เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้น ฉุดส่งออกไทยทรุดต่อเนื่อง

30 มี.ค. 2566 | 05:19 น.

ส่งออกไทย ยังติดลบต่อเนื่อง 2 ไตรมาส ชี้เงินเฟ้อ-ค่าครองชีพประเทศคู่ค้าพุ่งสูงฉุดกำลังซื้อ กระทบส่งออกไทยเดือน ก.พ.ติดลบ 4.7% “พาณิชย์”มั่นใจครึ่งปีหลังฟื้น

นายสินิตย์  เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า แนวโน้มการส่งออกไทยช่วงช่วงครึ่งปีแรกจะได้รับผลกระทบตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง ประเทศคู่ค้าหลักยังคงเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องจะชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ  อย่างไรก็ตามคาดว่าช่วงหลังของปีนี้ การส่งออกจะปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากแรงกดดันเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงตามแนวโน้มราคาพลังงาน

นายสินิตย์  เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

รวมถึงปัญหาห่วงโซ่อุปทานโลกที่ทยอยคลี่คลาย นอกจากนี้ แรงหนุนจากการเปิดประเทศของจีน และการฟื้นตัวของภาคบริการและการท่องเที่ยวจะช่วยหนุนอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าในระยะต่อไป

 

อย่างไรก็ดีการส่งออกของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีมูลค่า 22,376.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 730,123 ล้านบาท ติดลบ 4.7%  แต่ถ้าหักสินค้าน้ำมัน สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย จะหดตัวเพียง 0.05% เนื่องจากฐานการส่งออกที่สูงในปีก่อนหน้า และแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว กระทบต่อความต้องการสินค้า

เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้น ฉุดส่งออกไทยทรุดต่อเนื่อง

ในขณะที่การนำเข้าเดือนกุมภาพันธ์ มีมูลค่า 23,489.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 1.1% จากมูลค่าการส่งออกที่ต่ำกว่าการนำเข้า ส่งผลให้เดือนกุมภาพันธ์ไทยขาดดุลการค้า 1,113.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ส่วนภาพรวม 2 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกของไทย มีมูลค่า 42,625.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ติดลบ 4.6% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้ามีมูลค่า 48,388.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 3.3% ดุลการค้า 2 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 5,763.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้น ฉุดส่งออกไทยทรุดต่อเนื่อง

โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงหดตัว รวมทั้งสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน (โดยเฉพาะเม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์) และทองคำ มีการปรับลดลงจากปัจจัยราคาเป็นหลัก อย่างไรก็ดีการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรกลับมาขยายตัวในรอบ 5 เดือน และสินค้าอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนต่อการส่งออกสูงยังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) และเครื่องปรับอากาศ แม้ว่าการส่งออกไปตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่นที่ยังคงหดตัว แต่การส่งออกไปตลาดเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญในปี 2566 เติบโตดี โดยเฉพาะตลาดตะวันออกกลาง และอินเดีย อีกทั้งการส่งออกไปฮ่องกงที่เป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของไทย กลับมาขยายตัวในรอบ 10 เดือน

ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 3.6% ถือว่ากลับมาขยายตัวในรอบ 5 เดือน โดยเป็นการขยายตัวทั้งหมวดสินค้าเกษตร ขยายตัว 1.5% และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 5.6% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำตาลทราย ขยายตัว 21.4% กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน โดยขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา มาเลเซีย และลาว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว 5.2% กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน โดยขยายตัวในตลาดจีน ฟิลิปปินส์ อินเดีย เนเธอร์แลนด์ และลาว

เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้น ฉุดส่งออกไทยทรุดต่อเนื่อง

ข้าว ขยายตัว 7.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน โดยขยายตัวในตลาดอิรัก อินโดนีเซีย เซเนกัล โมซัมบิก และแอฟริกาใต้ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัว 95% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ฮ่องกง และอินโดนีเซียไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัว171.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน ขยายตัวในตลาดอินเดีย เมียนมา เคนยา เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัว 61.6% ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์

เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้น ฉุดส่งออกไทยทรุดต่อเนื่อง

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ยางพารา ติดลบ 34% ต่อเนื่อง 7 เดือน ในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และตุรกี แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย ไต้หวัน โรมาเนีย และปากีสถาน อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ติดลบ 9.1% ต่อเนื่อง 2 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และอียิปต์ แต่ขยายตัวในตลาดลิเบีย ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิสราเอล และเปรู อาหารสัตว์เลี้ยงติดลบ 23.4% ต่อเนื่อง 4 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย อินเดีย เวียดนาม และอิตาลี แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และเกาหลีใต้ เป็นต้น

เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้น ฉุดส่งออกไทยทรุดต่อเนื่อง

ส่วนส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ติดลบ 6.2% ติดลบต่อเนื่อง 5 เดือน แม้ว่าการส่งออกภาพรวมของหมวดจะหดตัว แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว 3.6% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเวียดนามอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัว81.7% กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบฯ ขยายตัว 22.2% กลับมาขยายตัวในรอบ 4 เดือนรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัว15.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน เป็นต้น

ตลาดส่งออกสำคัญ ภาพรวมส่วนใหญ่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับภาวะการชะลอตัวของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้า เช่น จีน ญี่ปุ่น และ CLMV หดตัวน้อยลงจากเดือนก่อน ตลาดตะวันออกกลางขยายตัวดีต่อเนื่อง รวมถึงฮ่องกงที่กลับมาขยายตัว ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ ตลาดหลักติดลบ 5.9% ตลาดรอง ขยายตัว2.4% และ ตลาดอื่น ๆติดลบ 67%