"เหนือ-อีสาน"คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น

06 เม.ย. 2562 | 10:56 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

"เหนือ-อีสาน"คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น

วันนี้ (วันที่ 6 เม.ย.62) นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยแผนปฏิบัติการฝนหลวงประจำผลตรวจคุณภาพอากาศจากกรมควบคุมมลพิษ เมื่อเวลา 09.00 น. พบว่าบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมากมีเพียงบริเวณตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ยังอยู่ในเกณฑ์คุณภาพปานกลาง สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกจากผลการตรวจสภาพอากาศของสถานีเรดาร์สัตหีบ จังหวัดชลบุรี พบว่ามีความชื้นที่ระดับการเกิดเมฆ 79% ความชื้นที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 54% และค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ -3.2 หน่วยปฏิบัติการฯ ฝนหลวงจังหวัดจันทบุรี จึงตัดสินใจขึ้นบินปฏิบัติการภารกิจที่ 1 ขั้นตอนที่ 1 (ก่อเมฆ) บริเวณอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งติดตามสภาพอากาศเพื่อเตรียมความพร้อมในการขึ้นปฏิบัติการทันทีเมื่อสภาพอากาศเอื้ออำนวย ในการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ที่เริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค

"เหนือ-อีสาน"คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น

ส่วนพื้นที่ภาคกลางจากผลตรวจสภาพอากาศของสถานีเรดาร์ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พบว่ามีความชื้นที่ระดับการเกิดเมฆ 63% ความชื้นที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 63% และค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ -1.2 ซึ่งเข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง หน่วยปฏิบัติการฯ ฝนหลวงจังหวัดลพบุรี จึงตัดสินใจขึ้นบินปฏิบัติการภารกิจที่ 1 ขั้นตอนที่ 1 (ก่อเมฆ) เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค อำเภอท่าตะโก หนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท และอำเภอโคกเจริญ หนองม่วง สระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี หน่วยปฏิบัติการฯ ฝนหลวงจังหวัดกาญจนบุรี จึงตัดสินใจขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบริเวณอำเภอเมืองกาญจนบุรี ไทรโยค พนมทวน บ่อพลอย ห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

"เหนือ-อีสาน"คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น

“พื้นที่ภาคเหนือ” ยังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน โดยในส่วนของจังหวัดพะเยา ลำปาง แพร่ อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น รวมถึงบริเวณจังหวัดน่าน คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์คุณภาพปานกลาง จากผลการตรวจสภาพอากาศของสถานีเรดาร์          ร้องกวาง จังหวัดแพร่ และสถานีเรดาร์อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีความชื้นที่ระดับการเกิดเมฆ 39% (อมก๋อย) 69% (ร้องกวาง) ความชื้นที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 51% (อมก๋อย) 48% (ร้องกวาง) และค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ 2.3 (อมก๋อย) -0.7 (ร้องกวาง) หน่วยปฏิบัติการฯ ฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก จึงตัดสินใจขึ้นบินขั้นตอนที่ 1 (ก่อเมฆ) บริเวณจังหวัดแพร่ และจังหวัดตาก โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือพื้นที่ประสบปัญหาหมอกควันไฟป่า ด้านหน่วยปฏิบัติการฯ ฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่ ขอติดตามสภาพอากาศระหว่างวัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการขึ้นปฏิบัติการทันทีเมื่อสภาพอากาศเอื้ออำนวยเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทันที

"เหนือ-อีสาน"คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น

เช่นเดียวกับ “พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”  เกณฑ์คุณภาพอากาศเริ่มดีขึ้นและจากผลการตรวจอากาศของสถานีเรดาร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา และสถานีเรดาร์บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พบว่ามีความชื้นที่ระดับเกิดเมฆ 52% (พิมาย) 67% (บ้านผือ) ความชื้นที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 78% (พิมาย) 52% (บ้านผือ) และค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ -0.9 (พิมาย) 0.0 (บ้านผือ) หน่วยปฏิบัติการฯ ฝนหลวงจังหวัดอุดรธานี และหน่วยปฏิบัติการฯ ฝนหลวงจังหวัดนครราชสีมา ขอติดตามสภาพอากาศระหว่างวัน หากมีความเหมาะสมจะวางแผนขึ้นปฏิบัติการทันที

"เหนือ-อีสาน"คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น

ขณะที่ “พื้นที่ภาคใต้”ผลตรวจสภาพอากาศจากสถานีเรดาร์พนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และสถานีเรดาร์ปะทิว จังหวัดชุมพร พบว่ามีความชื้นที่ระดับการเกิดเมฆ 77% (พนม) 63% (ปะทิว) ความชื้นที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 48% (พนม) 54% (ปะทิว) และค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ -1.5 (พนม) -4.8 (ปะทิว)หน่วยปฏิบัติการฯ ฝนหลวงหัวหินจึงตัดสินใจขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร อำเภอแก่งกระจาน  ท่ายาง ชะอำ บ้านลาด หนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน ปราณบุรี สามร้อยยอด กุยบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้านหน่วยปฏิบัติการฯ ฝนหลวงจังหวัดสงขลา และหน่วยปฏิบัติการฯ ฝนหลวงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ขอติดตามสภาพอากาศระหว่างวัน หากมีความเหมาะสมจะวางแผนขึ้นปฏิบัติการในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง การช่วยเหลือพื้นที่ป่าพรุและการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภค

"เหนือ-อีสาน"คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จะเร่งปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ไฟป่าหมอกควัน พายุลูกเห็บ และภัยพิบัติทางธรรมชาติรูปแบบต่างๆ ในทุกพื้นที่ทันทีเมื่อสภาพอากาศเอื้ออำนวย ทั้งนี้ สามารถแจ้งการขอรับบริการฝนหลวงได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงในทุกภูมิภาคของประเทศ และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทางเว็บไซต์/เพจ Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร