ทายาทเจ้าสัวเจริญ เผยโฉม 3 โปรเจคแลนด์มาร์คใหม่ ดันAWCขับเคลื่อนท่องเที่ยว

10 ต.ค. 2564 | 13:59 น.

AWC ครบรอบ 2 ปี เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตอกย้ำกลยุทธ์ “สร้างอนาคตที่ดีกว่า” พร้อมประกาศเจตนารมณ์ “พัฒนาอย่างยั่งยืน” ปั้นโครงการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร ชู 3 โปรเจคแลนด์มาร์คแห่งใหม่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย

วันนี้( 10 ตุลาคม 2564) บริษัท แอเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย จัดงานครบรอบ 2 ปี เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อ 10 ตุลาคม 2562 ด้วยความมุ่งมั่นในกลยุทธ์ “สร้างอนาคตที่ดีกว่า” ให้ทุกฝ่าย พร้อมประกาศเจตนารมณ์ตามกรอบการพัฒนาแห่งความยั่งยืน เดินหน้าลงทุนโครงการอสังหาฯ ทุกรูปแบบ ชู 3 โปรเจคแลนด์มาร์คแห่งใหม่ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และเศรษฐกิจไทย

 

วัลลภา ไตรโสรัส

 

นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย ที่มุ่งเน้นตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบครบวงจรร่วมกับพนักงานทั้งกลุ่มผ่านออนไลน์ในรูปแบบใหม่ ทำบุญทุกโครงการทั่วประเทศในโอกาสครบรอบ 2 ปี ในวันที่ 10 ตุลาคม 2564 ที่บริษัทเข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “AWC” ซึ่งถือเป็นแฟลกชิพสำคัญของ ทีซีซี กรุ๊ป ด้วยขนาด IPO ที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งยังเป็น IPO ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในรอบ 5 ปี

 

ที่สำคัญยังถือเป็นจุดเริ่มต้นที่บริษัทได้รวมโครงการคุณภาพทั้งหมดที่มีนำมาวางกลยุทธ์สมดุลย์ในการจัดพอร์ทโฟลิโอ ซึ่งมีทรัพย์สินในหลายเซ็กเตอร์ และกลยุทธ์ที่จะเติบโตได้อย่างมั่นคง ทำให้ AWC ก้าวผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาและรวมพลังผู้บริหาร พนักงาน ขับเคลื่อนองค์กรรักษาความแข็งแกร่งให้พร้อมเติบโตอย่างก้าวกระโดดหลังเหตุการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ AWC ยังคงเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในระยะยาวและเตรียมกลยุทธ์การเป็น OMNI-Integrated Lifestyle Real Estate ที่รวมความหลากหลายของประเภทอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ และสร้างคุณค่ารูปแบบใหม่ที่มุ่งตอบโจทย์และเสริมรูปแบบการใช้ชีวิตไร้ขีดจำกัด

นางวัลลภา กล่าวว่า ที่ผ่านมาบริษัทได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดด้านผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจในเครือให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่แบบ New Normal ซึ่งเป็นการต่อยอดกลยุทธ์ “Building a Better Future” ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนองค์กรจากภายในสู่คุณค่าองค์รวมให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน ทำ ให้เกิดความเชื่อมั่นว่าทุกคนสามารถสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกฝ่าย ทั้งผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน ชุมชน สังคมองค์รวม และประเทศไทย

 

ทั้งนี้ สิ่งที่ตอกย้ำถึงความสำเร็จใน 2 ส่วนในวันครบรอบ 2 ปีของ AWC ภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่เป็นพลังใจให้พวกเราชาว AWC ร่วมมุ่งมั่นในการพัฒนาสร้างคุณค่า โดยในสัปดาห์นี้บริษัทได้รับการรับรองให้เป็นแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) เป็นครั้งแรกในไตรมาส 2 ประจำปี 2564 และได้รับการคัดเลือกเข้าสู่รายชื่อหุ้น THSI (Thailand Sustainability Investment) จากทั้งหมด 146 รายชื่อในปีนี้ ซึ่งเป็นปีแรกที่บริษัทได้ตอบแบบประเมิน

 

โดยเฉพาะในปี 2564 นี้ มีการพิจารณาถึงการมีแนวทางบริหารจัดการภาวะวิกฤตที่ครอบคลุมถึงการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาด พิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) เพื่อปรับตัวและตอบโจทย์ความท้าทายในอนาคต รวมทั้งมีความตั้งใจในการตอบแทนคุณค่าในระยะยาวและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่งผลทำให้ AWC จะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน นับเป็นการส่งเสริมความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับ ESG (Environmental, Social and Governance)

 

ทายาทเจ้าสัวเจริญ เผยโฉม 3 โปรเจคแลนด์มาร์คใหม่ ดันAWCขับเคลื่อนท่องเที่ยว

กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนของ AWC เป็นกลไกในองค์รวมของการขับเคลื่อนธุรกิจในทุกกระบวนการ ประกอบด้วย Better People การพัฒนาบุคคลากรของค์กรรวมไปถึงการสร้างโมเดลกิจการวิสาหกิจ เพื่อสังคมที่สร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้ชุมชน, Better Planet การพัฒนาและดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรของโลกได้อย่างยั่งยืน และ Better Prosperity การสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมุ่งสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับเศรษฐกิจองค์รวม

 

ทั้งนี้บริษัทมีกลยุทธ์ชัดเจนในการดึงพันธมิตรระดับโลกมาร่วมสร้างธุรกิจ เพื่อยกระดับความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรม รวมถึงเศรษฐกิจในภาพรวม โดยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เพื่อสร้างให้ไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวระดับโลกในอนาคต สำหรับทิศทางธุรกิจของ AWC จากนี้ บริษัทยังเดินหน้าลงทุนโครงการอสังหาริมทรัพย์ทุกรูปแบบ รวมถึงโครงการในรูปแบบมิกซ์ยูส ซึ่งเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสาน (Mixed and Merged) ที่ไม่ได้มีการแยกโรงแรม ค้าปลีก หรือตึกสำนักงาน ออฟฟิศอย่างชัดเจน ตามไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่

 

ทายาทเจ้าสัวเจริญ เผยโฉม 3 โปรเจคแลนด์มาร์คใหม่ ดันAWCขับเคลื่อนท่องเที่ยว

 

ทั้งนี้ เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมดังกล่าว ที่ผ่านมาบริษัทจึงได้พัฒนาแอปพลิเคชัน AWC Connext ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์การใช้จ่ายและใช้ชีวิตไร้ขีดจำกัดผ่านโปรแกรม AWC Infinite Lifestyle ที่สะดวกยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์การใช้บริการของอสังหาริมทรัพย์ทุกแห่งของ AWC ไว้เพื่อส่งมอบคุณค่าให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

ปัจจุบันพอร์ตโฟลิโอของ AWC มีครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย โรงแรม 18 แห่ง, รีเทล 8 แห่ง, อาคารสำนักงาน 4 แห่ง, ค้าส่ง 2 แห่ง รวม 32 แห่ง และขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการใหม่อีก 18 โครงการ ซึ่งจะทำให้ในอีก 5 ปีข้างหน้า ในพอร์ตโพลิโอ ของ AWC จะมีจำนวนอสังหาริมทรัพย์รวม 50 แห่งในหลากหลายทำเลสำคัญของประเทศ

 

โดยในอีก 5 ปีข้างหน้า AWC ยังมีอีก 3 โปรเจคแลนด์มาร์ค ซึ่งจะสร้างปรากฏการณ์ให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย

 

ASIATIQUE THE RIVERFRONT DESTINATION

 

โครงการแรก ASIATIQUE THE RIVERFRONT DESTINATION ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะเป็นแลนด์มาร์กระดับไอคอน (Iconic Landmark) แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ที่มีคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วย โรงแรมริทซ์-คาร์ลตัน รีเซิร์ฟ, โรงแรมเจดับบลิว แมริออท มาร์คีส์ รวมถึง ริทซ์-คาร์ลตัน รีเซิร์ฟ แบรนเด็ด เรสซิเดนส์ ซึ่งเป็นเซอร์วิส เรสซิเดนส์ โดยมีแผนเปิดให้บริการเริ่มจากเปิดโซนค้าปลีกและสำนักงานในปี 2567

 

AQUATIQUE DISTRICT PATTAYA

โครงการที่ 2 AQUATIQUE DISTRICT PATTAYA โครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ใจกลางเมืองพัทยา ประกอบด้วยแหล่งชอปปิ้ง แหล่งท่องเที่ยว โรงแรมหรู 5 แบรนด์ และแบรนเด็ด เรสซิเดนส์อีก 2 แบรนด์ และพื้นที่ค้าปลีก นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับ Wellness ซึ่งตอบโจทย์การส่งเสริมให้พัทยาเป็นจุดหมายปลายทางของชายหาดยอดนิยม (Beachfront destination) ระดับโลก

 

เวิ้งนครเขษม

 

โครงการที่ 3 เวิ้งนครเขษม ซึ่งพัฒนาให้เป็นโครงการพิเศษแบบ Mixed Development ทั้งโรงแรม ที่อยู่อาศัย และค้าปลีกด้วยการลงทุนกว่า 16,000 ล้านบาท โดยดึงเสน่ห์และอนุรักษ์ความเป็นไชน่า ทาวน์ ให้นักท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินไปกับร้านค้าปลีกใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ เส้นทางมรดก มรดกทางประวัติศาสตร์ และถนนแห่งความบันเทิง พร้อมตอบโจทย์การสร้างจุดหมายปลายทางแห่งความภาคภูมิให้กับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก