เงินนอกไหลกลับตลาดบอนด์ พฤษภาคมเดือนเดียวเฉียดหมื่นล้านบาท

14 มิ.ย. 2561 | 07:41 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

สมาคมตราสารหนี้ไทยระบุ ต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทย แค่เดือนพ.ค.ยอดซื้อสุทธิ 9.7 พันล้านบาท จากความไม่แน่นอนของนายโดนัลด์ ทรัมป์ แม้ดอกเบี้ยจะขาขึ้นชัดเจน

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) เปิดเผยว่า นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ไทย ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม จนล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนมียอดซื้อสุทธิ 9.7 พันล้านบาท จากเดิมที่อัตราผลตอบแทนในพันธบัตร(yield) สหรัฐฯเป็นขาขึ้นชัดเจนและเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นแต่เริ่มมีความไม่แน่นอนจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดี สหรัฐฯ ทั้งการเยือนเกาหลีเหนือแล้วยกเลิกหรือสงครามการค้ากับยุโรป ทำให้แม้แต่ yield curve ของพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปีที่เคยทะลุ 3% ก็เริ่มอ่อนลง ทำให้เงินทุนไหลกลับ

[caption id="attachment_289781" align="aligncenter" width="503"] อริยา ติรณะประกิจ  รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) อริยา ติรณะประกิจ
รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA)[/caption]

“เงินลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ตั้งแต่ต้นมกราคม ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดถือครองต่างชาติมากที่สุดถึง 9.32 แสนล้านบาท แต่หลังจากนั้นก็ไหลออกทุกเดือน มากสุดน่าจะเป็นช่วงปลายมีนาคม-กลางเมษายน จากความกังวลที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)จะปรับขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ yield พันธบัตรสหรัฐฯปรับขึ้น เงินลงทุนของต่างชาติ จึงไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ กลับไปลงทุนในสหรัฐอเมริกาแทน”

สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยเอง แม้นักลงทุนต่างชาติไม่ได้ขายออก แต่ไม่ต่ออายุพันธบัตรที่หมดอายุลง เพราะช่วงต้นปีที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนจะลงทุนทั้งพันธบัตรระยะสั้นไม่เกิน 1 ปีและพันธบัตรระยะยาว แต่ช่วงที่ออกไปจะเป็นพันธบัตรระยะสั้น ขณะที่พันธบัตรระยะยาวยังเป็นบวก แม้ยอดจะไม่เพิ่ม แต่ก็ไม่ใช่ขายสุทธิเช่นกัน
MP19-3372-A

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการลงทุนของต่างชาติปีนี้ ยังคาดเดายาก เพราะแม้ว่าจะเห็นแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นชัดเจน  แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนจากนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ว่า จะไปทางไหน ซึ่งหากนโยบายที่ออกมา จะมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ เฟดเองก็อาจชะลอการขึ้นดอกเบี้ยตามที่ประกาศไว้ก็ได้ ซึ่งหากเทียบกับเงินไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็น บราซิล อาร์เจนตินา หรือในอาเซียนอย่างอินโดนีเซีย หรือมาเลเซียแล้ว ผลกระทบต่อตลาดไทยยังน้อยมาก เหตุเพราะตลาดใหญ่กว่า และพื้นฐานเศรษฐกิจไทยดีกว่ามากและต่างชาติถือครองพันธบัตรไม่ถึง 10% ขณะที่อินโดนีเซียตลาดเล็กกว่าไทย และต่างชาตืถือครองพันธบัตรถึง 40% ทำให้เมื่อต่างชาติออกจึงมีผลกระทบต่อค่าเงินด้วย

[caption id="attachment_289778" align="aligncenter" width="335"] ประภา ปูรณโชติ  กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ประภา ปูรณโชติ
กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)[/caption]

ด้านนางสาวประภา ปูรณโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)  หลังจาก SET Index ปรับตัวลงมากว่า 5% นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้ Valuation ของตลาดหุ้นไทยเริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้น แต่ Upside ของดัชนียังคงถูกจำกัดด้วยแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตร(Bond yield) ทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ความน่าสนใจของตราสารหนี้มีมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้น แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามคือ หากเฟด เริ่มส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 4  มีโอกาสที่ Bond yield และเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะปรับตัวสูงขึ้น และจะส่งผลกดดันต่อกระแสเงินทุนต่างชาติ

หน้า 19 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3372 ระหว่างวันที่ 7 - 9 มิ.ย. 2561

e-book-1-503x62-7