เศรษฐกิจไทยปัจจุบัน แข็งแกร่งแค่ไหนกับการรับมือวิกฤตโลก

04 ต.ค. 2565 | 08:23 น.

เศรษฐกิจไทยปัจจุบันแข็งแกร่งแค่ไหนกับการรับมือวิกฤตโลก ฟังข้อมูลสำคัญของ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. ถึงบริบทเศรษฐกิจไทยล่าสุดไว้อย่างน่าสนใจ

เศรษฐกิจไทย กำลังเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง โดยเฉพาะสถานการณ์วิกฤตซ้อนวิกฤต จากโควิด-19 ถึงสงครามความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน เงินเฟ้อ ราคาน้ำมันพุ่งสูง เศรษฐกิจโลกให้เกิดการชะลอตัว ทั้งหมดได้ส่งกระทบมาถึงประเทศไทยอย่างไม่ต้องมีข้อสงสัย

 

ล่าสุดบนเวทีงานสัมมนา Thailand Economic Outlook 2023 เรื่องเศรษฐกิจไทย ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจโลก จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เล่าให้ฟังถึงบริบทเศรษฐกิจไทยล่าสุดไว้อย่างน่าสนใจ ว่าจะสามารถรองรับวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน

 

อ่านข่าว : "เศรษฐพุฒิ" ผู้ว่าธปท.ไขปมนโยบายเงิน ถอนมาตรการวงกว้าง-คงมาตรการเฉพาะจุด

ข้อมูลล่าสุดของ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุไว้ 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

 

ส่วนที่ 1 แนวโน้มเศรษฐกิจไทย

  • เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง และทั่วถึงมากขึ้น ประเมินว่า GDP ปี 2565 ขยายตัว 3.3% และ ปี 2566 ขยายตัว 3.8%
  • แรงส่งหลักจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคท่องเที่ยว คาดนักท่องเที่ยวปี 2565 จำนวน 9.5 ล้านคน และในปี 2566 จำนวน 21 ล้านคน 
  • รายได้แรงงานปรับดีขึ้น โดยรายได้เกษตรกร ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 โต 10% ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 โต 16% ส่วนรายได้นอกภาคเกษตร ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 โต 9% ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 โต 13%
  • เศรษฐกิจจะกลับสู่ระดับ pre-covid ปลายปีนี้-ต้นปีหน้า

ส่วนที่ 2 อัตราเงินเฟ้อ

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังสูง แต่จะกลับเข้าสู่เป้าหมาย 1-3% ในปี 2566 โดยประเมินปี 2565 อยู่ที่ 6.3% ปี 2566 อยู่ที่ 2.6%
  • เงินเฟ้อจากอุปทานจะทยอยคลี่คลาย , เงินเฟ้อจากอุปสงค์ยังจำกัด จากเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงแรกของการฟื้นตัว 
  • ยังต้องติดตาม เงินเฟ้อพื้นฐาน , การส่งผ่านต้นทุนของธุรกิจที่อาจเพิ่มขึ้น และ ผลของบาทอ่อนต่อเงินเฟ้อ

 

ส่วนที่ 3 ระบบการเงิน

  • ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่บางกลุ่มมีความเปราะบางทางการเงิน
  • ฐานะการเงินของแบงก์แข็งแกร่ง (ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 BIS ratio 20% , NPL coverage ratio 167% , LCR 186% และ NPL ratio 2.88%
  • เสถียรภาพด้านต่างประเทศเข้มแข็ง โดยเงินสำรองฯ ต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.2 เท่า

 

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าฯ ธปท. ระบุว่า บริบทเศรษฐกิจ ไทยเพิ่งเริ่มฟื้นตัว เงินเฟ้อสูงจากปัจจัยอุปทานเป็นหลักแรงกดดันด้านอุปสงค์ยังจำกัดแต่หากเศรษฐกิจเงินเฟ้อเสถียรภาพระบบการเงินในประเทศเปลี่ยนจากที่เคยคาดไว้ การดำเนินนโยบายการเงินสู่ภาวะปกติเพื่อ Smooth Take off ต้องปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปให้สอดคล้องกับบริบทเศรษฐกิจ ธปท.พร้อมกับขนาดเงื่อนไขของการปรับดอกเบี้ยนโยบายให้เหมาะสมต่อไป