ไรท์แมน สบช่องฟื้นท่องเที่ยวรุกตลาด tourist attraction

07 ก.พ. 2565 | 08:42 น.

ตลาดอีเวนท์ปี65 ส่งสัญญาณฟื้นตัวเล็กน้อย "ไรท์แมน" สบช่องฟื้นฟูท่องเที่ยวจับงานราชการตุนแบ็คล็อก 400-500 ล้านบาท พร้อมลุยงาน tourist attraction ต่อเนื่องรองรับนักท่องเที่ยวหลังโควิดคาดหนุนรายได้ปี2565โต20%

นายอุปถัมป์ นิสิตสุขเจริญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด และนายกสมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน (EMA) เปิดเผยว่าภาพรวมธุรกิจอีเวนต์อยู่ในภาวะขาดทุนมาตลอดในช่วง2 ปีที่ผ่านมาโดยมีผู้เล่นรายใหญ่อยู่ 4 บลจ. ในช่วงโควิดระบาดระลอกแรกกระทบธุรกิจขนาดเล็ก เกิน 50% ของอุตสาหกรรมตายเรียบเพราะไม่มีเงินสดพอหล่อเลี้ยงพนักงานระยะยาวโดยไม่มีงานเลยทั้งปีได้ 

ไรท์แมน สบช่องฟื้นท่องเที่ยวรุกตลาด tourist attraction

ส่วนการระบาดระลอก 2 กระทบธุรกิจขนาดกลางและระลอก 3 กระทบกับธุรกิจมหาชน เพราะฉะนั้นโควิดกระทบเยอะมากในอุตสาหกรรม event ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมบริการซึ่งค้านกับมาตรการรัฐที่ห้ามรวมตัวกันแต่อุตสาหกรรมนี้ต้องมีการรวมตัวกันเยอะๆเพราะฉะนั้นธุรกิจสื่อ event การจัดงานกระทบ 100% ส่งผลโดยตรงให้ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาตลาดรวมอีเวนท์ในประเทศไทยลดลงจากที่ประเมินกันไว้ที่ 13,000 – 14,000 ล้านบาท จากสถานการณ์ปกติ

 

สำหรับปี2565นี้หากไม่มีการระบาดของสายพันธุ์ใหม่เข้ามาสถานการณ์ก็จะไม่แย่ลงไปกว่านี้ เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญกับการฟื้นเศรษฐกิจและพยายามที่จะไม่ปิดสถานที่ ปิดประเทศ แต่อาจจะยังมีผลกระทบด้านจิตวิทยาของผู้ประกอบการที่ยังไม่กล้าจัดงานเพราะกลัวคนไม่มา ส่วนคนที่จะไปร่วมงานก็ยังกลัวๆกล้าๆ

ไรท์แมน สบช่องฟื้นท่องเที่ยวรุกตลาด tourist attraction

แต่หลังจากผ่านโควิดผ่านพ้นไปคาดว่าภาพรวมตลาดจะมีรูปแบบที่เปลี่ยนไป เนื่องจากมีผู้เล่นรายใหม่ที่เป็นผู้เล่นระดับท็อปไฟว์หรือบริษัทใหญ่ๆเข้ามาในตลาด สืบเนื่องจากมีนักลงทุนจากสิงคโปร์เข้ามาในธุรกิจนี้จำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ landscape ของธุรกิจนี้เปลี่ยนและมีมุมมองการบริหารที่เป็น international มากขึ้น

 

และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่กระทบอุตสาหกรรมคือ ดิจิตอล เพราะคนเริ่มรู้จักการใช้ดิจิตอลที่มากขึ้น โดยรูปแบบการจัดงานที่ได้รับผลกระทบเต็มๆคือ การประชุมต่างๆทั้งระดับ โลวคอลหรือนานาชาติที่จากเดิมต้องมีการเดินทางมาประชุมร่วมกัน แต่ตอนนี้คนเริ่มคุ้นเคยกับการประชุมผ่านออนไลน์  ส่วน convention อาจไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะยังมีความจำเป็นเรื่องงานประกวด งานมอบรางวัลต่างๆอยู่

ไรท์แมน สบช่องฟื้นท่องเที่ยวรุกตลาด tourist attraction

ส่วนงาน exhibition ดิจิตอลไม่สามารถdisruption ได้เห็นได้จากการขยายพื้นที่การจัดงานของไบเทค อิมแพคศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แต่หลังโควิดมันอาจจะมีผลกระทบบ้างแต่อาจจะไม่เยอะมาก เช่นจัดงานในสเกลที่เล็กลง และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเป็นรูปแบบการจัดงานแบบ hybrid และออนไลน์เสริม และธุรกิจevent สุดท้ายแล้ว ยังคงจะต้องจัดอยู่กิจกรรมทางด้านการตลาดอยู่

 

ในส่วนของ ไรท์แมน เองมีการปรับตัวค่อนข้างเยอะตั้งแต่เกิดโควิดต่อเนื่องมาตลอด2 ปี ในช่วงก่อนโควิดหรือ ปี2561 ไรท์แมนมีรายได้รวม 786 ล้านบาท , ปี2562ยอดรายได้รวม400 ล้านบาท ลดลง 50% , ปี 2563 มียอดรายได้รวม 400 ล้านบาท ส่วนปี2564 ที่ผ่านมามียอดรายได้รวม 480 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปี2563 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับกลยุทธ์ธุรกิจ การทำตลาด การนำเสนองานราชการและปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น โดยสำหรับสัดส่วนรายได้ของบริษัทยังคงมาจากหน่วยงานราชการภาครัฐ 80% และภาคเอกชน20% 

ไรท์แมน สบช่องฟื้นท่องเที่ยวรุกตลาด tourist attraction

“ปี 2564 รายได้ของเราเริ่ม recover กลับมาได้ในระดับหนึ่งจาก backdrop  งานเดิมที่ไม่สามารถปิดงานหรือส่งงานได้ในช่วงปี2563 เพราะถูกเลื่อนจากโควิด และปี 2565 นี้คิดว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว ซึ่งเราตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ไว้ประมาณ 20% หรือปิดรายได้ที่ 590 ล้านบาท หรืออาจจะมากกว่านี้ถ้าโอมิครอนไม่ได้ทำให้เกิดการหยุดชะงักจนล็อคดาวน์ เพราะตอนนี้เรามีแบ็คล็อกไว้แล้วไม่ต่ำกว่า 400-500 ล้านบาท ”

 

สำหรับที่มาของรายได้ปีนี้ ยังคงมาจากงานภาครัฐ ซึ่งตอนนี้มีอยู่ในมือ 2-3 งาน ทั้งที่ได้ทำสัญญาแล้วและอยู่ในระระหว่างดำเนินงานก็ตาม โดยหลังจากนี้บริษัทจะเพิ่มสัดส่วนงาน tourist attraction  ให้มากขึ้น เพราะในช่วงโควิดแม้ว่างานอีเว้นต์ต่างๆไม่สามารถจัดงานได้  แต่สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องทำต่อคือ tourist attraction ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยกำลังตื่นตัวเรื่องของการพัฒนาเมืองให้กลับมาเป็นเมืองท่องเที่ยวเพราะฉะนั้นแต่ละจังหวัดจะให้ความสำคัญกับการสร้างบริบทของการท่องเที่ยวในเชิงศิลปะวัฒนธรรมต่างๆ ทั้งปรับปรุงของเก่าหรือสร้างขึ้นใหม่


“ จังหวัดต่างๆพยายามสร้างtourist attraction ที่มันดีเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวหลังโควิด ซึ่งปีนี้เรามีแผนที่จะเสนออีกหลาย project  เพราะบางเมืองมีงบแต่ไม่รู้จะทำอะไร เราจะไปเสนอการทำ tourist destination หรือtourist attraction ให้เมืองมีแวลูของสถานที่ท่องเที่ยว หรือพูดง่ายๆคือเราจับโอกาสในช่วงของการฟื้นท่องเที่ยวเข้าไปรุกตลาดtourist attraction เพราะหลังจากโควิดคลี่คลายสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ การเดินทางท่องเที่ยวเพราะคนไม่ได้เที่ยวนานแล้ว จึงเป็นช่วงจังหวะที่ดีที่แต่ละเมืองจะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ทำให้คนไทยเดินทางมาท่องเที่ยว การทำ tourist destination คือการเปลี่ยนความเป็นเมืองเดิมที่คนไม่รู้จักให้สามารถดึงดูดคนให้เข้าไปท่องเที่ยวได้มันก็กลายเป็นการปักหมุดสถานที่ท่องเที่ยวของคนไทย

 

ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าควรรัฐบาลต้องลงทุนไม่ว่าจะเป็นเทศบาลหรืออบจ.ในการบูสต์การท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือสนับสนุนให้รัชกาลจัดงานเพราะตอนนี้ราชการถูกเบรคการจัดงานทั้งหมดซึ่งกระทบระบบนิเวศทั้งหมดของอุตสาหกรรม event แต่ถ้ารัฐบาลมีคำสั่งว่าให้ทุกหน่วยงานจัดอีเว้นท์ได้และส่งเสริมให้จัด ภาคเอกชนก็จัดงานตามมา

 

และอีกสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้คือทุกคนในอุตสาหกรรมเหมือนรีเซ็ตใหม่ และกลับมาอยู่บนเส้น start เดียวกันอยู่ที่ว่าใครพร้อมก่อนกัน ใครมีทีมงานที่พร้อม ใครมีเงินทุน เทคโนโลยีคนนั้นก็จะไปได้เร็วกว่า”