ที่ผ่านมา "ถนนพระราม 2" หรือ ถนนเจ็กชั่วโคตร พบว่า ถนนสายดังกล่าวมักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการก่อสร้างมายาวนานกว่า 50 ปี
นอกจากนี้ยังมีโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดและหนาแน่น เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ลงสู่ภาคใต้
รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า สถิติการเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวงหมายเลข 35 ช่วงดาวคะนอง-วังมะนาว หรือถนนพระราม 2 บริเวณกม.0+000-กม.84+041
นอกจากนี้สถิติอุบัติเหตุ พบว่า ตั้งแต่ปี 2561-เม.ย.2566 เกิดอุบัติเหตุจำนวน 2,504 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 142 ราย ผู้บาดเจ็บ 1,441 ราย ดังนี้
4 บิ๊กโปรเจ็กต์ บนถนนพระราม 2
ขณะเดียวกันปี 2561 ที่ผ่านมา พบว่ามีหลายโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างบนถนนพระราม2 รวม 3 โครงการของกรมทางหลวง (ทล.) และ 1 โครงการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ไม่นับโครงการซ่อมแซมอื่นๆ ประกอบด้วย
1.โครงการขยายพระราม 2 ช่วงทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เอกชัย ซึ่งเสร็จสิ้นไปแล้ว เมื่อเดือน ก.ค. 2564
2.โครงการก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี – ปากท่อ (ถนนพระราม 2)
3.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน – บ้านแพ้ว (M82)
4.โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก
สำหรับโครงการโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ระยะทาง 24.7 กิโลเมตร (กม.) งบประมาณกว่า 29,236 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ช่วงบางขุนเทียน–เอกชัย ระยะทางรวม 8.3 กม. วงเงินรวมกว่า 10,477 ล้านบาท มีจุดเริ่มต้นช่วง กม.11+959 พื้นที่กรุงเทพฯ สิ้นสุด กม. 20+295 อ.เมืองสมุทรสาคร
ส่วนระยะที่ 2 ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ระยะทาง 16.4 กม. วงเงินจากการประมูลกว่า 18,759 ล้านบาท มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับโครงการระยะที่ 1 ช่วงบางขุนเทียน-เอกชัย บริเวณ กม.20 อ.เมืองสมุทรสาคร สิ้นสุด กม.36 อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร คาดว่าทั้งโครงการฯจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในปี 2568
ย้อนรอยอุบัติเหตุ "ถนนพระราม 2"
ล่าสุดวันนี้ 29 พ.ย.2567 เกิดเหตุคานปูน (Segment) และเครน (Launching Gantry Crane) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้ก่อสร้างทางยกระดับ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ตอน 1 ถล่มขณะกำลังเชื่อมคานปูนเข้าด้วยกัน
นอกจากนี้เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้คนงานที่ปฏิบัติงานเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายราย
ผู้รับเหมาอ่วม เหตุคานถล่ม
สำหรับเหตุการณ์ครั้งล่าสุดนั้นเป็นโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว มีระยะทางรวม 16.4 กม. วงเงินก่อสร้าง 18,759 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 1,080 วัน ตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. 65-15 ม.ค. 2568 (ขยายเวลาก่อสร้างให้ผู้รับเหมาจากผลกระทบโควิด-19 ถึงประมาณช่วงกลางปี 2568 แบ่งซอยก่อสร้างเป็น 10 สัญญา
ทั้งนี้จุดที่เกิดอุบัติเหตุเป็นตอนที่ 1 ของบริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด ระยะทาง 2.17 กม.มูลค่างาน 1,757 ล้านบาท เบื้องต้นกรมทางหลวงรายงานกระทรวงคมนาคมว่าผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเป็นคนงานของบริษัท พีเอสซีไอ คอนสตรัคชั่น จำกัด บริษัทรับเหมาช่วง