ปี66 กทพ.เปิดใช้สะพานขึงใหม่ " ด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง"  

06 พ.ย. 2565 | 14:15 น.

กทพ.เปิดใช้ในปี 66 สะพานขึง "ด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง"   เร็วกว่าแผน สะพานขึงใหม่คืบ เปิดใช้ช่องทางออก ถนนพระราม9 – แจ้งวัฒนะใหม่ บริเวณสะพานพระราม 9

 

 

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)มีเป้าหมายก่อสร้างทางพิเศษ(ทางด่วน)สายใหม่  เชื่อมระบบโครงข่ายระบายจราจรออกนอกเมือง โดยล่าสุด โครงการก่อสร้างทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก หรือทางด่วน "พระราม 3-ดาวคะนอง"

 

สัญญา4 สัญญาแรกที่กทพ.ลงนาม กับ   บริษัท ช.การช่าง จํากัด (มหาชน)หรือCK  การก่อสร้างเร็วกว่าแผน งานสะพานขึงใหม่คู่ขนานสะพานพระราม9 เดิมที่ใช้งานมากว่า35ปี ก้าวหน้าไม่ต่ำกว่า 90 %  

 

โดยได้เชื่อมต่อใหม่กับทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2)ทางออกถนนพระราม 9-แจ้งวัฒนะ บนสะพานพระราม 9  ด้านขาเข้า ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้เมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2565 ที่ผ่านมา โดย ส่วนสัญญา 4 สะพานขึง ระยะเวลาการก่อสร้าง 39 เดือน  รวมระยะทาง 2 กิโลเมตร กทพ.วางแผนเปิดใช้ในปี 2566

ปี66 กทพ.เปิดใช้สะพานขึงใหม่ " ด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง"   ปี66 กทพ.เปิดใช้สะพานขึงใหม่ " ด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง"  

 

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ว่า

 

ขณะนี้สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างสะพานขึงขนาด 8 ช่องจราจร ที่มีบริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เป็นผู้รับจ้าง มีความคืบหน้าเร็วกว่าแผน และมั่นใจว่าจะสามารถเปิดใช้ส่วนสะพานได้ในปีหน้า  

 

“การเปิดใช้ทางเชื่อม ซึ่งเป็นทางออกถนนพระราม 9-แจ้งวัฒนะ ถือเป็นเนื้องานแรกของโครงการทางด่วนสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกฯ ที่แล้วเสร็จ โดยคาดว่าสัญญา 4 จะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2566”

 

 

ปี66 กทพ.เปิดใช้สะพานขึงใหม่ " ด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง"  

 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม  เมื่อสัญญา 4 (สะพานขึง) แล้วเสร็จ ภายในปี 2566 กทพ.มีแผนที่จะเปิดใช้งานก่อนเพื่อลดความแออัดของสะพานเดิม แต่ทั้งนี้จะต้องวางแผนเร่งรัดการก่อสร้างในส่วนของสัญญา 3 ในส่วนที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับสัญญา 4

 

 

เพื่อให้สะพานขึงตัวใหม่มีทางขึ้นลง ในขณะที่ตามแผนสัญญา 3 ซึ่งเป็นงานก่อสร้างทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร จากโรงพยาบาลบางปะกอก 9-ด่านดาวคะนอง ระยะทาง 5 กม. จะแล้วเสร็จประมาณเดือน พ.ย. 2567

 

สำหรับโครงการก่อสร้างทางด่วน สายพระราม 3-ดาวคะนอง-ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก มีระยะทางรวม 18.7 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท แบ่งออกเป็น 5 สัญญา

 

ประกอบด้วย สัญญาที่ 1-4 เป็นงานโยธา และสัญญาที่ 5 เป็นงานระบบจัดเก็บค่าผ่านทางและระบบควบคุมการจราจร ภาพรวมการก่อสร้างงานโยธาคืบหน้ากว่า 34% มีกำหนดเปิดบริการปลายปี 2567 โดยจะมีการเปิดให้ประชาชนทดลองใช้ฟรีระยะหนึ่งก่อนที่จะมีการเก็บค่าผ่านทางอย่างเป็นทางการ

 

สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางยกระดับ จากแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เซ็นทรัลพระราม 2 (กม.13+000-กม.6+630) ระยะทางรวม 6.369 กม. มีกิจการร่วมค้ายูเอ็น-ซีซี วงเงิน 7,350 ล้านบาท ผลงาน ณ เดือน ก.ย. 2565 ที่ 9.73% เร็วกว่าแผน 2.22% (แผนงาน 7.51%)

 

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างทางยกระดับ ขนาด 6 ช่องจราจร จากเซ็นทรัลพระราม 2-โรงพยาบาลบางปะกอก 9 ตั้งแต่ กม.6+600 ถึงบริเวณทางแยกต่างระดับดาวคะนอง ระยะทาง 5.3 กม.

 

มีกิจการร่วมค้าซีทีบี (บริษัท ไชน่าฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง คัมปานี ลิมิเต็ด, บริษัท ทิพากร จำกัด และบริษัท บุรีรัมย์ธงชัยก่อสร้าง จำกัด) เป็นผู้รับจ้าง วงเงิน 6,440 ล้านบาท ผลงาน ณ เดือน ก.ย. 2565 คืบหน้า 53.16% เร็วกว่าแผน 1.05% (แผนงาน 52.11%)

 

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร จากโรงพยาบาลบางปะกอก 9-ด่านดาวคะนอง ระยะทาง 5 กม. กับกิจการร่วมค้า ไอทีดี-วีซีบี เป็นผู้รับจ้าง วงเงิน7,359.3 ล้านบาท ผลงาน ณ เดือน ก.ย. 2565 คืบหน้า 9.21% เร็วกว่าแผน 1.71% (แผนงาน 7.50%)