ป.ป.ช.จ่อแจ้งข้อกล่าวหาจนท.ท่าเรือปมรับสินบนขนส่งอุปกรณ์โรงไฟฟ้าขนอมปี56

20 ก.ค. 2561 | 10:41 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

“วัชรพล” ปธ.ป.ป.ช. ยัน ทำงานร่วมอัยการญี่ปุ่น สอบปมเอกชนญี่ปุ่น จ่ายสินบน 20 ล้าน เตรียมแจ้งข้อกล่าว เจ้าหน้าที่ท่าเรือ กรณีขนส่งอุปกรณ์โรงไฟฟ้า ปี2556

ppc

20 กรกฎาคม 2561- พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึง กรณีที่สำนักงานสืบสวนพิเศษของอัยการกรุงโตเกียวกำลังสืบสวน บริษัท มิตซูบิชิ ฮิตาชิ พาวเวอร์ ซิสเต็มส์ จ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือของไทยกรณีขนส่งอุปกรณ์โรงไฟฟ้าปี 2556 มูลค่า 60 ล้านเยน หรือประมาณ20 ล้านบาทว่า เรื่องนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ไต่สวนและทำมาอย่างต่อเนื่อง มีความก้าวหน้าไปมาก โดยได้ทำงานร่วมกับอัยการญี่ปุ่นซึ่งเรื่องนี้มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน แต่ไม่ถึงระดับรัฐมนตรี เป็นเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติในพื้นที่ ซึ่ง ป.ป.ช.ได้แจ้งข้อกล่าวหาบางคนไปบ้างแล้ว

ขณะที่นายวิทยา อาคมพิทักษ์ กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวนี้ กล่าวถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบว่า มีการร้องเรียนมายัง ป.ป.ช.ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งได้ประสานกับทางอัยการญี่ปุ่น และป.ป.ช.ได้ตั้งอนุกรรมการไต่สวนขึ้น จนถึงขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วประมาณ 80 %

watpo

“สำหรับกรณีนี้มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน แม้กระทั่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ เช่น กรมเจ้าท่า หน่วยงานในท้องถิ่นและหลายหน่วยงาน มีบุคคลอยู่ในข่ายเกี่ยวข้องกับการเรียกรับสินบน 4-5 คน เป็นเจ้าหน้าที่รัฐระดับพื้นที่ กรณีนี้ถือว่า สร้างผลกระทบต่อความมั่นใจในการลงทุนระหว่างประเทศเพราะเกี่ยวพันกับการให้สินบนข้ามชาติ อย่างไรก็ดี ไม่อยากกำหนดกรอบเวลาว่า จะสามารถสรุปสำนวนเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้เมื่อใด แต่สิ่งที่ดำเนินการไปแล้วนั้น มีความคืบหน้าไปมากเหลือเพียงการแจ้งข้อกล่าวหาผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมเปิดโอกาสให้เข้ามาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาโดยต้องให้ความเป็นธรรมอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ คงไม่มีความจำเป็นต้องเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ให้ใช้มาตรา 44 สั่งพักงานผู้ที่เกี่ยวข้องเนื่องจากสามารถตรวจสอบตามขั้นตอนปกติ และใกล้เสร็จแล้ว

เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตรงๆ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้แต่ก็ฝ่าฝืนกระทำ ดังนั้น เราจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพราะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กระทบกับการลงทุนระหว่างประเทศ ต่างประเทศต้องมีความเชื่อมั่น เมื่อจะมาลงทุนในประเทศไทย ว่า เราจะให้ความเป็นธรรมกับเขา ไม่มีการเรียกสินบนแต่เมื่อมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้น เราจะต้องให้ความสำคัญและจะขยายผลไปยังสถานที่อื่นๆด้วย ซึ่งอาจเกิดกรณีแบบนี้กำลังตรวจสอบอยู่” นายวิทยา ระบุ

ทั้งนี้ กรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2556 มีบริษัทเอกชนรายหนึ่งเข้ามาทำโครงการสร้างท่าเรือชั่วคราว เพื่อขนถ่ายอุปกรณ์โรงไฟฟ้าในโครงการโรงไฟฟ้าขนอม จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อดำเนินการเสร็จได้รื้อย้ายถอดถอนท่าเรือออกไปแล้ว

e-book-1-503x62