กูรูแนะมองหาต้นแบบ ดันไทยสู่ฮับ ‘กัญชง-กัญชา’เอเชีย

27 มี.ค. 2565 | 09:05 น.

ปลดล็อก “กัญชง-กัญชา” ปลุกอุตสาหกรรมเกิดใหม่ “กูรู” ชี้ศักยภาพไทยพร้อมขับเคลื่อนประเทศเป็นฮับกัญชง-กัญชาของเอเชีย แนะโฟกัสการให้ความรู้ มองหาต้นแบบเพิ่มสปีดการพัฒนาสู่โกลบอล สแตนดาร์ด อย่าลองผิดลองถูกเอง

นโยบายกัญชาเสรีการแพทย์ โดยกระทรวงสาธารณสุข นอกจากผลักดันให้กัญชง กัญชา กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ส่งผลต่อให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่หลากหลายทั้งในอุตสาหกรรมยา เครื่องสำอาง อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

 

ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลายครั้งเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากสมุนไพรตัวนี้ร่วมกับสมุนไพรไทยตัวอื่นได้อย่างเต็มที่ ภายใต้แนวปฏิบัติ 3 ระดับ ได้แก่ 1. การปลดล็อคให้ใช้ทางการแพทย์ 2. การปลดล็อคส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่ช่อดอกและเมล็ด

 

ล่าสุดมีประกาศกระทรวงปลดล็อคครั้งที่ 3 ระบุว่าทุกส่วนของพืชกัญชง กัญชาไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 อีกต่อไป ยกเว้นสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2% ทำให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง สามารถใช้ประโยชน์ ประชาชนสามารถปลูกไว้ที่บ้านเพื่อใช้ช่อดอกซึ่งไม่ได้สกัดนำมาทำอาหารทานและใช้บำรุงร่างกายได้

กัญชง-กัญชา

สะท้อนให้เห็นว่านโยบายนี้ผ่านการขับเคลื่อนมาจนถึงจุดที่ประชาชนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอาจจะมีการปลดล็อคเพิ่มมากกว่านี้ในอนาคตอันใกล้ เปิดโอกาสให้เกิดอุตสาหกรรมจากกัญชา-กัญชงได้เต็มรูปแบบ เส้นทางของกัญชาและกัญชงจึงเปิดกว้าง เพราะไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความพร้อมมากที่สุด

 

ดร.เจย์ โนลเล่อร์ นักวิจัยชื่อดังทางด้านกัญชง จากโอเรกอน สเตท ยูนิเวอร์ซิตี้ และที่ปรึกษาทางด้านกัญชงให้กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รวมถึงทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาใต้ กล่าวถึงโอกาสของกัญชง กัญชาไทยในการเป็นศูนย์กลางของเอเชียว่า ประเทศไทยมีโอกาสในการพัฒนากัญชง กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจได้เพราะมีโอกาสสำคัญ 3 ด้านคือ

 

1. ประเทศไทยมีความสามารถที่จะเป็นประเทศที่บุกเบิกกัญชง กัญชา ได้อย่างครบวงจรเพราะเป็นประเทศแรกที่เปิดเสรีในเอเชีย และรัฐบาลให้การสนับสนุน

ดร.เจย์ โนลเล่อร์

2. ประเทศไทยเป็นจุดมุ่งหมายหลักของการเดินทางของนักท่องเที่ยวก็สามารถทำกัญชง กัญชา ให้เป็นการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพได้

 

3. ไทยสามารถที่จะผลิตกัญชง กัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานการส่งออกเพราะอยู่ในภูมิอากาศที่สมบูรณ์พร้อมสำหรับกัญชง กัญชาและสมุนไพรที่จะมาส่งเสริมกัญชง กัญชา เพื่อให้มีประสิทธิภาพในเรื่องของสุขภาพ เป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับประเทศได้ด้วย

 

ขณะที่ดร.เอมอร โคพีร่า ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร Geneomics Global, USA กล่าวว่าในสหรัฐช่วง 12 เดือนแรกที่รัฐบาลปลดล็อคกัญชง กัญชา ทำให้เกษตรกรเข้ามาปลูกมากขึ้น มีโรงเรือน มีอินโนเวชั่น มีเครื่องสกัด ทำให้อาหาร ยา เครื่องสำอาง น้ำดื่มทุกอย่างมี CBD คานาบินอยด์ผสม เมื่อโควิดเข้ามาทำให้คนเกิดความเครียด ซึมเศร้า คานาบินอยด์จึงขายดีมาก จนยอดขายทำสถิติสูงสุด

 

“ประเทศไทยโชคดีที่อุตสาหกรรมเพิ่งเริ่มต้นและมีตัวอย่างมาก ถ้าสามารถดึงตัวอย่างที่ดีมาสร้างอีโคซิสเต็ม ก็จะทำให้อุตสาหกรรมเกิดขึ้นเร็ว แต่ถ้าไม่เรียนรู้จากประเทศอื่นแล้วมาเริ่มลองผิดลองถูกเองจะต้องใช้เวลานานในการสร้างซัพพลายเชน ปัจจุบันรัฐบาลไทยใช้กฎหมายมากำหนดความเป็นกัญชง กัญชาด้วยปริมาณสาร THC เกษตกรถ้าปลูกกัญชาในมุมกฏหมายต้องครบวงจร ซึ่งเกษตรกรไทยทำไม่ได้เพราะต้องลงทุนมากและผลผลิตจากช่อดอกกัญชา ซึ่งเป็นส่วนที่มีราคาแพงมากที่สุด ต้องส่งให้กรมแพทย์ครึ่งหนึ่ง”

 

เพราะฉะนั้น เกษตรกรไทยต้องพูดถึงกัญชง เพราะไม่ต้องแบ่งผลผลิตไปให้กรมแพทย์ เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ไม่เป็นคนรวย เพราะฉนั้นจะต้องส่งเสริมการปลูกที่ราคาถูกที่สุด เมล็ดที่ถูกสุด สอนปลูกให้ถูกสเปกเพื่อเพิ่มรายได้ และประเทศไทยเป็นประเทศที่โชคดีเพราะเรามีรัฐบาลที่ซัพพอร์ต มีประชาชนที่ซัพพอร์ต บางประเทศที่เปิดเสรีกัญชาประชาชนที่ไม่เข้าใจมีประท้วงต่อต้าน ส่วนประเทศไทยไม่มีการต่อต้านแต่มีความเข้าใจผิดเยอะ

 

ดังนั้นการให้ความรู้สำคัญที่สุด ถ้ารัฐบาลมีการออกกฎหมายควบคุมหรือปลดล็อค ถ้าได้ที่ปรึกษาที่เก่ง มีความเข้าใจ มีความชำนาญและมีประสบการณ์มาก่อน เรียนรู้จากประเทศอื่นที่เปิดมาก่อน ถ้าประเทศไทยยังไม่โฟกัสในเรื่องของความรู้ และโกลเบิล สแตนดาร์ดและยังลองผิดลองถูกกันอยู่ไทยจะไม่พร้อมเป็นผู้นำและถูกประเทศอื่นแซงหน้า ตอนนี้ประเทศไทยมีศักยภาพที่พร้อมมาก เพราะฉะนั้นผู้นำของประเทศจะต้องซัพพอร์ตในเรื่องโกลบอล สแตนดาร์ดไทยถึงจะเป็นประเทศตัวอย่างที่ทั่วโลกยอมรับได้

 

Geneomics Global เข้ามาเพื่อทำ sustainable economic ในเรื่องของเศรษฐกิจกัญชง และแพลนท์เบสเมดิซีน ในระยะสั้นจะดึงโนฮาวและงานวิจัยของโอเรกอนสเตท มาต่อยอดอาหารคนอาหารสัตว์เลี้ยงและอาหารสำหรับปศุสัตว์ ในเรื่องของ ยา นำ R&D ที่สำเร็จแล้วในฝั่งสหรัฐฯ

 

มาทรานส์เฟอร์เป็น fast track ส่วนเส้นใยเรามี partner ที่มี innovation เรื่องนี้เยอะมาก โครงการหลักที่ทำคือโครงการพัฒนาสารสกัดจากสมุนไพรพืชกัญชงและสมุนไพรอื่นๆเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน และทำให้เกษตรกรไทยสามารถมีความเป็น partner ship ร่วมกับนักวิจัยที่มาจากระดับโลก”

 

อีกประเด็นหนึ่งคือ การนำอินโนเวชั่น เทคโนโลยีมาขับเคลื่อนทำให้ซัพพลายเชนที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจทั้งอีโคซิสเต็มสมบูรณ์ในตัวเองไล่ ตั้งแต่ seed to shelf จำเป็นที่จะต้องอาศัยตลาดจากเมืองนอก การที่เราจะส่งออกผลผลิตจากกัญชง กัญชาได้แสดงว่ามันจะต้องมี global standard,need global,need technology, need innovation

 

นอกจากนี้ยังสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งทางรัฐบาลและภาคเอกชนทั้งโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน โรงพยาบาลแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสัตว์ แมนูแฟคเจอผู้ผลิตอาหารและยา รวมทั้งสนับสนุน foundation ซึ่งตอนนี้มี 2 องค์กรคือนำกัญชงมาช่วยสังคม และนำกัญชงเข้าไปช่วยส่งเสริมในเรื่องของสัตว์ หัวใจสำคัญที่เราจะทำในโครงการนี้ทั้งมีแรงบันดาลใจในเรื่องของ social enterprise ในการที่จะยกระดับให้เกษตรกรมีคุณภาพที่ที่ดีขึ้น

 

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,769 วันที่ 27 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2565