“เลือกตั้ง”ดันความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับสูงสุดในรอบ 53 เดือน

14 มิ.ย. 2566 | 02:49 น.

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค.ปรับสูงในรอบ53เดือนต่อนื่องเป็นเดือนที่6 สาเหตุเศรษฐกิจในประเทศฟื้นโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว มาตรการภาครัฐ ค่าไฟฟ้ากลุ่มครัวเรือน ราคาน้ำมันปรับลดลงรวมถึงเป็นเดือนของการเลือกตั้ง

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) ในเดือนพฤษภาคมปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.6 ซึ่งอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 สูงสุดในรอบ 53 เดือน และปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.5 อย่างมีนัยสำคัญ

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว มาตรการภาครัฐจากการบรรเทาภาระ   ค่าไฟฟ้ากลุ่มครัวเรือน ราคาน้ำมันที่ปรับลดลง รวมถึงเป็นเดือนของการเลือกตั้ง

 

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสนใจมาก หากพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่น 9 ด้าน คือ เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก มาตรการของรัฐ สังคม/ความมั่นคง การเมือง/การเลือกตั้ง ภัยพิบัติ/โรคระบาด ราคาสินค้าเกษตร ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และอื่น ๆ พบว่า ปัจจัยด้านการเมืองและการเลือกตั้งมีความสำคัญต่อความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากในเดือนมกราคม 2566

“เลือกตั้ง”ดันความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับสูงสุดในรอบ 53 เดือน

ประชาชนเลือกปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นเป็นด้านการเมืองและการเลือกตั้ง5.7%  ต่อมาปรับสูงขึ้นเป็น ในเดือนกุมภาพันธ์7.8%,  มีนาคม9.2%  และเมษายนและ 13.4 %  สำหรับเดือนพฤษภาคมที่เป็นช่วงของการเลือกตั้ง ปัจจัยด้านการเมืองปรับสูงขึ้นเป็น19.9% หากวิเคราะห์ปัจจัยด้านการเมืองที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นจำแนกตามภูมิภาค ช่วงอายุ อาชีพ และรายได้ ของเดือนพฤษภาคมเทียบกับเดือนมกราคม 2566 มีรายละเอียดดังนี้

“เลือกตั้ง”ดันความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับสูงสุดในรอบ 53 เดือน

เมื่อพิจารณาตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนในพื้นที่ ภาคกลาง ปรับเพิ่มจาก 5.2% เป็น 22%  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับเพิ่มจาก6% เป็น 22%  ภาคเหนือ ปรับเพิ่มจาก 6.1% เป็น 21.3%   ภาคใต้ ปรับเพิ่มจาก 5.1% เป็น 18.3% กรุงเทพฯ และปริมณฑล ปรับเพิ่มจาก 6.7%เป็น 17.1%   และเมื่อพิจารณาตามช่วงอายุ พบว่า ประชาชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ปรับเพิ่มจาก 6.9% เป็น 14.5%  อายุ 20-29 ปี ปรับเพิ่มจาก 7.1% เป็น19% อายุ 30-39 ปี ปรับเพิ่มจาก 5.6% เป็19.1%  อายุ 40-49 ปี ปรับเพิ่มจาก 4.9% เป็น 21.9%  อายุ 50-59 ปี ปรับเพิ่มจาก5.4% เป็น 18.5% ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ปรับเพิ่มจาก6.2% เป็น 25.4%

 เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอาชีพ พบว่า พนักงานเอกชน ปรับเพิ่มจาก 5.6% เป็น 26.1% ผู้ประกอบการ ปรับเพิ่มจาก 5.3% เป็น 20.3% รับจ้างอิสระ ปรับเพิ่มจาก 6.1% เป็น 19.6%พนักงานของรัฐ ปรับเพิ่มจาก 6.1% เป็ 18.3% ไม่ได้ทำงาน/บำนาญ ปรับเพิ่มจาก 9.5% เป็น  18%นักศึกษา ปรับเพิ่มจาก 9% เป็น14.8% เกษตรกร ปรับเพิ่มจาก3.6% เป็น11.2%

“เลือกตั้ง”ดันความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับสูงสุดในรอบ 53 เดือน

เมื่อพิจารณาตามรายได้ พบว่า ประชาชนที่มีรายได้  พบว่าต่ำกว่า 5,000 บาท ปรับเพิ่มจาก 5.1%  เป็น 14.9% รายได้ 5,000 - 10,000 บาท ปรับเพิ่มจาก7%  เป็น18.5% รายได้ 10,001 - 20,000 บาท ปรับเพิ่มจาก5.4%   เป็น 17.9% รายได้ 20,001 - 30,000 บาท ปรับเพิ่มจาก 4.8% เป็น 23.7% รายได้ 30,001 - 40,000 บาท ปรับเพิ่มจาก7.4% เป็น 25.9%

รายได้ 40,001 - 50,000 บาท ปรับเพิ่มจาก 4.1% เป็น 26.4%  รายได้ 50,001 - 100,000 บาท ปรับเพิ่มจาก 3.3% เป็น24.8% รายได้ 100,000 บาทขึ้นไป ปรับเพิ่มจาก5.9% เป็น14.3%

“เลือกตั้ง”ดันความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับสูงสุดในรอบ 53 เดือน

อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนพฤษภาคมที่จัดทำโดย สนค. ปรับเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคและกลุ่มอาชีพ สาเหตุสำคัญมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ รองลงมาเป็นกิจกรรมทางการเมืองและการเลือกตั้งที่มีสัดส่วนปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในเดือนนี้ หากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์การเมืองมีความชัดเจน น่าจะรักษาให้ระดับของความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ในช่วงเชื่อมั่นได้อย่างต่อเนื่อง