จองทะเบียนรถออนไลน์ ต้องทำอย่างไรถึงได้เลขทะเบียนถูกโฉลก

31 พ.ค. 2566 | 17:36 น.

จองทะเบียนรถออนไลน์ ต้องทำอย่างไร หลัง ขนส่งทางบก เปิดให้จองวันนี้ 1 มิ.ย. 66 วันแรก เช็คหลักเกณฑ์วิธีจองเลขทะเบียนรถ และ เงื่อนไข สำหรับกรณีรถใหม่ และ ผู้ที่มีทะเบียนรถแล้วอ่านด่วน

จองทะเบียนรถออนไลน์ วันนี้ 1 มิ.ย.66 เป็นวันแรกที่ กรมการขนส่งทางบก เปิดให้ประชาชนทั่วไปที่มีรถยนต์สามารจองทะเบียนรถออนไลน์ได้แล้ว

จองทะเบียนรถออนไลน์ต้องทำอย่างไรบ้าง

ดาวน์โหลดแอป ThaID  ลงในโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ทั้งระบบไอโอเอส (iOS) และ ระบบแอนดรอยด์ (Android)

ลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตน มีด้วยกัน 8 ขั้นตอนดังนี้

  • เลือกลงทะเบียนด้วยตนเอง
  • ยอมรับเงื่อนไขการใช้บริการโดยการอ่านข้อมูลให้ครบถ้วน กดปุ่มยอมรับและกดปุ่มถัดไปในหน้าจอแสดงเงื่อนไข
  • ถ่ายรูปหน้าบัตรประจำตัวประชาชนและหลังบัตรฯ เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความถูกต้องและกดปุ่มยืนยัน
  • ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อน กดยืนยัน สามารถแก้ไขข้อมูลได้
  • ถ่ายรูปใบหน้าตรงตามกรอบที่กำหนดเมื่อเสร็จแล้วให้กดยืนยันหรือถ่ายรูปใหม่ได้

 

จองทะเบียนรถยนต์ออนไลน์

ลงทะเบียนยืนยันตัวตนผ่านเจ้าหน้าที่

  • เลือกหัวข้อลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่ฃ
  • นำบัตรประจำตัวประชาชนใบล่าสุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนทำการตรวจสอบข้อมูลก่อนการลงทะเบียน ณ สำนักทะเบียน
  • ทำการเปิดแอปพลิเคชัน ThaID พร้อมทั้งอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือ
  • ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
  • ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ให้ถูกต้อง
  • แสกนลายพิมพ์นิ้วชี้กับเจ้าหน้าที่
  • แสกน QR code บนหน้าจอของเจ้าหน้าที่ ด้วยแอพพลิเคชั่น ThaID
  • ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
  • ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
  • เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน

 

จองทะเบียนรถออนไลน์

 

หลักเกณฑ์การจองเลขทะเบียนรถยนต์ออนไลน์

1. กรณีรถใหม่ ข้อมูลรถจะต้องถูกส่งบัญชีให้กรมการขนส่งทางบก และท่านต้องได้รับรถยนต์แล้ว จึงจะจองเลขทะเบียนได้ กรณีรถจดทะเบียนแล้ว จะต้องเป็นรถที่จดทะเบียนกรุงเทพมหานคร หรือได้แจ้งความประสงค์ขอย้ายรถมากรุงเทพมหานคร และสถานะรถปกติ เท่านั้น

2. สามารถใส่เลขทะเบียนที่ปิดให้จองได้ตามตารางจองเลข ได้ครั้งละ 1 เลข และสามารถใส่เลขใหม่ได้จนกว่าจะจองเลขทะเบียนได้ (เลือกได้เองเพื่อให้ถูกโฉลก)

3. สามารถตรวจสอบวันจดทะเบียนได้ที่ ตารางจองเลขฯ "ปัจจุบันจดทะเบียนถึงเลข" หากถึงเลขทะเบียน และกลุ่มหมวดที่จองได้แล้ว ก็สามารถจดทะเบียนได้ แต่ต้องจดทะเบียนก่อนวันที่กรมฯ กำหนด หากพันระยะเวลา ดังกล่าว สิทธิในหมายเลขนั้นจะตกไป

4. เมื่อจองเลขทะเบียนรถได้แล้ว จะสามารถจองเลขทะเบียนรถยนต์ได้ใหม่อีกครั้งหลังจาก 3 เดือน นับจากวันที่จองเลขทะเบียนโดยอ้างอิงจากเลขประจำตัว และรายละเอียดของรถที่จองเลขทะเบียนได้

5. เลขทะเบียนที่จองได้ จะจดทะเบียนด้วยชื่อที่จองได้เท่านั้น ไม่สามารถยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงเป็นชื่อผู้อื่นได้ และรถที่นำมาจดทะเบียนจะต้องมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้ครอบครอง เป็นชื่อเดียวกันกับชื่อที่จองได้

6. ผู้ถือสัญชาติไทย ให้ระบุเลขบัตรประจำตัวประชาชนในการจองเลขทะเบียนเท่านั้น

7. ข้อควรระวัง ชื่อ - นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน หากอักษร หรือตัวเลข ไม่ตรงตามบัตรประจำตัวประชาชนหรือเลขทะเบียนบริษัทไม่ตรงกับเอกสารนิติบุคคล ให้ถือว่าไม่ใช้บุคคลเดียวกัน จะไม่สามารถนำเลขไปจดทะเบียนได้

8. ให้ใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือเลขทะเบียนการค้า หรือ เลขหนังสือเดินทาง ต้องติดกัน เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน 3529999227711, เลขหนังสือเดินทาง P110234 เป็นต้น

9. หากรูปแบบการใส่ ชื่อ - นามสกุล และเลขบัตร ผิดไปจากที่กำหนดหรือรายละเอียดของรถ (ยี่ห้อรถ, เลขตัวถัง) ไม่ตรงกับหลักฐานของรถ หรือเบอร์โทรศัพท์ ไม่ใช่เบอร์ที่ติดต่อได้จริง ให้ตกเป็นโมฆะ

10. การจอง จะเปิดให้จองเป็นแบบวันต่อวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 น. ถึง 16.00 น. ของวัน ตามตารางจองเลข

11. กรมฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการจองตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

12. หากมีข้อผิดพลาดในการจอง ไม่ว่ากรณีใดๆ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเปลี่ยนหมวดอักษรให้ใหม่และจะแจ้งให้ทราบกรณีมีรถมากกว่า 1 คัน และต้องการจองหมายเลขทะเบียนรถมากกว่า 1 หมายเลข ต้องนำหลักฐานมาแสดงต่อเจ้า หน้าที่เพื่อปลดล็อกให้สามารถจองหมายเลขทะเบียนรถอีกหมายเลขได้ ดังนี้

1. ผลการจองหมายเลขทะเบียนรถ และหลักฐานของรถคันที่ 1 (สำเนา)

2. หลักฐานของรถคันที่ 2 และสำเนาบัตรประชาชน หรือเลขทะเบียนบริษัท (สำเนา)

3. หากเป็นผู้ดำเนินการแทน จะต้องมีใบมอบอำนาจจากเจ้าของรถ.

ที่มา; กรมการขนส่งทางบก