“สุริยะ” สั่งศึกษาลดค่าทางด่วน 7 เส้นทาง อุ้ม BEM แลกขยายสัมปทานชดเชยรายได้

02 เม.ย. 2567 | 10:51 น.

“สุริยะ” สั่งกทพ.-สนข. ศึกษาลดค่าทางด่วน 7 เส้นทาง ช่วยลดภาระประชาชน คาดได้ข้อสรุปภายใน 2 เดือน จ่อถก BEM แลกขยายสัญญาสัมปทาน หวังชดเชยรายได้อุ้มเอกชน

นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะป็นประธานการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายฯ ครั้งที่ 1/2567 ว่า เบื้องต้นที่ประชุมได้มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาการปรับปรุงระบบค่าผ่านทาง เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งมอบหมายให้ไปเจรจากับเอกชนคู่สัญญา คาดว่าใช้ระยะเวลาศึกษาแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน

“สุริยะ” สั่งศึกษาลดค่าทางด่วน 7 เส้นทาง อุ้ม BEM แลกขยายสัมปทานชดเชยรายได้

“ส่วนสาเหตุการศึกษาดังกล่าว เนื่องจากขณะนี้บนทางพิเศษมีการจราจรที่แออัดสะสมมานานโดยเฉพาะพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ ที่พบว่ามีด่านจัดเก็บค่าผ่านทางหลายจุด อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาจราจรติดขัดบนทางด่วนในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ และมีปริมาณรถค่อนข้างเยอะกว่าช่องจราจรที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้มีการจ่ายค่าผ่านทางสูงสุดถึง 165 บาท ส่งผลให้ประชาชนมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น”  

ทั้งนี้กระทรวงฯ มีนโยบายให้ กทพ.และ สนข.ศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน เช่น การพิจารณาปิดด่านจัดเก็บค่าผ่านทางที่ซ้ำซ้อนในแต่ละเส้นทาง หากแนวทางดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสัญญาสัมปทานของเอกชน ทำให้กระทบต่อรายได้ของเอกชน อาจเจรจาขยายสัมปทานกับเอกชนเพื่อชดเชยรายได้ โดยยืนยันว่าเป้าหมายสูงสุดของการดำเนินนโยบายนี้ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนที่จะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายได้

“สุริยะ” สั่งศึกษาลดค่าทางด่วน 7 เส้นทาง อุ้ม BEM แลกขยายสัมปทานชดเชยรายได้

สำหรับทางพิเศษ (ทางด่วน) ในกรุงเทพฯ ระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร (กม.) รวม 7 เส้นทาง แบ่งเป็น เส้นทางที่กทพ.รับผิดชอบ จำนวน 4 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.ทางพิเศษฉลองรัช 2.ทางพิเศษบูรพาวิถี 3.ทางพิเศษเฉลิมมหานคร 4.ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) และการบริหารโดยสัญญาสัมปทาน บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) และบริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL) จำนวน 3 เส้นทาง 1.ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) 2.ทางพิเศษประจิมรัถยา (ทางพิเศษศรีรัช – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) และทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) พบว่ามีผู้ใช้บริการทางพิเศษฯทั้งหมด 1.8 ล้านคันต่อเที่ยวต่อวัน