพาะในสายอาชีพ STEM(science, technology, engineering and math) รวมถึงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ในขณะที่อุตสาหกรรมที่เติบโตทั่วภูมิภาคยังเป็นอุตสาหกรรมด้าน Life Sciences, Healthcare & Biotechnology, และ Renewable Energy และในปี 2023 นี้น่าจะเห็นการเติบโตด้านธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมและการบริการเช่นเดียวกัน

 

การโยกย้ายงานข้ามประเทศในภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะมีมากขึ้น เมื่อมาตราการการควบคุมและป้องกันโควิดผ่อนปรนลง รวมถึงเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ในด้านการสร้างความหลากหลายของพนักงานในองค์กรให้เกิดขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของการจ้างงานชาวต่างชาติ ยังเป็นเรื่องของการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงสำหรับบริษัท รวมถึงเป็นความท้าทายของคนทำงานเองในการเตรียมความพร้อมเพื่อปรับตัวให้ทำงานได้ท่ามกลางวัฒนธรรมที่แตกต่าง

 

ทั้งนี้ หลายบริษัทเริ่มเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการจ้างงานแบบ offshoring และ nearshoring ในฟังค์ชั่นงานต่างๆ ขององค์กร ขณะที่บางบริษัทเริ่มให้ความสนใจปรับมาใช้ shared service center เช่น IT Hub หรือ Designer Hub ในประเทศใดประเทศหนึ่ง เพื่อให้บริการในส่วนงานนั้น ๆ กับสาขาของบริษัทในประเทศอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอย่างคุ้มค่า และเป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อจัดการกับปัญหาการขาดแคลนคนทำงาน หรือค่าแรงสูงตามอัตราเงินเฟ้อ ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ”