รายได้ต่อหัวคนไทย 2566 หลุดเป้า ซมพิษเศรษฐกิจเปราะบาง

20 ก.พ. 2566 | 08:06 น.

รายได้ต่อหัวคนไทย 2566 ปรับตัวลงลงจากเป้าหมายเดิม หลังจาก สศช. ประกาศตัวเลข GDP ครั้งใหม่ พบปัญหาเศรษฐกิจเปราะบาง ลงจากเดิมคาดว่าจะขยายตัว 3 - 4% เหลือแค่ 2.7 - 3.7% 

รายได้ต่อหัวคนไทย 2566 ปรับตัวลงลงจากเป้าหมายเดิม หลังจาก สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทย โตต่ำกว่าเป้า พร้อมทั้งปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ลงจากเป้าหมายเดิม คาดว่าจะขยายตัว 3 - 4% เหลือแค่ 2.7 - 3.7% 

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า สศช.ได้ปรับประมาณการเติบโตลงของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ลงจากเป้าหมายเดิม โดยฝากความหวังเรื่องการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวคอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นหลัก ควบคู่กับการบริโภคภายในประเทศ

หลังจากข้อมูลชี้ชัดว่า เศรษฐกิจไทยไทยไดรับผลกระทรบจากเศรษฐกิจโลกที่ละลอตัวลงเร็วและแรกตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ขยายตัวเพียง 1.4% ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 4.5% หลังจากการส่งออกสินค้า หดตัวมากถึง 10.5% ทำให้ตัวเลขทั้งปี 2565 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เพียง 2.6% ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ สศช. ประเมินเอาไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวได้ถึง 3.2%

 

ภาพประกอบข่าว รายได้ต่อหัวคนไทย 2566

รายได้ต่อหัวคนไทย 2566 หลุดเป้า

จากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้รายได้ต่อหัวของคนไทย คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวของคนไทย ในปี 2566 ลดลงจากเป้าหมายเดิมที่ สศช. เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ มีข้อมูลดังต่อไปนี้

ปี 2566 (ประมาณการ)

  • เป้าหมายเดิม (ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565) คนไทยมีรายได้ต่อหัว อยู่ที่ 268,144 ต่อคนต่อปี
  • เป้ามายใหม่ (ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566) คนไทยมีรายได้ต่อหัว อยู่ที่ 263,332 ต่อคนต่อปี

ปี 2565 (ข้อมูลจริง)

  • คนไทยมีรายได้ต่อหัว อยู่ที่ 248,635 บาทต่อคนต่อปี 

ปี 2564 (ข้อมูลจริง)

  • คนไทยมีรายได้ต่อหัว อยู่ที่ 231,986 บาทต่อคนต่อปี

ปี 2563 (ข้อมูลจริง)

  • คนไทยมีรายได้ต่อหัว อยู่ที่ 225,311 บาทต่อคนต่อปี

ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2566 

สศช. ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่า จะขยายตัวในช่วง 2.7 – 3.7% มีค่ากลางของการประมาณการอยู่ที่ 3.2% คาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัว 3.2% ส่วนการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว 2.1% และการลงทุนภาครัฐ ขยายตัว 2.7% 

ขณะที่ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 1.6% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.5 – 3.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.5% ของ GDP

โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจาก การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ การขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคเกษตร

 

สศช. ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของไทยในปี 2566