”เงินบาทแข็งค่า" โอกาสและความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย

07 มี.ค. 2566 | 07:36 น.

นักลงทุนทั่วโลกต่างให้ความสนใจเงินบาทไทย หลังค่าเงินมีความผันผวนและแข็งค่าขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา บรรดานักวิเคราะห์ มองว่าความสนใจนั้นอาจอยู่ได้ไม่นาน หากรัฐบาลไทยล้มเหลวในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง

ดูเหมือนเงินบาทจะสร้างกระแสความตื่นตัวให้ผู้คนอย่างมาก "นักลงทุนชาวจีน" กำลังจับตามองสินทรัพย์ของไทย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก และเศรษฐกิจการเมืองที่ไม่แน่นอนของจีนเอง แม้กระทั่งชาวฮ่องกงบางส่วนยังอพยพและย้ายธุรกิจเข้ามาที่กรุงเทพ ประเทศไทย

ปรากฎการณ์นี้ จึงทำให้เงินบาทไทย คือ "Safe Heaven" ของบรรดานักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงการจากการลงทุน

ส่วนที่ นิวยอร์ก สหรัฐฯ ผู้ที่คลุกคลีในแวดวงการเงินต่างเดิมพันว่า "ค่าเงินบาทจะสูงขึ้น" แม้แต่ Ruchir Sharma บรรณาธิการร่วม Financial Times ยังกล่าวถึงชื่นชมสกุลเงินบาทของประเทศไทยในบทความที่เขาเขียนและเผยแพร่ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

คำถามที่น่าสนใจ คือ

"ความสนใจที่มีต่อเงินบาทในระยะหลังนี้ จะผลักให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และช่วยเพิ่มบทบาทของไทยในแวดวงการเงินโลกหรือไม่?"

เป็นไปได้ว่าประเทศไทยกลับมายึดโยงความฝันที่เคยวาดไว้ ในทศวรรษที่ 1990  ว่าไทยจะก้าวเป็น "ผู้นำด้านการเงินของเอเชียและระดับโลก" ตามที่มีการกำหนดในนโยบายของกรุงเทพฯ

ประเทศไทยต้องไม่สะดุดขาตัวเอง

แม้เราจะมีความหวังที่จะฟื้นเศรษฐกิจจากการแข็งค่าของเงินบาทไทย แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐบาลไทยด้วย เพราะเราจำเป็นต้องแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ลึกลงไป และหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาหนี้เสียและฟองสบู่ แบบที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ และเหตุกาณ์ครั้งนั้นสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง 

เพราะหากไม่มีมาตรการป้องกันเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน ความสนใจต่อเงินบาทไทยคงจะเป็นแค่ชั่วคราวเท่านั้น  และแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไทยก็จะยังน่าผิดหวังแบบนี้ต่อไป

ผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจแบบผสมผสานของไทย

โดยทั่วไปสกุลเงินที่จะแข็งค่าได้ในระยะยาว มักเกิดจากเศรษฐกิจของประเทศนั้นมีความแข็งแกร่ง มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิผล และกระตุ้นให้เกิดการลงทุน ซึ่งเศรษฐกิจไทยยังนับว่าผันผวน นับตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 


ในขณะที่ประเทศไทยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้นในช่วงปี 2000 แต่ก็ถือว่าแตะอยู่ในระดับปานกลาง ช่วงจุดสูงสุดคือในปี พ.ศ. 2539 จีดีพี ของไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบจีดีพี สหรัฐฯ (หรือจีดีพีต่อหัว ที่ร้อยละ 10.1) ส่วนในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 (หรือจีดีพีต่อหัว ที่ร้อยละ 10.1) จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2565 และ 2566 ดูเหมือนจีดีพีจะลดลงไปอีก เหลือร้อยละ 2.1 หรือต่ำกว่านั้น

แม้ว่าเงินบาทถือว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าสกุลเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีการเติบโตต่ำ เช่น ริงกิตของมาเลเซีย แต่มีสถิติที่ย่ำแย่เมื่อเทียบกับบรรดาเสือในภูมิภาคเดียวกันที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วกว่า หากเทียบค่าเงินบาทปี พ.ศ. 2539 อยู่ที่  25 บาทเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เวลานี้เป็น 35 บาท ลดลงกว่าร้อยละ 30

ในทางตรงกันข้าม เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้นจาก 1.4 ต่อดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2539 ก่อนเกิดวิกฤต มาเป็น 1.3 ต่อดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน

ส่วนสกุลเงินหลักในภูมิภาคอื่นๆก็พากันแข็งค่าขึ้น เช่น หยวนจีน จาก 8.3 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ มาเป็น 6.8 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ  หรือกลับมาใกล้ระดับก่อนเกิดวิกฤต

เพื่อให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างถาวร รัฐบาลไทยต้องจัดการกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเร่งด่วน เพราะเวลานี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับ "ประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น และการขาดแคลนแรงงานหนุ่มสาว" โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว
นอกจากนี้การทุจริต กฎหมายที่ไร้ประสิทธิภาพ และการบังคับใช้กฎระเบียบที่ไม่เคร่งครัด ยังคงเป็นอุปสรรคในการดึงดูดการลงทุนในภาคเอกชน  หนำซ้ำ "ระบบการเมือง" ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่า คือ อุปสรรคสำคัญต่อการเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนเอกชน และยังทำให้การปฏิรูปประเทศก็ทำได้ยากยิ่งขึ้น

แล้วเงินบาทส่งผลดีต่อคนไทยโดยรวมหรือไม่?

นักท่องเที่ยวจำนวนมากที่มีเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือสกุลเงินที่แข็งค่าใกล้เคียงกัน สามารถจับจ่ายในประเทศไทยได้อย่างสบายๆ จึงถือว่าการเปิดประเทศและยกเลิกมาตรการที่เข้มข้นในการเดินทางหลังการแพร่ระบาดโควิด 19 ช่วยยกระดับภาคการท่องเที่ยวและการจ้างงานในประเทศได้

และการท่องเที่ยวนี้เองจึงเป็นความหวังหนึ่งเดียวของไทย ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้ ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนและไม่มีอะไรแน่นอน 

ที่มา : channelnewsasia