ผ่างบ 3.4 แสนล้าน สร้างสนามบินรุกแอร์พอร์ตคลัสเตอร์

04 มิ.ย. 2561 | 05:10 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ทิศทางการพัฒนา สนามบินหลักของไทย เพื่อรองรับดีมานด์การท่องเที่ยวที่โตต่อเนื่อง จะเป็นเช่นไร อ่านได้จากสัมภาษณ์ นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ก.ก.ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
mSQWlZdCq5b6ZLkmyBbGyZeJcbIQOZoA

เร่งขยายรับ184 ล.

การเติบโตของปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบินทั้ง 6 แห่งของทอท.ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ขยับจาก 101 ล้านคน ขึ้นมาเป็น 133 ล้านคนในปีที่ผ่านมา ขณะที่ศักยภาพของสนามบินในปัจจุบันรองรับได้เพียง 83.5 ล้านคนต่อปีเท่านั้น และนับวันการท่องเที่ยวจะยิ่งขยายตัวต่อเนื่อง นี่เองจึงทำให้สนามบินหลักต่างๆ ของไทย ต้องเผชิญกับปัญหาความแออัดในสนามบินที่เกิดขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาทอท.ได้เตรียมแผนรับมือไว้แล้ว โดยอยู่ระหว่างใช้งบร่วม 2.2 แสนล้านบาทขยายศักยภาพการรองรับของสนามบินทั้ง 6 แห่งในช่วง 10 ปีนี้ เพื่อขยายการรองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็น 184 ล้านคนต่อปีในปี 2568

[caption id="attachment_286836" align="aligncenter" width="452"] นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ก.ก.ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศ ยานไทย จำกัด (มหาชน) นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ก.ก.ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศ ยานไทย จำกัด (มหาชน)[/caption]

การลงทุนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต้องใช้เวลาหลายปี ทำให้แม้จะขยายอย่างไรก็คงจะไม่สามารถรองรับดีมานด์การขยายตัวของผู้โดยสารได้ทัน แต่เราก็พยายามเร่งรัดการลงทุนให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ล่าสุดสนามบินไหนเร่งการก่อสร้างให้เร็วขึ้นได้ ก็เข้าไปปรับแผนการลงทุนใหม่


อย่างแผนขยายสนามบินดอนเมือง ตอนนี้เร่งเร็วขึ้น 2 ปี โดยการรื้ออาคารผู้โดยสารภายในประเทศเดิม มาสร้างเป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ (อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3) พร้อมอาคารเทียบเครื่องบินหมายเลข 6 แล้วเสร็จในปี 2565 และได้ปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อออกแบบเอง ไม่ต้องจ้างออกแบบ ยกเว้นเทอร์ มินัล 2 สนามบินดอนเมือง

รุกผุด 2 สนามบินใหม่

อีกทั้งทอท.ยังมองถึงความจำเป็นในการสร้าง 2 สนามบินใหม่ ลงทุนราว 1.26 แสนล้านบาท (ไม่รวมที่ดิน) เนื่องจากตอนนี้สนามบินภูเก็ต มีผู้โดยสาร 16.7 ล้านคน ปีหน้าคาดว่าจะไปถึง 18 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2581 จะมีผู้โดยสารถึง 42.42 ล้านคน จำนวนเที่ยวบิน 2.11 แสนเที่ยวบิน ทำให้ทอท.มองถึงการลงทุนขยายสนามบินภูเก็ตไปถึงอัลติเมตเฟส (ขยายการลงทุนเต็มศักยภาพของพื้นที่) ควบคู่ไปกับแผนลงทุนสร้างสนามบินภูเก็ตแห่งใหม่ที่พังงา

ส่วนสนามบินเชียงใหม่ ณ สิ้นงบประมาณปี 2560 มีผู้โดยสาร 9.97 ล้านคน เกินศักยภาพของสนามบินที่รองรับได้ 8.5 ล้านคน ขณะที่ในปี 2581 คาดว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 23.33 ล้านคน และจำนวนเที่ยวบิน 1.37 แสนเที่ยวบิน ดังนั้นจึงมองที่จะสร้างสนามบินใหม่ ควบคู่ไปกับการทบทวนแผนขยายการลงทุนอัลติเมตเฟสของสนามบินเชียงใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับการรองรับของจังหวัดเชียงใหม่

MP22-3371-B

ทั้งนี้รูปแบบในการก่อสร้างสนามบินใหม่ทั้ง 2 แห่งนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ในระยะแรกจะเปิดให้บริการเฉพาะเที่ยวบินภายในประเทศ มี 1 รันเวย์ มีขีดความสามารถของอาคารผู้โดยสารเบื้องต้นระยะแรก รองรับอยู่ที่ราว 10-15 ล้านคนต่อปี และจะปรับการให้บริการของสนามบินเชียงใหม่และสนามบินภูเก็ตในปัจจุบันให้รองรับเฉพาะเที่ยวบินระหว่างประเทศ แต่ในอนาคตหากมีดีมานด์นักท่องเที่ยวมากขึ้นไปอีก กายภาพของสนามบินใหม่ ก็จะเผื่อไว้สำหรับรองรับการติดตั้งอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และเผื่อพื้นที่ไว้แล้ว ให้สามารถรองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศได้ด้วยในอนาคต

3 เกณฑ์เลือกพื้นที่ก่อสร้าง

ส่วนกรอบในการจัดหาที่ดินทอท.วางเกณฑ์ใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1. มีการขีดวงไว้ว่าจะพิจารณาพื้นที่ ว่าจะอยู่ห่างจากสนามบินปัจจุบัน 20-30 กิโล เมตร เพื่อไม่ให้ห่างจากสนามบินปัจจุบันมากนัก เพื่อความสะดวกในการเดินทาง 2. เป็นพื้นที่ราบ และ 3. ไม่อยู่ในแนวร่องเขา เพื่อสร้างรันเวย์แล้ว ไม่เกิดปัญหาด้านทราฟฟิกระหว่างสนามบินปัจจุบันกับสนามบินใหม่ เมื่อเครื่องบินทำการบินสวนกัน

จากเกณฑ์ดังกล่าวเบื้องต้นพบว่าจะมีที่ดินราว 5.3 พันกว่าโฉนด ที่อยู่ในเกณฑ์โดยเป็นพื้นที่ระหว่างอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กับอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูนกว่า 5 พันโฉนด และเป็นพื้นที่ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ราว กว่า 300 โฉนด ซึ่งทอท.จะต้องไปดำเนินการเจรจาซื้อที่ดิน หรือหากไม่สามารถซื้อ เพราะราคาสูงเกินไป ก็ต้องเป็นการเวนคืน โดยทอท.มีความต้องการใช้พื้นที่อยู่ที่ 5-7 พันไร่ต่อสนามบิน

ขั้นตอนต่อจากนี้ทอท. ได้วางไทม์ไลน์การดำเนินการไว้ 3 สเต็ป โดยสเต็ปที่ 1 จะนำมติบอร์ดทอท.เสนอไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อนำเรื่องเสนอครม. พิจารณา จากนั้นจะจัดประชุมผู้ถือหุ้นภายในไม่เกินสิ้นปีนี้ เพื่อขออนุมัติแผนสร้างสนามบินใหม่

สเต็ปที่ 2 จะเป็นกระบวนการได้มาซึ่งที่ดิน และสเต็ปที่ 3 จะเป็นช่วงการก่อสร้าง ซึ่งกระบวนการก่อสร้างจะใช้เวลา 4 ปี แต่สนามบินจะเปิดให้บริการได้เมื่อไหร่ยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน เพราะขึ้นอยู่กับระยะ เวลาของกระบวนการในการได้มาซึ่งที่ดิน ว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ แต่ก็คาดว่า กระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จและสามารถดำเนินก่อสร้างได้ก่อนระยะเวลาที่สนามบินเชียงใหม่และสนามบินภูเก็ต จะเต็มขีดความสามารถในการรองรับ


ดังนั้นเบ็ดเสร็จแล้วทอท.ต้องใช้งบลงทุนสนามบินในช่วง 10 ปีนี้ร่วม 3.46 แสนล้านบาท(ตารางประกอบ) ทั้งในส่วนของการขยายศักยภาพสนามบินเดิมและการสร้างสนามบินใหม่ ซึ่งการลงทุนที่เกิดขึ้นจะไม่กระทบต่อสภาพคล่อง เนื่องจากปัจจุบันทอท.มีกระแสเงินสดในมือกว่า 6.2 หมื่นล้านบาท และมีเงินสดที่เป็นกำไรไม่หักค่าเสื่อมเข้ามาอีกปีละ 3 หมื่นล้านบาท
47445506eae14928aa025daf11d018fe จ่อบริหาร 4 สนามบินทย.

นอกจากการลงทุนพัฒนาสนามบินแล้ว ทอท.ยังเน้นบูรณา การยุทธศาสตร์การบริหารท่าอากาศยาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงข่ายระบบการขนส่งทางอากาศของประเทศในภาพรวม โดยการบริหารสนามบินในลักษณะแอร์พอร์ต คลัสเตอร์ ซึ่งปัจจุบัน 6 สนามบินของทอท. ถือว่ารองรับนอร์ธ คอร์ริดอร์ และเซาธ์คอร์ริดอร์อยู่แล้ว โดยที่ภาคเหนือ เรามีสนามบินเชียงใหม่เป็นฮับ สนามบินแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เป็นเกตเวย์ ภาคใต้มีสนามบินภูเก็ต เป็นฮับ สนามบินหาดใหญ่เป็นเกตเวย์ แต่สิ่งที่ขาดไปคือ ด้านอีสต์และเวสต์ คอร์ริดอร์

การที่ทอท.ได้รับความเห็นชอบจากบอร์ด ในการบริหาร 4 สนามบินของกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ได้แก่ สนามบินอุดรธานี สนามบินตาก ชุมพร สกลนคร ทำให้เราเติมเต็มส่วนที่หายไป ซึ่งทอท.เสนอรับโอนสนามบินจากทย.ไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว รอครม.เห็นชอบ โดยเบื้องต้นทอท.จะใช้งบราว 1 พันล้านบาทในการปรับปรุงอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกของสนามบินอุดรธานีและสกลนคร เพื่อยกระดับการให้บริการสำหรับรองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ ส่วนชุมพร ก็จะรองรับนโยบายไทยแลนด์ริเวียร่า ของรัฐบาล ส่วนตาก ก็จะล้อไปตามนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งต่อไปจะโฟกัสการทำตลาดให้ครอบคลุมคลัสเตอร์ต่างๆ

หน้า 22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3371 ระหว่างวันที่ 3 -6 มิ.ย. 2561

e-book-1-503x62-7