Medical Tourism ความนิยมสูงแต่สร้างมูลค่าต่ำ แนะมุ่งตลาด Wellness

09 ก.พ. 2566 | 09:02 น.

"บำรุงราษฎร์" ชี้ไทยให้บริการทางแพทย์ปริมาณสูงแต่สร้างรายได้ต่ำ แนะเอกชนเร่งสร้างบริการทางการแพทย์มูลค่าสูงสร้างเม็ดเงินเพิ่ม พร้อมยกแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือกและสมุนไพรชิงเม็ดเงินจากตลาด Wellness

นางสาวนภัส เปาโรหิตย์ Chief Marketing Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดเผยผ่านงานสัมมนา อนาคตประเทศไทย Economic drives#เศรษฐกิจไทย…สตาร์ทอย่างไรให้ก้าวนำโลก ว่า ตลาด Medical Tourism เป็นตลาดที่มีการเติบโตที่น่าสนใจและ สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมากตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาด Medical Tourism ของโลกจะเติบโตถึง 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2028 หรือเติบโต 21.1% ดังนั้นนับว่า Medical Tourism  เป็นตลาดที่หอมหวาน

นางสาวนภัส เปาโรหิตย์ Chief Marketing Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ขณะเดียวกันตลาด Wellness มีขนาดตลาดที่เติบโตอย่างน่าสนใจเช่นกัน มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตมากถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2027 ทั้ง 2 เซกเมนต์นี้น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ดีในอนาคตโดยเฉพาะภายหลังสถานการณ์โควิด อีกประเด็นหนึ่งคือ Wellness นั้นมีเซกเมนต์ย่อยมากมายและเป็นโอกาสอันดีสำหรับธุรกิจ SME หรือธุรกิจรายย่อยที่จะเข้ามามีส่วนร่วมหรือเข้ามาแบ่งส่วนแบ่งการตลาดนี้

“ประเทศไทยกินสัดส่วน Medical Tourism เพียงแค่ 2% ของมูลค่าตลาดรวมทั้งโลก เพราะฉะนั้นเรายังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ในปี 2019 เรามีตัวเลขการเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์มากถึง 3.5 ล้านครั้งในขณะที่สิงคโปร์มีตัวเลขเพียง 8.5 แสนครั้งเท่านั้น แต่เมื่อมาดูรายได้ประเทศไทยสามารถทำรายได้จากบริการทางการแพทย์เพียง 4.3 หมื่นล้านบาทเท่านั้นขณะที่สิงคโปร์สามารถทำรายได้กว่า 3.5 หมื่นล้านบาท นั่นหมายความว่าเราทำได้ไม่ดีพอและเราน่าจะทำได้ดีกว่านี้”

อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมี Overcoming challenges หลายประเด็น ประเด็นแรกคือเศรษฐกิจของไทยส่วนใหญ่ยังจะต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลักกินสัดส่วนมากถึง12.6%ของ GDP ทั้งหมด ประเด็นที่ 2 คือ ประเทศไทยยังติดกับดักการอัพเกรดผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็น HIGH VALUE ประเด็นที่ 3  การยกระดับ Unskilled labor ขึ้นมาเป็น Skilled labor และ 4 ไทยกำลังประสบปัญหาการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ซึ่งตอนนี้มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุจำนวนมาก 

ดังนั้นการขับเคลื่อนประเทศตามนโยบาย  Medical Tourism  เพื่อไปสู่การเป็นมหาอำนาจทางการแพทย์ จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบ 5 ส่วนคือ 1.ยกระดับ Medical Tourism ให้เป็น National Agenda โดยทุกภาคส่วนต่างๆตั้งแต่ ราชการ เอกชนและสังคมหรือภาคประชาชนจะต้องร่วมมือกัน โดยฝั่งของรัฐบาลจะต้องมีนโยบายที่สอดคล้องกันและร่วมมือกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ส่วนภาคเอกชนจะต้องมี Segment หรือ Footprint ของตัวเอง เพื่อลดการแย่งชิงลูกค้ากัน  ในส่วนของประชาชนต้องหยุดโจมตีโรงพยาบาลเอกชนและสนับสนุนให้เกิด Medical Tourism 

2 ยกระดับการรักษา ในอนาคตการรับบริการ Medical Tourism จะไม่จบแค่การเข้ามาเช็คอัพร่างกายและออกไปเที่ยวตามแพกเกจ แต่จะต้องมีการบูรณาการการให้บริการ โดยใช้ขีดความสามารถทางการแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างเต็มที่ และวิธีการรักษาจะเป็นลักษณะของการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงและสุดท้ายคือประชาชนหันมาสนใจเรื่องของ wellness และLongivity ซึ่งจะเป็นการยกระดับและการรักษาพยาบาลใหม่ของไทยให้มี margin ที่สูงขึ้นและทำรายได้สูงขึ้น 

3 การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ไม่ควรแย่งชิงบุคลากรแต่ต้องพัฒนาทั้งในเรื่องของHead และ heart , 4 culture การปลูกฝังแนวคิดการรักษาสุขภาพไว้ใน DNA ของประชาชนและสร้างให้บุคลากรมี health literacy สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อทำให้คนในประเทศสามารถนำเสนอการเป็น Medical Tourismหรือส่งเสริมสุขภาพหรือสุขภาพที่ดีให้กับคนอื่นได้

และ 5. ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องสื่อสารไปยังชาวโลกว่ามีความเชี่ยวชาญ โดดเด่นทางด้านการแพทย์อย่างไรบ้าง ซึ่งในการสร้างการรับรู้นี้น่าจะใช้ระยะเวลาไม่นานแต่จะเข้าไปฝังลึกในความรู้สึกของชาวต่างชาติได้

“ประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการเป็น Medical Tourism สิ่งสำคัญคือเราต้องขยับไปสู่การเป็น แวลู เบส ประการต่อมาคือเรายังขาดแคลนบุคลากรดังนั้นเราจะต้องเร่งพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ให้มากขึ้น เพราะแม้ว่าเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการแต่ไม่สำคัญเท่ากับคน เพราะในธุรกิจโรงพยาบาลขึ้นต้นด้วยบุคคลและจบลงด้วยบุคคล 

ดังนั้นเราต้องมุ่งพัฒนาคนของเราเพราะวันนี้ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์เป็นภาระงานที่หนัก ขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาวะและมีสุขภาพที่ดีเพื่อลดภาระทางการแพทย์ ในอนาคตการแพทย์จะเน้นไปที่การป้องกันเพื่อให้คนไทยใช้การรักษาจริงจังน้อยลง และยังทำให้คนตัวเล็กสามารถต่อยอดธุรกิจต่อไปได้ทั้งแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือกและสมุนไพรไทยที่จะเติบโตในเซกเมนต์ของ Wellness ได้”