นำร่องลำปางจับเข่า"สื่อ-คพข."ยกระดับกำกับกิจการพลังงาน

02 มี.ค. 2566 | 08:24 น.

สำนักงาน กกพ.นำร่องปีนี้ เปิดเวทีสื่อฟังเสียงสะท้อนเขต 1 ที่ลำปาง ต่อด้วยอุบลฯ-สงขลา แลกเปลี่ยนข้อมูลกับคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต ให้มีข้อมูลที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ยกระดับงานกำกับกิจการพลังงาน  

สำนักงาน กกพ. มีพื้นที่อยู่ 13 เขตทั่วประเทศ มีตั้งแต่เชียงใหม่ไปจนถึงสงขลา ปีนี้จะดำเนินการ 3 เขต นำร่องที่เขต 1 จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนเป็นครั้งแรก ประกอบด้วย 6 จังหวัดภาคเหนือ  ครั้งที่ 2 ไปที่เขต 5  อุบลราชธานี และเขต 12 ที่จังหวัดสงขลา ภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคใต้ แล้วปีถัดไปก็จะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่จังหวัดลำปาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) โดยสำนักงาน กกพ. ประจำเขต 1 (เชียงใหม่) ร่วมกับฝ่ายยุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร สำนักงาน กกพ.จัดเวทีนำร่อง พบปะและรับฟังความคิดเห็นสื่อมวลชนภูมิภาคในพื้นที่ผู้ใช้พลังงานเขต 1 ภาคเหนือตอนบน

นำร่องลำปางจับเข่า\"สื่อ-คพข.\"ยกระดับกำกับกิจการพลังงาน

นำร่องลำปางจับเข่า\"สื่อ-คพข.\"ยกระดับกำกับกิจการพลังงาน

นางจิตมณี ทัพภะสุต ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร สำนักงาน กกพ. เปิดเผยว่า สำนักงาน กกพ. จัดกิจกรรมสัมมนาผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทและภารกิจของสำนักงาน กกพ. ในพื้นที่ (นำร่อง) ครั้งที่ 1 จังหวัดลำปาง เพื่อให้สนองตอบต่อวิสัยทัศน์ของสำนักงาน กกพ. ภายใต้แผนปฏิบัติการการกำกับกิจการพลังงานระยะที่ 5 (2565 - 2568)  ที่มีเป้าหมายในการกำกับดูแลกิจการพลังงานภายใต้วิสัยทัศน์ กำกับกิจการพลังงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และส่งเสริมการแข่งขันให้เหมาะสมเป็นธรรม

“สำนักงาน กกพ. ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ในการได้รับการสนับสนุนที่ดี ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของสำนักงาน กกพ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ให้ความสำคัญกับกลุ่มสื่อมวลชน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักที่สำคัญในภาคพลังงานของประเทศ ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้แทนประชาชนผู้ใช้พลังงาน ในการสะท้อนความต้องการ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ในการยกระดับงานกำกับกิจการพลังงาน ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และสำนักงาน กกพ.ได้เป็นอย่างดี” นางจิตมณี กล่าวว่า

นำร่องลำปางจับเข่า\"สื่อ-คพข.\"ยกระดับกำกับกิจการพลังงาน

นำร่องลำปางจับเข่า\"สื่อ-คพข.\"ยกระดับกำกับกิจการพลังงาน

นายสมพจน์ วิบูลย์เกียรติ ผู้อำนวยการฝ่ายสำนักงาน กกพ. ประจำเขต 1 (เชียงใหม่) กล่าวว่า ที่เลือกลำปางเป็นเป็นเวทีนำร่อง ในการพบปะและรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ผู้ใช้พลังงานเขต 1 ภาคเหนือตอนบน และที่สำคัญจังหวัดลำปางเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าหลักและมีความสำคัญในลำดับต้นของประเทศ 

นอกจากนี้ ยังมีกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในเขตพื้นที่ประกาศ ซึ่งสำนักงาน กกพ. ได้ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.) แม่เมาะ ในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำ โครงการพัฒนาพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าปีละกว่า 320 ล้านบาท เพื่อสร้างและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนชุมชนรอบโรงไฟฟ้า อีกทั้งเป็นโอกาสดี ที่จะได้รับฟังเสียงสะท้อน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อร่วมกันพัฒนางานกำกับกิจการพลังงานในพื้นที่ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้พลังงานในพื้นที่

นำร่องลำปางจับเข่า\"สื่อ-คพข.\"ยกระดับกำกับกิจการพลังงาน

ในวันนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้แทนคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต (คพข.) ประจำเขต ซึ่งเป็นผู้แทนประชาชนจิตอาสาผู้แทนผู้ใช้พลังงานในพื้นที่ ที่ได้รับแต่งตั้งจาก กกพ. ให้ทำหน้าที่รับร้องเรียนปัญหาการใช้บริการพลังงาน ตลอดจนการเป็นกลไกที่สำคัญ ในการสนับสนุนการกำกับกิจการพลังงานให้กับ กกพ. ได้เข้าร่วมรับฟังและสังเกตการณ์เวที ตลอดจนได้มีโอกาสแนะนำตัวให้เป็นที่รู้จัก เพื่อนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นอีกด้วย

อนึ่ง สำนักงาน กกพ.ประจำเขต 1 (เชียงใหม่) กำกับดูแลกิจการพลังงานในเขตพื้นที่ผู้ใช้พลังงานจังหวัดเชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน มีบทบาทภารกิจในการกำกับดูแล ผู้ประกอบกิจการพลังงานรับอนุญาตพลังงานในพื้นที่ การสนับสนุนกลไกการทำงานให้กับ คพข. และกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่อีกด้วย

สำนักงาน กกพ. มีพื้นที่อยู่ 13 เขตทั่วประเทศ มีตั้งแต่เชียงใหม่ไปจนถึงสงขลา ปีนี้จะดำเนินการ 3 เขต นำร่องที่เขต 1 จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนเป็นครั้งแรก ประกอบด้วย 6 จังหวัดภาคเหนือ  ครั้งที่ 2 ไปที่เขต 5  อุบลราชธานี และเขต 12 ที่จังหวัดสงขลา ภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคใต้ แล้วปีถัดไปก็จะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

นายสมพจน์ กล่าวอีกว่า หลังเสร็จจากกิจกรรมนี้ จะต่อยอดสู่งานที่เขตดูแล และปีหน้า กกพ.จะมุ่งเน้นเพิ่มงานของคณะกรรมการ คพข. ที่จากเดิมดูแลเรื่องของปัญหาไฟตก ค่าไฟแพง ตอนนี้ กกพ. กำลังจะมุ่งไปถึงเรื่องความปลอดภัยจากไฟสาธารณะ เช่น เจอเสาไฟเอียง แล้วสายไฟระโยงระยาง ที่ไปสื่อถึงความปลอดภัย อันตรายจากไฟฟ้าสาธารณะ เราจะให้ คพข. หรือสื่อมวลชนช่วยดูเรื่องพวกนี้ แล้วส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามา ก็อาจจะเป็นช่องทางที่สื่อมวลชนไปเห็นความเดือดร้อน ก็สะท้อนเข้ามา อันนี้เป็นเบื้องต้นก่อน

อีกเรื่องที่จะไปต่อ คือ  การรับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าในพื้นที่ สื่อมวลชนก็จะได้เข้ามามีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง เช่น โรงไฟฟ้าขยะที่กำลังจะเกิดขึ้นและมีเรื่องร้องเรียน หรือกรณีของลำปาง ก็เคยมีโรงไฟฟ้าชุมชนเศรษฐกิจฐานราก ที่มาให้ชุมชนปลูกไม้โตเร็วเพื่อขายให้โรงไฟฟ้าที่เกาะคา แต่สุดท้ายไม่ผ่านเวทีรับฟังความคิดเห็น ตรงนี้สื่อมวลชนก็อาจจะเข้ามาช่วยเป็นสื่อ ในการรับฟังความคิดเห็นอีกทางหนึ่ง ที่จะเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ให้กับประชาชน

นายสมเจตน์กล่าวอีกว่า ปัญหาและอุปสรรคที่เจอ ถ้าเป็นเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้า จะเป็นเรื่องความเข้าใจของประชาชน ที่มีต่อโรงไฟฟ้า เพราะว่าโรงไฟฟ้าแม่เมาะในอดีต มีปัญหาเรื่องซัลเฟอร์ค่อนข้างเยอะ เป็นปัญหาของโรงไฟฟ้าที่เกิดมา 40 ปีที่แล้วที่คนยังจำอยู่ จึงต้องสื่อสารให้คนเข้าใจให้ถูกต้อง ว่า กกพ.มีมาตรการคุ้มครองเรื่องสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ก่อนก่อสร้างจนถึงยกเลิก เราคุ้มครองเราดูแลอย่างทั่วถึง ซึ่งความเข้าใจตรงนี้สำคัญมาก

ส่วนปัญหาข้อร้องเรียนเข้ามา ส่วนใหญ่ถ้าเป็นช่วงก่อนก่อสร้างโรงไฟฟ้า จะเป็นเรื่องของการร้องเรียนว่าโรงไฟฟ้าไม่จริงใจ ไม่เปิดเผยข้อมูล ไม่ครอบคลุมในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ ไปเชิญคนที่เห็นด้วยมารับฟังความคิดเห็นอย่างเดียว เป็นต้น  เราก็เลยกำหนดว่า การรับฟังความคิดเห็นจะต้องครอบคลุมทุกกลุ่ม ระเบียบ กำหนดว่าการติดประกาศจะต้องไปติดประกาศถึงตลาด โรงเรียน ติดทุกที่ เราขยายขอบเขตให้กว้างมากยิ่งขึ้น สำหรับโรงไฟฟ้าที่เดินแล้ว อาจจะเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม เป็นหลัก 

อย่างไรก็ตาม ในโซนภาคเหนือปัญหาก็จะมีไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ ปัญหาที่เกิดส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่จะมีปัญหาเรื่องฝุ่น ซึ่งไม่ได้เกิดจากการเผาไหม้ แต่เกิดจากขั้นตอนการขนส่งไม้เข้ามา เนื่องจากรถขนไม้ไม่มีผ้าใบคุม ฝุ่นก็เกิดจากการขนส่งและลานเทกอง จะเป็นปัญหาตรงนั้นมากกว่าระบบเผาไหม้ เป็นต้น