อัพเดทสถานการณ์ "น้ำท่วม" ใน 14 จังหวัด

03 พ.ย. 2565 | 12:35 น.

สถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด 3 พ.ย. 2565 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผย ภาพรวมใน 14 จังหวัดระดับน้ำลดลง พร้อมเร่งสำรวจและประเมินความเสียหายช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

3 พฤศจิกายน 2565 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย และความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง

 

รวมถึงมีการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง โดยในช่วงวันที่ 28 ก.ย. - 2 พ.ย. 65 ได้เกิดอุทกภัยรวม 59 จังหวัด 353 อำเภอ 1,879 ตำบล 11,770 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 528,063 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 12 ราย

 

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 14 จังหวัด รวม 67 อำเภอ 529 ตำบล 3,694 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 204,109 ครัวเรือน สถานการณ์ภาพรวมระดับน้ำลดลงทุกจังหวัด ดังนี้

1.นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.พยุหะคีรี อ.โกรกพระ อ.เมืองนครสวรรค์ อ.เก้าเลี้ยว และอ.ชุมแสง รวม 34 ตำบล 219 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,744 ครัวเรือน

2. ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองขอนแก่น อ.น้ำพอง อ.หนองนาคำ และหนองเรือ รวม 9 ตำบล 34 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,162 ครัวเรือน

3.มหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองมหาสารคาม อ.กันทรวิชัย อ.โกสุมพิสัย และอ.เชียงยืน รวม 46 ตำบล 562 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,740 ครัวเรือน

4.กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.ฆ้องชัย และอ.กมลาไสย รวม 7 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,150 ครัวเรือน

5.ร้อยเอ็ด น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.โพนทราย อ.จังหาร อ.เชียงขวัญ อ.โพธิ์ชัย อ.เสลภูมิ และอ.ทุ่งเขาหลวง รวม 21 ตำบล 112 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,474 ครัวเรือน

6. ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองศรีสะเกษ อ.กันทรารมย์ อ.ราษีไศล และอ.ยางชุมน้อย รวม 24 ตำบล 168 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,138 ครัวเรือน อพยพประชาชน 913 ครัวเรือน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 35 จุด มีผู้เสียชีวิต 3 ราย

7. อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองอุบลราชธานี อ.วารินชำราบ อ.สว่างวีระวงศ์ อ.ตาลสุม อ.ดอนมดแดง และอ.พิบูลมังสาหาร รวม 21 ตำบล 121 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,581 ครัวเรือน อพยพประชาชน 183 ชุมชน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 102 จุด

8. ชัยนาท น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองชัยนาท อ.วัดสิงห์ และอ.มโนรมย์
รวม 11 ตำบล 48 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,308 ครัวเรือน

9. สิงห์บุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.อินทร์บุรี อ.เมืองสิงห์บุรี อ.ท่าช้าง อ.พรหมบุรี อ.บางระจัน และอ.ค่ายบางระจัน รวม 21 ตำบล 149 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,971 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 6 ราย

10. อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ อ.ป่าโมก อ.ไชโย อ.เมืองอ่างทอง อ.โพธิ์ทอง และอ.แสวงหา รวม 52 ตำบล 316 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 25,508 ครัวเรือน

11. พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 12 อำเภอ ได้แก่ อ.เสนา อ.ผักไห่ อ.บางบาล อ.บางไทร อ.บางปะอิน อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะหัน อ.นครหลวง อ.มหาราช อ.อุทัย อ.บ้านแพรก และอ.บางซ้าย รวม 151 ตำบล 997 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 81,691 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย

12. ปทุมธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองปทุมธานี และอ.สามโคก รวม 21 ตำบล 62 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,771 ครัวเรือน

13. สุพรรณบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองสุพรรณบุรี อ.บางปลาม้า และอ.สองพี่น้อง รวม 43 ตำบล 271 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 26,105 ครัวเรือน

14. นครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.สามพราน อ.บางเลน อ.นครชัยศรี และอ.กำแพงแสน รวม 68 ตำบล 593 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 14,766 หมู่บ้าน

 

สำหรับการให้ความช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป

 

สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชน สิ่งสาธารณประโยชน์ สถานที่ราชการ และซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค รวมถึงเส้นทางคมนาคมให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด


ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ "ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784" โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน "THAI DISASTER ALERT"