นักวิชาการ แนะ 4 ข้อ หนุนควบรวมกิจการ ทรู-ดีแทค

07 ต.ค. 2565 | 09:02 น.

นักวิชาการ เสนอ 4 ข้อคิดควบรวม 2 ค่ายยักษ์ธุรกิจสื่อสาร ทรู-ดีแทค ชี้การควบรวมไม่ใช่ผูกขาด เพราะประชาชน มีทางเลือกบริการหลายทาง ควบรวมแล้วจาก 4 เหลือ 3 ราย มีขนาดไม่ได้ด้อยหรือน้อยไปกว่ากัน ทั้งทรัพยากรและคลื่นความถี่ที่ครอบครอง

ผศ.ดร.พรภวิษย์ บุญศรีเมือง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยถึงกรณีการควบรวมกิจการทรูและดีแทค โดยชี้ให้เห็นถึง 4 ข้อในการสนับสนุนการควบรวมกิจการทรูและดีแทค สรุปได้ดังนี้ 

 

1.ถ้า Dtac ไม่ลงทุนต่อเศรษฐกิจของประเทศจะเกิดการสูญเสีย เพราะ Dtac ไม่กล้าลงทุนเองเพราะต้นทุนสูงและมีความเสี่ยง การควบรวมคือทางออก ถ้า Dtac ควบรวม เท่ากับมีเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศซึ่งส่งผล ต่อ GDP

2. การทำธุรกิจมีได้มีเสียการถูกประวิงเวลาไปจะมีผู้ได้ประโยชน์ เพราะถ้าไม่ควบรวมจะทำให้เบอร์ 1 ได้ประโยชน์มากสุด เพราะเบอร์ 2 กับ เบอร์ 3 สู้ไม่ไหว เบอร์ 4 ลอยตัว (เพราะมีรัฐคอยอุ้ม) แพล็ตฟอร์มอื่นๆ (OTT) ก็ได้ประโยชน์และกำลังมาแชร์ตลาดทางอ้อม โดยไม่ต้องลงทุนเครือข่าย

 

3. กสทช. รอบคอบและเป็นธรรมได้ทั้งแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการมือถือ กสทช. ดำเนินการอย่างรอบคอบในการจ้างจุฬาฯและส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ แต่ต้องดูแลให้เป็นธรรมกับทั้งฝั่งผู้บริโภคและ Operator เพราะ Operator ก็มีต้นทุนที่สูงจากการประมูลคลื่นความถี่ ต้องให้เขาอยู่ได้ด้วย

4. การควบรวมไม่ใช่การผูกขาด เพราะปชช. มีทางเลือกบริการหลายทาง โดยการควบรวมไม่ใช่ปัญหา แต่ต้องกำกับเรื่องราคาที่เป็นธรรม เพราะ กสทช.มีกฎหมายคุมราคาอยู่แล้ว โดยผู้บริโภคไม่ได้มีแค่การใช้บริการจากค่ายมือถือ แต่มีแพล็ตฟอร์มทางเลือกอื่นๆ ด้วย Operator ควรพัฒนาตัวเองเป็น Tech Company เพื่อดึงส่วนแบ่งตลาดและลูกค้ากลับมา

 

นอกจากนี้ควบรวมแล้วจาก 4 เหลือ 3 ราย ที่มีขนาดไม่ได้ด้อยหรือน้อยไปกว่ากัน ทั้งทรัพยากรและคลื่นความถี่ที่ครอบครอง
 

อ่านความคิดเห็น 4 ข้อเสนอหนุนควบรวมกิจการ ทรู-ดีแทค