“อีอีซี” ปลื้มไฮสปีดเทรน 31 เอกชนรุมซื้อซอง ส่งผลดีต่อประมูล เมกะโปรเจ็กต์รอบต่อไป

09 ก.ค. 2561 | 13:12 น.
-9 ก.ค.2561- นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ ได้ให้ความสนใจเข้าซื้อซองเสนอราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) กับการรถไฟแห่งประเทศไทย หลังจากเปิดให้เข้าซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย.2561 จนถึงวันนี้ (9 ก.ค.) ที่ผ่านมา ซึ่งมีบริษัทเอกชนเข้าซื้อทั้งสิ้น 31 ราย ประกอบด้วยเอกชนไทย จำนวน 14 ราย ประเทศจีน จำนวน 7 ราย ญี่ปุ่น จำนวน 4 ราย มาเลเซีย จำนวน 2 ราย เกาหลี จำนวน 1 ราย ฝรั่งเศส จำนวน 2 ราย และ อิตาลี จำนวน 1 ราย โดยเอกชนที่ซื้อซองทั้งหมด จะต้องทำรายละเอียดข้อเสนอการเข้าร่วมประมูลต่อคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง เพื่อพิจารณาคัดเลือกในการประมูล ภายใน 12 พ.ย.นี้ และคาดว่าจะสามารถได้บริษัทที่ชนะการประมูลได้ภายในต้นปี 2562

“การเปิดประมูลครั้งนี้นับว่าเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล จากการที่นักลงทุนให้ความสนใจในการเข้ามาซื้อซอง ชี้ให้เห็นว่านักลงทุนต่างชาติมีความเชื่อมั่นในการดำเนินโครงการของภาครัฐ ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน 5 โครงการหลักของการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จะยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะด้านการบริการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ เกิดการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุนที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ และคาดว่าโครงการอื่นๆที่จะเปิดในเร็วๆนี้ จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนเช่นเดียวกัน” นายคณิศ กล่าว

สำหรับรายชื่อบริษัทภาคเอกชนที่เข้าซื้อซอง ประกอบด้วย ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศซื้อซองรวมจำนวน 31 ราย ประกอบด้วย 1. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 2. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย) 3. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 4. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 5.บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (ประเทศไทย) 6. ITOCHU Corporation (ประเทศญี่ปุ่น) 7. ซิโนไฮโดรคอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (ประเทศจีน) 8. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)9. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย 10. บริษัท ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น)

11. China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 12. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 13. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 14. บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
15. CHINA RAILWAY GROUP LIMITED (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 16. China Communications Construction Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 17. China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 18. CITIC Group Corporation (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 19. Korea-Thai High-speed Railroad Consortium Inc. (ประเทศไทย) 20. บริษัท เทอดดำริ จำกัด (ประเทศไทย)

21. Salini Impregio S.p.A. (ประเทศอิตาลี)22. บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด (ประเทศไทย)23. TRANSDEV GROUP (ประเทศฝรั่งเศส)24. SNCF INTERNATIONAL (ประเทศฝรั่งเศส)25. Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ประเทศญี่ปุ่น) 26. บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) 27. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
28. บจก. แอล เอ็ม ที สโตน (ประเทศไทย) 29. WANNASSER INTERNATIONAL GREEN HUB BERHAD (ประเทศมาเลเซีย) 30. บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (สาธารณรัฐประชาชนจีน) 31. MRCB Builders SDN. BHD. (ประเทศมาเลเซีย)

หลังจากนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย จะมีการจัดการประชุม เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจในเรื่องของเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การประมูล จำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจะจัดขึ้นในวันที่ 23 ก.ค. ณ สโมสรรถไฟชั้น 2 และในวันที่ 24 ก.ค. นอกจากนี้ในวันที่ 26 ก.ค.จะเป็นการนำผู้ยื่นข้อเสนอไปดูสถานที่ก่อสร้างของโครงการ (Site Visit) ที่โครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์, รถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต และเขตทางรถไฟปัจจุบันตลอดแนวเส้นทางไปถึงสถานีบ้านฉาง
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว