“รถไฟขนส่งสินค้าไทยไปจีน : ขนาดรางไม่เท่ากันไม่ใช่ปัญหา”

02 พ.ค. 2566 | 00:45 น.

ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนรายงานฯ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยพูดถึงประสบการณ์นั่งรถไฟผ่าน 3 ประเทศ เพื่อลงพื้นที่สำรวจการขนส่งระบบรางและสัมภาษณ์ทั้งฝ่ายไทย-ลาว-จีน ดังนี้

ในขณะนี้ สินค้าไทยขนส่งด้วย “ระบบรางต่อราง” ตรงจากสถานีรถไฟแหลมฉบังข้ามพรมแดนเชื่อมไทย-ลาว-จีนไปจนถึงคุนหมิง มณฑลยูนนานได้แล้ว แม้ว่า ขนาดรางในไทยและในลาว-จีนไม่เท่ากัน

ทั้งหมดเป็นจริงได้ โดยมีบริษัท BTL : Bangkok Terminal Logistics ร่วมบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ ร่วมกับพันธมิตรทั้งในประเทศลาวและประเทศจีน

ข้อมูลที่ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ได้รับจากการลงพื้นที่ทั้ง 3 ประเทศ และสัมภาษณ์ผู้บริหารและทีมงาน BTL และพันธมิตรในลาวและจีน

เริ่มจากการขนส่งสินค้าไทยขึ้นรถไฟที่ต้นทางสถานีรถไฟแหลมฉบัง ใช้ระบบราง 1 เมตร ผ่านภาคอีสานไทยไปยัง สถานีรถไฟหนองคาย

“รถไฟขนส่งสินค้าไทยไปจีน : ขนาดรางไม่เท่ากันไม่ใช่ปัญหา”

แล้วรถไฟจากไทยก็ข้าม สะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 1 (มีรางรถไฟบนสะพาน) เข้าประเทศลาว ตรงไปจนถึง transshipment yard จุดเปลี่ยนถ่ายที่ “ท่าบกท่านาแล้ง” ในเวียงจันทน์ ซึ่งบริหารจัดการโดย LCR : Laos-China Railway เพื่อจะ shift mode จากรางขนาด 1 เมตรไปใช้รางกว้าง 1.435 เมตรที่จีนสร้างในลาว โดยใช้ “รถคีบตู้ตั้กแตน” (Reach Stacker) เพื่อย้ายตู้คอนเทนเนอร์จากแคร่บนราง 1 เมตรมาใส่แคร่บนรางขนาด 1.435 เมตร (มีภาพประกอบ)

“รถไฟขนส่งสินค้าไทยไปจีน : ขนาดรางไม่เท่ากันไม่ใช่ปัญหา”

หลังจากนั้น รถไฟก็ขนส่งสินค้าวิ่งบนรางขนาด 1.435 เมตร ตรงไปยัง สถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ ผ่านต่อไปจนถึงสถานีรถไฟบ่อเต็นของลาวก่อนจะข้ามไปยังด่านชายแดนจีน

ระยะเวลาจากสถานีรถไฟแหลมฉบังของไทยผ่านลาว ไปจนถึงชายแดนจีนที่เมืองบ่อหาน ทั้งหมดใช้เวลา 42 ชั่วโมง(มีข้อมูลตารางรถไฟประกอบ)

“รถไฟขนส่งสินค้าไทยไปจีน : ขนาดรางไม่เท่ากันไม่ใช่ปัญหา”

แล้วรถไฟก็ขนส่งสินค้าไทยจากด่านโม่ฮาน ชายแดนจีนในสิบสองปันนา วิ่งต่อไปจนถึงเป้าหมายปลายทางคือ สถานีรถไฟขนส่งสินค้าในคุนหมิง  ในมณฑลยูนนานใช้เวลาช่วงในจีนอีก 24 ชั่วโมง

“รถไฟขนส่งสินค้าไทยไปจีน : ขนาดรางไม่เท่ากันไม่ใช่ปัญหา”

ทั้งนี้  ในการขนส่งสินค้าด้วยระบบรางเชื่อม 3 ประเทศ (ไทย-ลาว-จีน) ยังจำเป็นต้องผ่านพิธีการศุลกากรทำ custom clearance ทั้งหมด 4 จุด คือ

1) ก่อนออกนอกประเทศไทยที่สถานีรถไฟหนองคาย

2) เข้าประเทศลาวที่ท่าบกท่านาแล้งในเวียงจันทน์

3) ออกจากประเทศลาวที่ด่านบ่อเต็น

4) เข้าประเทศจีนที่ด่านบ่อหาน (โม่ฮาน) ในมณฑลยูนนาน

“รถไฟขนส่งสินค้าไทยไปจีน : ขนาดรางไม่เท่ากันไม่ใช่ปัญหา”

จากการวิเคราะห์จุดเด่นของการขนส่งระบบรางเต็มรูปแบบระหว่างไทย-ลาว-จีน  จะช่วยย่นระยะเวลาการขนส่ง เหลือเพียง 3-4 วัน ช่วยลดปัญหาการขนส่งทางถนน และปัญหาผลไม้ตกค้างบริเวณด่านชายแดน เพื่อลดปัญหาความเสียหายของผลไม้สด รวมทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจมากขึ้นในการขนส่งสินค้าไทยไปเจาะตลาดจีนตอนใน ขนส่งจากคุนหมิงไปตลาดขนาดใหญ่ในเฉิงตูและฉงชิ่ง เป็นต้น

หมายเหตุ : ระยะทางจากนครหลวงเวียงจันทน์ ของลาวไปถึงนครคุนหมิงของจีน คือ 1,035 กิโลเมตร

อ้างอิง https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0C4CwwipC9vFPJxABY1H1eGPazDwGqTR33Zqh6iZTS8NecAkDDRXv8zsZgWAvYXLyl&id=1037140385&mibextid=uc01c0