มธ.ปรับยุทธศาสตร์การศึกษา ผสมผสานเทคโนโลยีสู่การเรียนยุคใหม่

30 ส.ค. 2561 | 04:29 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ธรรมศาสตร์ ยกระดับการเรียนยุคใหม่ เปิดตัว “เจน เน็กซ์ อะคาเดมี่” แนวคิดใหม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกวัย สามารถเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด ตั้งเป้าผลิตสื่อการสอนแบบออนไลน์ 40 วิชาต่อปี พร้อมจัดงาน “เจน เน็กซ์ เอ็ดดูเคชั่น 2018” สะท้อนการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมด้านการศึกษาของโลก

ภาพบรรยากาศ (6) รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า มธ. ได้ยกระดับยุทธศาสตร์ด้านวิชาการ ให้ตอบสนองกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและตอบโจทย์ผู้เรียนยุคใหม่ เพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก ด้วยองค์ความรู้ในอดีตและการเรียนรู้รูปแบบเก่า ไม่ตอบสนองบริบทของโลกยุคปัจจุบัน และไม่ตอบโจทย์ผู้เรียนยุคใหม่ ที่มีความต้องการที่หลากหลาย  มธ.ได้เปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ทางด้านการเรียนการสอน อาทิ การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนในวิชาศึกษาทั่วไป (General Education Reforming) ทั้ง 10 วิชา ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีลักษณะเป็นผู้นำ ก้าวทันโลกยุคปัจจุบัน เน้นการเชื่อมโยงให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดตัว “เจน เน็กซ์ อะคาเดมี่” (Gen Next Academy) การเรียนในรูปแบบ Massive Open Online Course หรือ MOOC ด้วยการนำเทคโนโลยีและวิธีการเรียนการสอนสมัยใหม่มาผสมผสานกัน พร้อมตั้งเป้าผลิตสื่อการสอนแบบออนไลน์ 40 วิชาต่อปี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ ในอนาคตจะเปิดโอกาสให้ คนภายนอกได้เข้ามาศึกษาตามความสนใจอีกด้วย โดยระบบดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้ กลุ่มคนทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียนมัธยม วัยทำงาน และวัยเกษียณ สามารถเข้าคอร์สเรียนเพิ่มเสริมทักษะ เพื่อทบทวนความรู้เดิมและแสวงหาความรู้ใหม่ ตามความต้องการและสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ทั้งแบบออนไลน์ และเข้าร่วมศึกษาในชั้นเรียน ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าร่วมได้ โดยไม่จำกัดวุฒิและอายุ รวมทั้งสามารถรับประกาศนียบัตร อนุปริญญาหรือปริญญาบัตร ตามข้อกำหนดของแต่ละหลักสูตร รองศาสตราจารย์เกศินี กล่าว

ตัวอย่างนวัตกรรมภายในงาน (2) ด้าน รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มธ. กล่าวว่า มธ. ได้จัดงาน “เจน เน็กซ์ เอ็ดดูเคชั่น 2018” (Thammasat Gen Next Education 2018) เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมด้านการศึกษาของโลก โดยภายในงานมีการจัดแสดงประกอบไปด้วยไฮไลท์ 4 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EdTech) จัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการศึกษา อาทิ “TU Student App” แอปพลิเคชันอำนวยความสะดวกของนักศึกษา มธ. ที่สามารถตรวจสอบตารางเรียน เช็คชื่อเข้าเรียน และบันทึกกิจกรรมที่เข้าร่วม และ “ห้องสตูดิโอกระจก” สตูดิโอสำหรับการทำอี-เลิร์นนิ่ง เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ รูปแบบใหม่ให้กับผู้เรียน ตลอดจนการโชว์นวัตกรรมด้านการศึกษาจากหลายบริษัทชั้นนำ อาทิ ซิสโก (CISCO) และธนาคารไทยพาณิชย์ รวมกว่า 15 บริษัท

2. กลุ่มทรานเฟอร์ (Transfer) การจัดแสดงการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการศึกษาโลกในอนาคต อาทิ การจัดอินเตอร์แอคทีฟบอร์ด (Interactive Boards) ในเรื่องหลักสูตรพันธุ์ใหม่ของ มธ. หลักสูตรพัฒนาบัณฑิตให้เป็นกำลั งสำคัญของ 5 อุตสาหกรรมใหม่ตามยุทธศาสตร์ ชาติ เปิดตัวแนวคิดและรูปแบบของข้อสอบ GREATS ตัวชี้วัดทักษะบัณฑิตที่สำคัญนอกเหนือจากด้านวิชาการ รวมทั้งการเผยโฉม “เจน เน็กซ์ อะคาเดมี่” (Gen Next Academy) การเรียนในรูปแบบ Massive Open Online Course หรือ MOOC แนวคิดใหม่ เพื่อการศึกษาไร้ขีดจำกัด

ภาพประกอบ Active Learning Classroom (3) 3. กลุ่มทรานฟอร์ม (Transform) การเปลี่ยนแปลงสู่รูปแบบการเรียนและการสอนที่สอดคล้องกับสภาวะของโลกและผู้เรียนในอนาคต ผ่านกิจกรรมเวิร์คช็อปเพื่อพัฒนาการศึกษา ได้แก่ (1) “Innovative Learning : Beyond The Basics” เน้นการขยายขอบเขตการจัดการเรี ยนการสอนเชิงการเล่นเกม (Gamification) เพื่อสร้างสรรค์บทเรียนที่ดึงดู ดใจ สำหรับทั้งในห้องเรียนและคอร์สเรียนออนไลน์ โดยวิทยากรจากคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. และ (2) “DIY e-Learning by Dome Digital Innovation” การสอนทำบทเรียนอีเลิร์นนนิง ด้วยการลงมือทำจริงด้วยตนเอง โดย รศ.พิชิต ตรีวิทยรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำอีเลิร์ นนิง (License e-Learning Professional)

4. กลุ่มเทรนด์ (Trend) เปิดมุมมองรูปแบบการศึ กษาในอนาคตและการปรับตัวของ มธ. ให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ ยนแปลงไปของโลก ผ่านการปาฐกถาเรื่อง “Higher Education and It’s Role In Education Landscape” โดยศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์อุ ดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึ กษาธิการ และการเสวนาเรื่อง “Thammasat Transformation 2020: สู่บทบาทใหม่ของมหาวิทยาลัยเพื่ อประชาชน” นำโดย รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มธ. และศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมการสภา มธ.