'ศิริ' ยัน! พีดีพีใหม่ "ถ่านหิน" ยังจําเป็น

07 ต.ค. 2561 | 08:03 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

เตรียมเสนอแผนพีดีพีฉบับใหม่เข้า กพช. เดือน ต.ค. นี้ ชี้กรอบเสร็จแล้ว พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็น เผย สัดส่วนเชื้อเพลิงถ่านหินยังมีความจำเป็น ขณะที่ สัดส่วนพลังงานทดแทนเพิ่ม โซลาร์ภาคประชาชนชัดเจน ภายใต้เงื่อนไขราคาค่าไฟต้องไม่แพง

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"
ว่า การจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี) ฉบับใหม่ ปี 2561-2580 ใกล้จะแล้วเสร็จ โดยเมื่อช่วงปลายเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา คณะทำงานฯ เพิ่งประชุมเพื่อเตรียมสรุปแผนพีดีพีฉบับใหม่ ซึ่งเตรียมจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในช่วงเดือน ต.ค. นี้

 

[caption id="attachment_328277" align="aligncenter" width="335"] ศิริ จิระพงษ์พันธ์ ศิริ จิระพงษ์พันธ์[/caption]

โดยระหว่างนี้จะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งยืนยันว่า เชื้อเพลิงถ่านหินยังเป็นทางเลือกในแผนพีดีพีฉบับใหม่ ที่จะช่วยกระจายความเสี่ยงสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และในอนาคตประเทศไทยยังจำเป็นต้องมีการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน

นอกจากนี้ ในแผนพีดีพีฉบับใหม่จะมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ สิ่งที่ชัดเจน คือ สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนจะเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการเปิดให้เอกชนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เพื่อจำหน่ายระหว่างกันอย่างเสรีมากขึ้น โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เตรียมแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้สามารถรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนที่มีต้นทุนตํ่าได้ แทนการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพียงรายเดียวเหมือนเช่นในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าถูกลงในอนาคต

"ตอนนี้กรอบแผนพีดีพีฉบับใหม่จะเสร็จแล้ว การจัดทำออกมาดี เป็นที่น่าพอใจของทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาคประชาชนที่จะได้รับประโยชน์อย่างมาก ซึ่งจะมีแผนรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์ภาคประชาชน รวมทั้งสัดส่วนพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น แต่ภายใต้เงื่อนไขราคาต้องไม่แพง" นายศิริ กล่าว


ถ่าน

นายธวัชชัย จักรไพศาล รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการพิจารณา ว่า จะให้ กฟผ. สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ภาคเหนือเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะหน่วยที่ 8 และ 9 กำลังการผลิตรวม 650 เมกะวัตต์ ที่จะหมดอายุในปี 2563 หรือไม่ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนพีดีพีฉบับใหม่ เพราะหากสุดท้ายแล้วกระทรวงพลังงานเห็นชอบให้ กฟผ. ดำเนินการ จะต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี โดยโรงไฟฟ้าใหม่นี้จะเรียกว่า โรงไฟฟ้าแม่เมาะ Replacement 2 ใช้เงินลงทุนใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้า Replacement 1 (โรงไฟฟ้าถ่านหินที่ทดแทนโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะหน่วยที่ 4 หน่วยที่ 6 และหน่วยที่ 7) อยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะมีหน่วยการผลิตอยู่ 10 หน่วย (หน่วยที่ 4-13) กำลังการผลิตรวม 2.4 พันเมกะวัตต์

หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับ 3,407 วันที่ 7-10 ตุลาคม 2561

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว