24 ก.ค.จับตาสมาคมประมงล่องหนเวทีประชาพิจารณ์ส่อล่ม

21 ก.ค. 2561 | 10:52 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

24 ก.ค.นี้ สมาคมประมงฯ หันหลังเวทีประชาพิจารณ์ หลังมติประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2561 คัดค้านรัฐบาลเข้าร่วมสัตยาบันอนุสัญญา C188 เผยเป็นคนละเรื่องกับการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย ด้าน กระทรวงแรงงาน ยันต้องรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย

mo

นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า กระทรวงแรงงาน ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เรื่องขอเชิญประชุมปรึกษาหารือกลุ่มย่อยเฉพาะกิจปรับปรุงยกร่างกฎหมายเพื่อให้สัตยาบัน อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานภาคประมง ค.ศ. 2007 ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา

"สมาชิกชาวประมงทั้งประเทศ มีมติคัดค้านการที่รัฐบาลจะไปให้สัตยาบัน เพื่อรับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานของภาคประมง ค.ศ. 2007 มองว่า ปัญหาแรงงาน ไม่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายหรือไอยูยูฟิชชิ่ง และเป็นที่ทราบกันดีว่าการเข้าเป็นภาคี ควรเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะจะมีผลกระทบต่อประชาชนในประเทศ"

ขณะที่นางเพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน เผยถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงยกร่างกฎหมายเพื่อการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 เพื่อประกอบการเสนอร่าง พระราชบัญญัติแรงงานประมง พ.ศ. ... เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจให้ประชาคมโลกได้รับรู้ถึงความพยายามของทุกฝ่ายต่อการแก้ไขปัญหา และยกระดับสภาพการทำงานในภาคประมงไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
mo1 “เนื่องจากสภาพการจ้าง สภาพการทำงานในภาคประมงมีความแตกต่างจากการทำงานของลูกจ้างทั่วไป ซึ่งมีความเสี่ยงภัยทางทะเลและมีระยะเวลาการทำงานที่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน กฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 ซึ่งให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับสภาพการจ้าง สภาพการทำงานแก่คนงานประมงทะเล แต่มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องและครอบคลุมสภาพการจ้างงานในงานประมงทั้งหมด จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายว่าด้วยแรงงานประมงให้ครอบคลุมประมงทุกภาคส่วน “

เพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานประมงให้สอดคล้อง กับมาตรฐานระหว่างประเทศ เป็นการป้องกันการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมายในภาคการประมง รวมทั้งวางมาตรการในการควบคุม กำกับ ดูแลและบริหารจัดการในการออกใบรับรองด้านแรงงานภาคประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็นการส่งเสริม พัฒนา และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในกิจการภาคประมงของประเทศ

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

อย่างไรก็ดีก็ทางกระทรวงแรงงานจะต้องคำนึงผู้มีส่วนได้เสีย ก็คือ สมาคมประมงแห่งประเทศไทย ที่จะต้องเข้ามารับฟังความคิดเห็น สาระสำคัญเรื่องที่จะพิจารณา กำหนดกลุ่มประเภทเรือที่ทำการประมงเพื่อการค้าตามอนุสัญญา ฉบับที่ 188 หลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพและใบรับรองแพทย์ และหลักเกณฑ์ประกันสังคมและการคุ้มครองการเสียชีวิต เจ็บป่วย

อนึ่ง คลิป live สด ยืนยันมติคัดค้านในที่ประชุม https://www.facebook.com/432913450403538/videos/667531596941721/

e-book-1-503x62