ห้องเรียนที่ดี ไม่จำเป็นต้องไฮเทค

13 ต.ค. 2561 | 04:45 น.
ในห้วงเวลาที่ประเทศ ไทยต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ เพราะไม่สามารถที่จะแข่งขันกับประเทศที่เจริญแล้ว หรือประเทศที่รํ่ารวยได้ ทั้งยังถูกประเทศที่มีค่าแรงตํ่ากว่าแย่งงานไป ประเทศไทยต้องเดินต่อแต่จะเดินไปอย่างมั่นคง และแข็งแกร่งได้อย่างไร

นายตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารบริษัทผู้นำด้านนวัตกรรมทางการศึกษาและออกแบบกระบวนการเรียนการสอนครบวงจร ชวนร่วมกันขบคิด

“สิ่งที่ต้องทำคือ การเตรียม ความพร้อมทางการศึกษาเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมารองรับการก้าวไปสู่การเป็น “ไทยแลนด์ 4.0” ได้อย่างแท้จริงให้ได้

ประเทศอยากจะได้คนรุ่นใหม่ที่มีความพร้อม ในการเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ เด็กไทยรุ่นใหม่จะไม่ใช่แค่ออกมานั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศ แต่ต้องพัฒนาต่อไปเพื่อทำในสิ่งที่เครื่องยนต์และเครื่องจักรทำไม่ได้ ต้องเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเองได้ มีความสามารถในการสื่อสาร ที่สำคัญ คือ ต้องสามารถทำงานกับคนอื่น ทำงานร่วมกันเป็นทีมได้”

P7

นี่คือ คุณสมบัติของบุคลากรที่องค์กรและประเทศคาดหวังและต้องการให้มีในยุคดิจิตอล ยุคสมัยที่เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนโลก เราอยากได้เด็กรุ่นใหม่ที่มีความพร้อมในการเป็นทรัพยากรของประเทศ เด็กๆ ของเราจำเป็นที่จะต้องมีคุณสมบัติ 4-5 ประการดังที่กล่าวมาข้างต้น

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผล การใช้ความคิดแบบมีวิจารณญาณได้เมื่อเกิดปัญหา มีทักษะในการสื่อสารเพื่อบอกความต้องการของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันได้ สุดท้ายจะต้องสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อันจะนำไปสู่การเกิดนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศได้

“ทักษะที่จำเป็นทั้งหมดนี้ จำเป็นต้องมีรากฐานมาจากรูปแบบการเตรียมการสอนของครูที่ต้องเปลี่ยนไป จากที่เราคุ้น
เคยกับห้องเรียนสี่เหลี่ยมที่มีครูยืนสอนอยู่หน้าชั้น เด็กนักเรียนนั่งคอยจดบันทึก มาเป็นรูปแบบของกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งสร้างปฏิสัมพันธ์กันในห้อง เรียนระหว่าง “ครูผู้สอน” และ “นักเรียน”

“เราเชื่อว่าคุณภาพของผู้เรียนเกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนการสอนที่ดี ครูผู้สอน ทำหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน ประกอบกับพลังของเนื้อหาและสื่อการเรียนรู้ที่ดี เสริมให้ผู้เรียนมีความพร้อมสำหรับโลก ยุคใหม่และต่อยอดจนนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต”

สำหรับห้องเรียนที่ดีในยุคที่เทคโนโลยี หรือ AI กลายเป็นส่วนสำคัญในภาคการผลิตนี้สามารถเกิดขึ้นจริงได้ แม้ในโรงเรียนที่ขาดแคลนเรื่องของทรัพยากร การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต หรือ ICT ในโรงเรียนอาจไม่ใช่คำตอบทั้งหมด เห็นได้จากประเทศที่ติดอันดับด้านคุณภาพการศึกษาระดับโลก เช่น สิงคโปร์ และญี่ปุ่นนั้น ตัวเลขในการเข้าถึงเทคโนโลยีไม่ได้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้นหรือแย่ลง

“การเข้าถึงเทคโนโลยีอาจเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบหนึ่ง แท้จริงแล้วส่วนสำคัญ คือ เรื่องการออกแบบกระบวนการเรียนการสอนในห้องเรียนมากกว่า ดังนั้น การถาม ICT ในห้องเรียนไม่ได้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับผลการเรียน ใช้มากหรือน้อยไม่ได้สะท้อนออกให้เห็นจากผลการเรียน” นายตะวัน ระบุ

“ห้องเรียนที่ดี คือ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากๆ ห้องเรียนสมัยใหม่ ไม่จำเป็นต้องเป็นห้องเรียนไฮเทค เพียงแค่ให้ครูถามมากขึ้น นักเรียนพูดมากขึ้นและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเยอะๆ เท่านี้ก็มองเป็นห้องเรียนสมัยใหม่มากขึ้นแล้ว” นายตะวัน กล่าวยืนยันความเชื่อนั้น

ส่วนปัจจัยสำคัญที่ส่งผลสัมฤทธิ์ของตัวผู้เรียน ประกอบด้วย 4 ประการ คือ 1. กระบวนการออกแบบการเรียนรู้ 2. การลงทุนด้านงบประมาณอย่างเพียงพอ 3. การจัดสรรและกระจายทรัพยากร อย่างเท่าเทียม ระหว่างโรงเรียนในเมืองกับชนบท ประการสุดท้าย คือ การกระจายอำนาจให้กับผู้บริหาร หรือผู้อำนวยการโรงเรียนให้สามารถจัดสรรทรัพยากรได้ด้วยตัวเอง

ทั้งนี้ เพื่อให้ “ครู” ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการออกแบบกระบวนการเรียนการสอนสามารถทำให้ห้องเรียนที่ดีเกิดขึ้นได้จริง ปลายปีนี้ได้ร่วมกับหน่วยงาน ภาครัฐจัดโครงการสัมมนาวิชา การเชิงปฏิบัติการในชื่อ “Aksorn Teaching Forum 2018” ภายใต้แนวคิดอนาคตเด็กไทยสร้างได้ ด้วยผู้บริหารและครูมืออาชีพ อาทิ

โครงการสัมมนาผู้นำ ทางการศึกษาแห่งประเทศไทย 2561 โดยปีนี้มีวิทยากรที่น่าสนใจระดับโลกมาให้ความรู้ อาทิ นาย อันเดรียส์ ชไลเชอร์ ผู้อำนวย การฝ่ายการศึกษา และทักษะองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD องค์กรที่ริเริ่มโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ หรือ PISA

ศ.ดร.ตัน อุ่น เส็ง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาเด็กสถาบันการศึกษาแห่งชาติ สถาบันครูแห่งเดียวในสิงคโปร์ ผู้สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกว่า 28,000 คน, งานภาษาไทย ภาษาชาติ, งานวิทยาศาสตร์, งานสัมคมศึกษา, งานปฐมวัย และงาน Mathematics ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 14-16 พฤศจิกายน และ ในวันที่ 19-20 ธันวาคม 2561

……………………………………………………………….

บทความ

หน้า 7 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3409 ระหว่างวันที่ 14 - 17 ตุลาคม 2561

595959859