เปิดลิสต์ 6 บริษัทชั้นนำเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC แล้วกว่า 1 แสนล้าน

28 ต.ค. 2566 | 06:52 น.

เปิดลิสต์ 6 บริษัทชั้นนำเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC แล้ว มูลค่าการลงทุนกว่า 1 แสนล้าน อีอีซี มุ่งชักจูงบริษัทชั้นนำทั่วโลก ผลักดันให้เกิดการลงทุนใหม่ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5 คลัสเตอร์หลัก

สำนักงานคณะกรรมนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC ระบุว่า วันนี้มี 6 บริษัทชั้นนำเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC แล้ว มูลค่าการลงทุนกว่า 109,991 ล้านบาท และอีอีซี ยังคงมุ่งมั่นชักจูงบริษัทชั้นนำทั่วโลก ผลักดันให้เกิดการลงทุนใหม่ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5 คลัสเตอร์หลัก

ได้แก่ การแพทย์และสุขภาพ ดิจิทัล ยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) BCG และบริการ เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติที่มีศักยภาพ สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมา ได้มีนักลงทุนจากบริษัทชั้นนำเข้ามาลงทุนในพื้นที่ อีอีซี แล้ว 

6 บริษัทชั้นนำเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC อาทิ

  • บริษัท BYD ผู้ผลิตยานยนต์ ไฟฟ้ารายใหญ่ของจีน

BYD เตรียมจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้า ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ จังหวัดระยอง มีมูลค่าการลงทุนกว่า 17,891 ล้านบาท

  • บริษัท อเมซอน ฟอลส์ จำกัด ร่วมกับโซนี่ พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ 

บริษัท อเมซอน ฟอลส์ จำกัด ร่วมกับโซนี่ พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ลงทุนโครงการธีมพาร์ค และสวนน้ำ"โคลัมเบีย พิคเจอร์ส อควาเวิร์ส" ในพื้นที่ตำบลบางเสร่ จังหวัดชลบุรี มีมูลค่าการลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท ปัจจุบันได้เปิดอย่างเป็นทางการ และถือเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญในพื้นที่อีอีซี

บริษัทชั้นนำเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC

  • บริษัท EVLOMO Inc. ร่วมกับ บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน)

บริษัท EVLOMO Inc. ร่วมกับ บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน)เตรียมจัดตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ ลิเธียม มีขนาดกำลังการผลิต 8,000 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นระดับที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ หนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี มีมูลค่าการลงทุนกว่า 33,000 ล้านบาท

  • บริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด

บริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด เตรียมจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้ากำลังผลิต 50,000 คันต่อปี บนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ หนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี มีมูลค่าการลงทุนกว่า 36,100 ล้านบาท โดยคาดว่าจะก่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จและพร้อมผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกสู่ตลาด ได้ภายในปี 2567

  • บริษัท ดับบลิวเอซเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และบริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย)

บริษัท ดับบลิวเอซเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และบริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย)ร่วมลงทุนโครงการนำร่อง MG Super Charge ติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จำนวน 5 แห่ง ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ เพื่อสนับสนุน ให้เกิดการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  • บริษัท Great Wall Motors

บริษัท Great Wall Motorsร่วมลงทุนศูนย์การผลิตเดิมให้เป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) รองรับการพัฒนารถยนต์และ เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ ตั้งเป้าหมายไว้ 80,000 คันต่อปี ซึ่งจะก่อให้เกิดการลงทุนกว่า 22,000 ล้านบาท