'แอร์บัส' รุกนำเสนอเครื่องบินทางทหาร-ผลิตภัณฑ์ด้านอวกาศรุ่นใหม่แก่ไทย

01 พ.ย. 2561 | 14:05 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

'แอร์บัส' ตอบสนองความต้องการทางด้านการป้องกัน อวกาศ และความมั่นคงของประเทศไทย ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่ทันสมัย รุกโปรโมทผ่านงานสัมมนา "ดีเฟนซ์ เดย์" ที่จะจัดขึ้นให้แก่ลูกค้าและพันธมิตรของบริษัทฯ

นายโยฮัน เปอริซซิเย่ร์ ผู้อำนวยการ ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแอร์บัส ดีเฟนซ์ แอนด์ สเปซ ได้กล่าวในงานสนทนากลุ่มย่อยกับสื่อมวลชน ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันกับงาน "ดีเฟนซ์ เดย์" ว่า ปัจจุบันกองทัพบกของไทยได้ปฏิบัติการด้วยเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางของบริษัทอย่าง ซี295 ส่วนความร่วมมือที่มีกับประเทศไทยในด้านอวกาศนั้น เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2547 เมื่อแอร์บัสได้รับเลือกให้เป็นผู้จัดหาดาวเทียมสำรวจโลก ธีออส-1

 

[caption id="attachment_341101" align="aligncenter" width="335"] โยฮัน เปอริซซิเย่ร์ ผู้อำนวยการ ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแอร์บัส ดีเฟนซ์ แอนด์ สเปซ โยฮัน เปอริซซิเย่ร์ ผู้อำนวยการ ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแอร์บัส ดีเฟนซ์ แอนด์ สเปซ[/caption]

"ประเทศไทยเป็นลูกค้ารายที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับแอร์บัส ซึ่งเครื่องบิน ซี295 ช่วยยกระดับฝูงบินลำเลียงของกองทัพบกให้ทันสมัย และรองรับภารกิจทั้งทางทหารและภารกิจเพื่อมนุษยธรรมที่หลากหลาย" เขากล่าวเสริมว่า "ดาวเทียมที่แอร์บัสได้ส่งมอบในปี 2551 นั้น ได้สนับสนุนภารกิจต่าง ๆ เช่น ทางด้านเกษตรกรรมและการตรวจดูชายฝั่ง รวมไปถึงการทำป่าไม้และการจัดการความเสี่ยงของอุทกภัย และยังคงให้ภาพถ่ายคุณภาพสูงไปได้อีกกว่า 4 ปี นับจากเวลาที่คาดว่าจะหมดอายุการใช้งาน"

ในเดือน มิ.ย. 2561 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (จิสด้า) ได้เลือกให้แอร์บัสเป็นพันธมิตรในส่วนของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ยุคใหม่ของประเทศไทย โดยแอร์บัสจะได้จัดหาดาวเทียมสำรวจโลกสองดวง ประกอบด้วย ดาวเทียมที่มีภาพความละเอียดสูงมากหนึ่งดวง และระบบดาวเทียมขนาดเล็กอีกหนึ่งดวง โดยโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถจะครอบคลุมถึงการประกอบและทดสอบระบบดาวเทียมขนาดเล็ก และการพัฒนาระบบบูรณการภูมิสารสนเทศและภาคพื้นในประเทศ


492695

"เรามีความยินดีที่ได้รับเกียรติจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (จิสด้า) ที่ให้ความเชื่อมั่นในตัวเราอย่างต่อเนื่อง ด้วยระบบที่ครบวงจรนั้นทำให้ประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถใช้ประโยชน์จากภูมิสารสนเทศเพื่อประโยชน์สาธารณะได้อย่างสมบูรณ์"
นายโยฮัน เปอริซซิเย่ร์ กล่าว "สัญญาดังกล่าวจะทำให้เราส่งมอบเทคโนโลยีให้กับประเทศไทย ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถของคนไทย โดยผู้ประกอบการในพื้นที่จะมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน และเป็นโครงการที่สนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และช่วยการพัฒนาด้านการอวกาศในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และที่ดิจิทัลพาร์ค (Digital Park)"

ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจด้านการป้องกันมากว่า 10 ปี ทำให้ แอร์บัส ดีเฟนซ์ แอนด์ สเปซ มีประวัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการสำหรับภารกิจที่ท้าทายต่าง ๆ มากมาย โดยรวมถึงเครื่องบินลำเลียงยุทธวิธีอย่าง เอ400เอ็ม และซี295 เครื่องบินบรรทุกน้ำมันเอนกประสงค์ เอ330เอ็มอาร์ทีที และเครื่องบินรบยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น


492696

สำหรับลูกค้ารายอื่น ๆ ในเอเชีย ได้แก่ ออสเตรเลียและสิงคโปร์ ซึ่งปฏิบัติการด้วย เอ330เอ็มอาร์ทีที และเกาหลีใต้ ที่จะได้รับมอบเครื่องบินลำแรกในปี 2561 นี้ ส่วนมาเลเซียเป็นลูกค้ารายแรกนอกยุโรปสำหรับเครื่องบินลำเลียง เอ400เอ็ม โดยมีเครื่องบินประจำการอยู่ถึง 4 ลำ และปัจจุบัน นอกเหนือไปจากประเทศไทย เครื่องบินลำเลียง ซี295 ยังประจำการเพื่อปฏิบัติการอยู่ในบังคลาเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

"ผมอยากจะเน้นย้ำถึงความยั่งยืนของ ซี295 เพื่อใช้ในภารกิจการตรวจการณ์ทางทะเล โดยเครื่องบินรุ่นนี้จะมอบประโยชน์และความสามารถที่ดีที่สุดในบรรดาเครื่องบินประเภทเดียวกัน และเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับประเทศในเอเชีย ที่ต้องการตรวจการณ์ชายฝั่งที่มีพื้นที่กว้างและให้ความมั่นคงแก่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของตน" นายโยฮัน เปอริชซิเย่ร์ กล่าว

"เครื่องบินยุคใหม่อย่าง เอ400เอ็ม ยังเหมาะสมสำหรับประเทศที่ปฏิบัติการด้วยเครื่องบินลำเลียงแบบเดิม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการออกแบบเมื่อ 50 ปีที่แล้ว โดย เอ400เอ็ม นั้น สามารถบินได้ไกลเป็น 2 เท่า หรือบรรทุกได้มากเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับเครื่องบินคู่แข่ง โดยได้รับการพิสูจน์แล้วถึงความคุ้มค่าในภารกิจเพื่อมนุษยธรรมในเอเชีย จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดที่เมืองปาลู ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเอ400เอ็ม ได้ขนส่งสิ่งของช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์ไปมากกว่าเครื่องบินรุ่นอื่น ๆ รวมไปถึงการบรรทุกสิ่งของที่มีขนาดใหญ่พิเศษ เช่น เครื่องขุดเจาะ ซึ่งสามารถส่งมอบไปยังจุดที่มีความต้องการได้"


595959859