สปป.ลาว เปิดแล้ว "สนามบินบ่อแก้ว" เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำ

06 ก.พ. 2567 | 03:50 น.

"ท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้ว" สปป.ลาว เปิดอย่างเป็นทางการในเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำ มูลค่าลงทุนกว่า 225 ล้านดอลลาร์ ระบุเป็นสนามบินขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในสปป.ลาว คาดรองรับผู้โดยสารปีละ 2 ล้านคน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 ก.พ.2567 ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำ เมืองต้นผึ่ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว มีพิธีเปิดท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้ว หรือ สนามบินบ่อแก้ว อย่างเป็นทางการ

สปป.ลาว เปิดแล้ว \"สนามบินบ่อแก้ว\" เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำ

โดยมี นายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว พร้อมด้วย นายบัวคง นามมะวง เจ้าแขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว และ จ้าว เหว่ย ประธานสภาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำ ร่วมกันตัดริบบิ้นเปิดใช้งานท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้วอย่างเป็นทางการ

โดยถือเอาฤกษ์ปีมังกรทอง ก่อน เทศกาลตรุษจีน หลังจากเปิดทดลองใช้งานบินภายในประเทศสปป.ลาวระหว่างเวียงจันทน์-บ่อแก้ว มาเป็นเวลา 1 ปี และได้รับการรับรองมาตรฐานการบินจากทางกรมการบินพลเรือน สปป.ลาว ให้เป็นสนามบินมาตรฐาน ระดับ 4C

เชียงราย-ลาว-จีน ถือฤกษ์ปีมังกร เปิดท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้ว

สปป.ลาว เปิดแล้ว \"สนามบินบ่อแก้ว\" เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำ

บรรยากาศภายในงานมีตัวแทนจากฝั่งรัฐบาลสปป.ลาว และตัวแทนของสภาเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมคำ และนักธุรกิจลาว และจีนเข้ามาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

สปป.ลาว เปิดแล้ว \"สนามบินบ่อแก้ว\" เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำ

พร้อมกันนี้ ยังมี เครื่องบินของกองทัพอากาศสปป.ลาว รุ่น VIP MA-600, เครื่องบินATR-72 ของสายการบิน LANEXANG  และเครื่องบิน ATR-72ของสายการบินLAO SKYWAY ได้นำผู้โดยสารบินจากกรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาวมายังท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้วอีกด้วย  โดยเฉพาะสายการบินLANEXANG ถือเป็นสายการบินน้องใหม่ของสปป.ลาว ที่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา

เครื่องบินของกองทัพอากาศสปป.ลาว

จุดเริ่มต้นท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้ว

เป็นข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลสปป.ลาว ผู้ให้สัมปทานเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำ แก่กลุ่มดอกงิ้วคำ ในรูปแบบ Build Operate and Transfer (BOT) โดยกลุ่มดอกงิ้วคำจะได้รับสิทธิตามสัญญาสัมปทานจากรัฐบาลสปป.ลาว ในการลงทุนก่อสร้างและ ดำเนินงาน เพื่อหาผลตอบแทนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ 

หลังจากการสิ้นสุดอายุสัมปทานกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่ลงทุนจะถูกโอนให้แก่รัฐบาลสปป.ลาวต่อไป โดยถือว่าท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้ว ถือว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากท่าอากาศยานนานาชาติวัดไต นครเวียงจันทน์  และท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง   

ท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้ว

ท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้ว เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563 มีพื้นที่ก่อสร้างประมาณ 314 เฮกตาร์ หรือกว่า 1,800 ไร่  มีรันเวย์ยาว 2,700 เมตร และสามารถขยายเพิ่มได้สูงสุด 3,000 เมตร มีมูลค่าการลงทุนกว่า 225 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสามารถรองรับการลงจอดของเครื่องบินแอร์บัส  A 320 และโบอิ้ง 737 ถือได้ว่าเป็นยุทธศาตร์สำคัญในการพัฒนาระบบคมนาคมทางอากาศภายในประเทศสปป.ลาว และเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในการพัฒนาการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวร่วมกัน 

สปป.ลาว เปิดแล้ว \"สนามบินบ่อแก้ว\" เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำ

จ้าว เหว่ย ประธานสภาแขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำ สปป.ลาว กล่าวว่า  เป็นคำมั่นสัญญาต่อประชาชนสปป.ลาว ว่า การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำจะนำความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ และลดปัญหาความยากจน และปัญหายาเสพติด การก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้ว ถือเป็น 1 ใน 14 โครงการที่ทางเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำ

ในฐานะผู้ได้รับสัมปทานจากสปป.ลาว ได้ให้ความสำคัญ และถือว่ามีการก่อสร้างเป็นรูปธรรมแล้ว ไม่เพียงแต่จะเปิดเส้นทางการบินในประเทศระหว่างทุกภูมิภาคของสปป.ลาวแล้ว แต่ในอนาคตอันใกล้นี้  พร้อมที่จะเปิดเส้นทางบินระหว่างประเทศเชื่อมโยงกับเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา และมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน,ฮ่องกง,มาเก๊า,เชียงใหม่และภูเก็ต

สปป.ลาว เปิดแล้ว \"สนามบินบ่อแก้ว\" เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำ โครงการต่อไปที่ทางเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำ จะเดินหน้าพัฒนาระบบคมนาคมทางน้ำ เพื่อการขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยวในแม่น้ำโขงให้เกิดเป็นรูปธรรม ปัจจุบันนี้ได้มีการก่อสร้างท่าเรือท่องเที่ยวเกาะดอนซาวให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 450,000 คน,ท่าเรือขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ ได้ปีละ 150,000 คน  และท่าเรือน้ำลึกริมฝั่งแม่น้ำโขง พร้อมลานพิธีการศุลกากร สามารถรองรับเรือขนาด 500 ตันหรือรองรับสินค้าได้ปีละ 10,000 ตัน และในงานเทศกาลดอกงิ้วบาน ครั้งที่ 21

เมื่อปลายเดือนมกราคม 2567 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศว่า เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมคำ มีโครงการจะเปิดเส้นทางเดินเรือสำราญในแม่น้ำโขง เชื่อมโยงระหว่างจีน ลาว เมียนมา และไทยอีกด้วย