ชง Wellness sandbox แมกเน็ตบู๊สเศรษฐกิจ ดันไทย medical hub

20 ก.ค. 2565 | 09:18 น.

ชง flagship project เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีกำหนด wellness sandbox ปักหมุดให้ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจของโลกด้านสุขภาพ ผลักดันรายได้ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพิ่ม 5-10% ดึงชาวต่างชาติเข้าไทยเพิ่มขึ้น 50%

ปฎิเสธไม่ได้ว่าโควิด-19 ทำให้การใช้บริการทางการแพทย์เปลี่ยนไป ทั่วโลกตื่นตัวในเรื่องของ wellness service อย่างมากมายและกลายเป็นกระแสที่ใหญ่และใหม่เป็นคลื่นลูกหนึ่งที่จะเข้ามาเรียบเคียงกับคำว่า medicine service คนเชื่อว่าการแพทย์จะถูกให้ความสำคัญน้อยลงและให้ความสำคัญกับการป้องกันมากขึ้น

 

และมีความตื่นตัวจากทางรัฐและเอกชนในการสร้างwellness serviceใหม่ๆออกมาป้อนตลาดและกำหนดยุทธศาสตร์ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลาง wellness อย่างไรก็ตามการจะก้าวข้ามการแพทย์ไปสู่ wellness จำเป็นที่จะต้องอาศัยทั้งภาคเอกชนและภาคประชาชนด้วย การจัดงานเสวนาด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ในหัวข้อ MDCU INNOVATION FORUM#3 ในหัวข้อ Wellness Health Services : A Medical Transformation After COVID-19 Pandemic สะท้อนมุมมองได้อย่างน่าสนใจ 

 

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นโยบายรัฐบาลมีความชัดเจนในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์  ซึ่งถูกกำหนดในยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี โดยเฉพาะเรื่องของอุตสาหกรรมที่ถูกกำหนดให้เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายไม่ว่าจะเป็น first s curve หรือ new s curve 

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับกลไกที่รัฐบาลส่งเสริมเพื่อเป็น medical hub รัฐบาลมีคำสั่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนกลไกการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจทางด้าน health and wellness ให้เป็น medical hub โดยสร้าง flagship project ซึ่งตอนนี้กำลังผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีหนึ่งได้นั้นคือเรื่องของ wellness sandbox

 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ medical hub ประเทศไทยคือ 1. เรื่องของ product ดี  2. มาตรฐานอินเตอร์ ที่สำคัญคือเรื่องของ service mind สิ่งที่รัฐพยายามทำคือส่งเสริมพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาคุณภาพมาตรฐานระดับสากล ปรับปรุงกฎหมายการอำนวยความสะดวกแก่ชาวต่างชาติ การสร้าง ecosystem แบบครบวงจรไปจนถึงการพัฒนาแม็กเน็ตที่ดึงดูดและมีศักยภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

“การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวทางสุขภาพภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ที่ผ่านมายอมรับว่าส่งผลกระทบต่อภาค medical hub เป็นอย่างมาก เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติลดลง ผู้ป่วยนักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ แต่เราก็ยังสามารถผลักดันบางเรื่องได้เช่นโรงพยาบาลสนาม Hospital /HI CI/  UCEO/ COVID ซึ่งอย่างน้อยก็ช่วยให้สถานการณ์ของสถานพยาบาลดีขึ้น 

 

เมื่อตอนที่เราทำแผนยุทธศาสตร์ชาติเรามองเรื่องเหล่านี้เป็นหลายๆด้านเพราะฉะนั้น wellness ในแผนยุทธศาสตร์ กำหนด 4 ด้านคือ1. service เช่น อมตะเมดิทาวน์ เดนทัลฮับ การลงทุนขนาดใหญ่ magnet ระดับโลก และวีซ่าเพื่อการรักษาพยาบาล

 

2. product เช่น  green medicine ,กัญชา เมตาเวิร์ส, ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ ,product outlet ,security product  3. Academic เราทำAcademic มาตรฐานระดับโลก, การประชุมวิชาการ ,นิทรรศการระดับโลกและการพัฒนา health coach lifestyle coach, และ health assistant  และ4. wellness เราดีไซน์เรื่องของนวดไทยเป็นมรดกโลก, soft power ,medical wellness ,retirement destination”

 

ซึ่งหลายเรื่องได้รับการยกขึ้นเป็น flagship project โดยมีเป้าหมายเพื่อปักหมุดให้ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจของโลกด้านสุขภาพโดยการสร้างคน สร้างงาน สร้างอาชีพ ซึ่งมีการคาดการณ์รายได้ที่จะเกิดขึ้นเพิ่มร้อยละ 5-10% จำนวนชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้น 50% 

 

นอกจากนี้ยังมีโปรเจคกรอบแนวความคิดระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสอันดามัน AWC เพื่อปักหมุดพื้นที่อันดามันให้เป็นมหาอำนาจของโลกในด้านของสุขภาพ โดยใช้พื้นที่ที่มีศักยภาพสูงเช่นภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง ตรัง สตูล เพื่อให้เป็นพื้นที่เชื่อมโยงไปจังหวัดอื่นๆในพื้นที่อันดามันและพื้นที่อื่นที่มีศักยภาพ ซึ่งจะต้องมี magnet ที่น่าดึงดูดในกลุ่มรักษาพยาบาลเวลเนส ผลิตภัณฑ์สุขภาพและการศึกษาวิจัยรวมไปถึงเรื่องของกฎหมายพิเศษ ซึ่งต้องมีการออกแบบกฎหมายหรือจัดทำกฎหมายเป็นการเฉพาะรองรับ AWC 

 

“ในที่สุด wellness และเรื่องของ Medical คงแยกกันไม่ออกมันเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกัน เพราะฉะนั้นเราจึงนึกถึง wellness sandbox ที่รวบรวม 2 เรื่องนี้ แต่เนื่องจากกฎหมายสถานพยาบาลและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับwellnessมันแยกออกจากกัน เพราะฉะนั้นเวลาที่จะทำ 2 เรื่องนี้คู่กันจะลำบากมาก ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดพื้นที่ต้นแบบซึ่งเลือก ECC ไว้โดยกำหนดให้เป็นสิทธิพิเศษทางการลงทุนและการประกอบกิจการ เช่นมีการลงทุนในเรื่องของศูนย์เทคโนโลยีควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ high health care technology เครื่องนุ่งห่มเพื่อสุขภาพ หรือการแพทย์ภูมิปัญญา โดยเป็นการรวบรวมบริการครบวงจรไว้ในอาคารเดียวกัน ซึ่งจะต้องมีthai identity มีใบอนุญาตประกอบกิจการเวลเนสเซ็นเตอร์และการพัฒนาและผลิตบุคลากรกึ่งวิชาชีพขึ้นมารองรับ 

ด้านนายกฤป โรจนเสถียรประธานบริหารแห่งชีวาศรม อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ รีสอร์ท กล่าวว่า คำนิยามของ wellness เป็นคำที่ถูกใช้กันค่อนข้างสับสนในประเทศไทย  wellness ไม่ใช่เมดิซีนแต่เป็น “สุขภาวะ” ดังนั้น wellness อยู่ 2 ฝั่งของการดูแลสุขภาพของประชาชนและสังคมทั่วไปคือ  preventive โดยใช้ wellness lifestyle เข้าช่วยเพื่อลดความเสี่ยงของคนที่จะเป็น NCD ลงไปหรือเป็นการป้องกัน  ตรงกลางคือ การแพทย์ที่จะดูในเรื่องของซัพพลีเมนต์สำหรับคนสุขภาพดี และรักษาคนที่ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการเยียวยาหรือการผ่าตัดต่างๆเมื่อผ่านจุดนั้นออกมาแล้ว wellness จะเข้ามารับช่วงต่ออีกครั้งในการ rehab หรือฟื้นฟูเรื่องของกล้ามเนื้อจิตใจต่างๆ 

นายกฤป โรจนเสถียรประธานบริหารแห่งชีวาศรม อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ รีสอร์ท

“คำว่า wellness เราดีไซน์มาแล้วว่ามันคือสุขภาวะ wellness lifestyle มันเป็นเรื่องของจิต ร่างกายและอารมณ์ จิตจะต้องสงบและคมชัดไม่ว้าวุ่นไม่เครียดไม่สับสน ร่างกายต้องปราศจากโรคภัยสามารถใช้ชีวิตปกติได้เต็มที่ ทางด้านอารมณ์จะต้องสดใส ซึ่งทั้ง 3 ส่วนจะต้องสมดุลกันและสม่ำเสมอจะเอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ แต่จะให้ perfect ทุกด้านเลยก็คงเป็นไปไม่ได้ เป้าหมายคือการเข้าไปใกล้ความสมดุลและสม่ำเสมอมากที่สุด”

 

สำหรับชีวาศรมได้ดีไซน์วิธีบำบัดมี 6 วิธี 1. สปา เป็นการดูแลสุขภาพองค์รวมเช่น อบไอน้ำอบสมุนไพร เป็นวิธีการบำบัดที่เกี่ยวข้องกับการร่างกายและจิตใจ ซึ่งตอนนี้ชีวาศรมมีบริการสปากว่า 70 รายการให้ลูกค้าเลือกเพราะรสนิยมของแต่ละคนที่แตกต่างกัน 

 

2. ฟิตเนส ในมุมมองของชีวาศรมคนที่ฟิตไม่จำเป็นจะต้องเป็นนักกีฬาหรือนักวิ่งมาราธอน แต่จะต้องมีความสมบูรณ์ในหลายๆด้านของความคิด พละกำลัง กล้ามเนื้อ ปอด หัวใจ การทรงตัวก าร balance ซึ่งสำคัญมากกับคนที่อายุ 50 ขึ้นไป และแต่ละคนจะเกิดปัญหาความตึงต่างจุดกันไป ดังนั้นจะต้องมีท่าออกกำลังกายเฉพาะตัวเพื่อแก้ปัญหาแต่ละจุด เป็น functional exercise เป็นการดีไซน์ให้ฟังชันนอล ทุกอย่างในร่างกายเคลื่อนไหวมากที่สุด

 

3. เทคนิคกายภาพบำบัด ใช้การผสมผสานหลายๆอย่างในการทำกายภาพบำบัดทั้งศาสตร์ทางตะวันตกและการออกมาผสมผสาน เพื่อดูแลอาการเจ็บป่วย และกายภาพบำบัดของเราจะมีการปรับความสมดุลให้ในการทรงท่า 

 

4. holistic หรือการบำบัดแบบองค์รวมเป็นการดูแลสุขภาพที่รักษาทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ แบ่งเป็น 5 กลุ่มด้วยกันคือแพทย์แผนทางเลือก เช่นฝังเข็มของจีน หรือนวดแผนไทยประยุกต์ 2 เวชศาสตร์กายใจที่เกิดขึ้นจากจิตไม่สงบมีการใช้ sound therapy  3 อาหารเป็นยา 4 การบำบัดแบบทักษะการนวดผสมผสานหรืออายุรเวชของอินเดีย หรือผสมผสานความรู้จากหลายๆประเทศหลายๆทวีป และ5 การบำบัดด้วยพลังจิต 

 

5. อาหาร จากเดิมเป็นอาหารเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะ ซึ่งคนไทยหลายคนไม่นิยม จึงต้องมีการปฏิรูปเราจะให้ความสำคัญกับรสชาติหน้าตาอาหารและโภชนาการเทียบเท่ากัน ทำยังไงให้ได้รับประโยชน์สูงสุดในแต่ละมื้อและไม่เป็นภาระของร่างกายหลังจากทานเสร็จ  ใช้วัตถุดิบที่ปลอดภัยโดยใช้วัสดุทดแทน การปรุงที่รักษาคุณค่าทางโภชนาการและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  และปรับเมนูให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน รวมทั้งให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม 

 

6 Aesthetic beauty การส่งเสริมความงามภายนอก โดยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดูแลความงามภายนอก

 

“ทั้ง 6 วิธีการบำบัดเป็นการช่วยให้ผู้สนใจปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ประเด็นหลักคือการอาหาร การออกกำลังกาย ซึ่งจะถูกปรับให้เข้ากับความต้องการของแต่ละคน เป้าหมายของการดำเนินธุรกิจของเราคือ Quadruple bottom lineซึ่งประกอบไปด้วย personal wellness, environment wellness และ community wellness ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะต้องไปด้วยกัน  และคำนึงถึง 17 SDGโดยทำ product และบริการให้สอดคล้องกับ 17 SDG และที่สำคัญคือเราต้องมี profitability”

 

ในการทำธุรกิจ wellness ให้ประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องจัดอบรมให้พนักงานมีความรู้ในเรื่องของ wellness และพนักงานจะต้องมี wellness lifestyle มีสุขภาพที่ดีแข็งแรงสมบูรณ์เพื่อที่จะดูแลลูกค้าได้ รวมทั้งบรรยากาศในองค์กรจะต้องดี น่าทำงานและมาทำงานด้วยความสดชื่น ที่สำคัญ productivity ก็จะต้องมาจาก wellness และกลุ่มสุดท้ายคือแพทย์ที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของนิวทริชั่น การออกกำลังกาย การบำบัดความเครียด เพราะแพทย์มีอิทธิพลมากคนไข้ต้องการsolution จากแพทย์ หมอที่เก่งควรจะต้องแนะนำด้วยว่าควรปฏิบัติหลังรักษาอย่างไร เพื่อไม่ต้องกลับมาป่วยอีกหรือกลับมาใช้ยาอีก 

 

นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่จะกลายเป็นวิกฤตการณ์ที่หนักกว่าโควิด 19 ก็คือเรื่องของสังคมผู้สูงวัย ซึ่งตอนนี้ตัวเลขในปี 2018 ก่อนโควิดมีคาดการณ์ไว้ว่าสังคมสูงวัยจะผลักดันค่าใช้จ่ายเฮลท์แคร์ขึ้นไปถึง 1.4 ล้านล้านบาทในปี 2033 ถ้ารัฐบาลไม่มุ่งพัฒนา preventive healthcare และระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยตัวเลขดังกล่าวอาจขึ้นสูงถึง 1.825 ล้านล้านบาทโดยเฉพาะเมื่อกลุ่มผู้สูงวัยคือกลุ่มที่ป่วยจากNCDมากที่สุด มันจะกระทบหลายด้านทั้งเศรษฐกิจและสังคม