ออกหมายจับ "วัฒนา" เพิ่ม "ฉ้อโกงซื้อที่ดิน-สัญญาก่อสร้าง" บ่อบำบัดคลองด่าน 2.3 หมื่นล้าน

07 มี.ค. 2561 | 14:07 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

- 7 มี.ค. 61 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องพิจารณา 407 ศาลแขวงดุสิต กทม. ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีฉ้อโกงซื้อที่ดินและสัญญาสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน สมุทรปราการ ที่กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง 1.กิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี (NVPSKG) 2.บริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง 3.นายพิษณุ ชวนะนันท์ กรรมการบริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง 4.บริษัทประยูรวิศว์การช่าง 5.นายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ กรรมการบริษัทประยูรวิศว์การช่าง 6.บริษัทสี่แสงการโยธา(1979) 7.นายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล กรรมการบริษัทสี่แสงการโยธา 8.บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ 9.นายนิพนธ์ โกศัยพลกุล กรรมการบริษัทกรุงธนเอนยิเนียร์ 10.บริษัทเกตเวย์ดิเวลลอปเมนท์ 11.นายรอยอิศราพร ชุตาภา กรรมการบริษัทเกตเวย์ดิเวลลอปเมนท์ 12.บริษัท คลองด่านมารีน แอนด์ ฟิชเชอรี่ 13.นายชาลี ชุตาภา กรรมการบริษัทคลองด่านมารีนฯ 14.นายประพาส ตีระสงกรานต์ กรรมการบริษัทคลองด่านมารีนฯ 15.นายชยณัฐ โอสถานุเคราะห์ กรรมการบริษัทคลองด่านมารีนฯ 16.บริษัท ปาล์ม บีช ดิเวลลอปเมนท์ 17.นางบุญศรี ปิ่นขยัน กรรมการบริษัท ปาล์ม บีชฯ 18.นายกว๊อกวา โอเยง สัญชาติฮ่องกง ในฐานะผู้แทนบริษัท ปาล์ม บีชฯ และ 19.นายวัฒนา อัศวเหม อดีตรมช.มหาดไทย เป็นจำเลยที่ 1-19 ในความผิดฐานฉ้อโกงการจัดซื้อที่ดิน อ.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ เนื้อที่รวม 1,900 ไร่ มูลค่า 1,900 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน แต่ที่ดินนั้นกลับเป็นกลุ่มบริษัทจัดหามาแล้สที่ดินนั้นเป็นคลอง ถนนสาธารณะ และป่าชายเลน และฉ้อโกงสัญญาก่อสร้างฯ มูลค่าประมาณ 23,000 ล้านบาท

** FILE ** In this January 2007 file photo, Wattana Asavahame, chairman of Puea Pandin party, one of the six political parties in Thailand

ซึ่งคดีนี้จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ โดยชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ ศาลพิพากษายกฟ้องในส่วนของกิจการร่วมค้า NVPSKG จำเลยที่ 1 และสั่งประทับรับฟ้องไว้เฉพาะจำเลยที่ 2-19 จึงเหลือจำเลยที่เข้าสู่กระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษารวม 18 ราย

โดยเมื่อเวลา 12.30 น. ศาลได้มีคำสั่งเลื่อนนัดการอ่านคำพิพากษาฎีกานี้ออกไปก่อน เนื่องจากจำเลยที่ 11-13 , 15 และ 19 ไม่มาศาล โดยจำเลยบางคนยังไม่ได้รับหมายเพราะเปลี่ยนแปลงที่อยู่ บางส่วนที่อยู่ไม่มีเลขที่ และไฟไหม้ ดังนั้นจึงให้ส่งหมายใหม่ หากไม่มีผู้รับก็ให้ปิดหมายตามที่พักของจำเลยตามทะเบียนราษฎร์

ส่วนการฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลนัดอ่านคำพิพากษาครั้งที่ 2 ในวันที่ 30 พ.ค. เวลา 09.00 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับจำเลยที่ 19 นั้น คือนายวัฒนา ก่อนหน้านี้หนีคดีตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งศาลออกหมายจับไว้อยู่แล้ว โดยนายวัฒนา”นั้น นอกจากคดีนี้ฉ้อโกงนี้แล้ว ยังถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาให้จำคุก 10 ปี เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2551 ด้วย ฐานใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งโดยมิชอบ จูงใจให้เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการออกโฉนดที่ดินใน ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ เนื้อที่ 1,900 ไร่ ทั้งที่รัฐได้ประกาศหวงห้ามให้ที่บริเวณดังกล่าวใช้เป็นที่ทิ้งขยะมูลฝอย และถนนสาธารณะให้กับ บ.ปาล์ม บีช ดิเวลลอปเมนท์ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.148 แต่นายวัฒนา ได้หลบหนีคดีไม่มาฟังคำพิพากษา ศาลฎีกาฯ จึงให้ออกหมายจับ เพื่อติดตามนำตัวนายวัฒนา มารับโทษตามคำพิพากษาด้วย ซึ่งคดีดังกล่าวมีอายุความ 15 ปี แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

นี้สำหรับคดีฉ้อโกงเดิมศาลแขวงดุสิต ที่เป็นศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2552 พิพากษาว่าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2-19 เชื่อมโยงมีการแบ่งหน้าที่กันทำกลุ่มหนึ่งเป็นผู้รวบรวมที่ดินนำขายให้แก่โจทก์ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ก่อสร้างโครงการ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน โดยทราบดีอยู่แล้วว่าที่ดินดังกล่าวออกโฉนดโดยมิชอบแล้วนำมาขายให้กับโจทก์ใช้ก่อสร้างโครงบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านโดยไม่มีบริษัทผู้เชี่ยวร่วมดำเนินการ มีเจตนาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นำผลประโยชน์ไปแบ่งปันกัน พยานหลักฐานรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2-19 ร่วมกันกระทำผิดตาม ม.341 ฐานร่วมกันฉ้อโกง อันเป็นความผิดกรรมเดียว จึงให้จำคุก นายพิษณุ ชวนะนันท์ กก.บ.วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง , นายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ กก.บ.ประยูรวิศว์การช่าง , นายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล กก.บ.สี่แสงการโยธา , นายนิพนธ์ โกศัยพลกุล กก.บ.กรุงธนเอนยิเนียร์ , นายรอยอิศราพร ชุตาภา กก.บ.เกตเวย์ , นายชาลี ชุตาภา กก.บ.คลองด่านมารีนฯ , นายประพาส ตีระสงกรานต์ กก.บ.คลองด่านมารีนฯ , นายชยณัฐ โอสถานุเคราะห์ กก.บริษัทคลองด่านมารีนฯ ,นางบุญศรี ปิ่นขยัน กก.บ.ปาล์ม บีชฯ และนายกว๊อกวา โอเยง ผู้แทนบริษัท ปาล์ม บีชฯ และนายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย จำเลยที่ 3, 5, 7, 9, 11 13-15, 17,18 , 19 คนละ 3 ปี ส่วน บ.วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง , บ.ประยูรวิศว์การช่าง , บ.สี่แสงการโยธา(1979) , บ. กรุงธนเอนยิเนียร์ , บ.เกตเวย์ดิเวลลอปเมนท์ , บ. คลองด่านมารีน แอนด์ ฟิชเชอรี่ และ บ.ปาล์ม บีช ดิเวลลอปเมนท์ จำเลยที่ 2, 4, 6, 8, 10, 12 , 16 ให้ปรับรายละ 6,000 บาท

โดยระหว่างอุทธรณ์คดี จำเลยที่ 3, 5, 7, 9, 11 13-15, 17,18 ได้ประกันคนละ 1 ล้านบาท ส่วนนายวัฒนา จำเลยที่ 19 หลบหนีคดีไปก่อน ศาลจึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับและปรับนายประกัน

ขณะที่คดีได้อ่านคำตัดสินศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2556 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง เนื่องจากศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ช่วงเวลาที่ บ.ปาล์ม บีชฯ จำเลยที่ 16 ซื้อที่ดิน ยังไม่แน่ชัดว่าโครงการก่อสร้างบำบัดน้ำเสียจะใช้ที่ดินบริเวณ ใดบ้าง โดย คพ.เพิ่งมีโครงการชัดเจนว่าจะใช้ที่ดิน ต.คลองด่านในเดือน ก.พ. 2539 ดังนั้นพยานหลักฐานโจทก์จึงยังไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ว่า พวกจำเลยเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือดำเนินการใดๆ ให้คณะกรรมการคัดเลือกของ คพ. ให้เลือกที่ดินของ บ.คลองด่านมารีนฯ จำเลยที่ 12 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-19 ฟังขึ้น appkhlong-Dan

อนึ่ง เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ศาลปกครองกลางได้อ่านคำพิพากษา ในคดีที่บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด กับพวกรวม 6 คน ร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 50/2556 หมายเลขแดงที่ 2/2554 ลงวันที่ 12 ม.ค. 2554 ที่ให้ กรมควบคุมมลพิษชำระเงินจำนวน 4,983,342,383 บาท กับอีก 31,035,780 ดอลล่าร์สหรัฐฯ พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี ของเงินจำนวน 4,424,099,982 บาท และจำนวน 26,484,636 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ตามสัญญาโครงการออกแบบรวมก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น

กรมควบคุมมลพิษซึ่งเป็นผู้คัดค้านและกระทรวงการคลัง ได้ร้องขอให้พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ โดยอ้างว่ามีคำพิพากษาในคดีอาญาซึ่งเป็นคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำพิพากษาของศาลแขวงดุสิต และคำพิพากษาของศาลอาญา อันแสดงให้เห็นว่าการดำเนินโครงการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีการร่วมกันวางแผนและมีการเอื้อประโยชน์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในฐานะผู้แทนฝ่ายผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง

ศาลปกครองกลางวินิจฉัยว่า กระทรวงการคลังไม่ใช่คู่สัญญาและไม่ได้รับผลกระทบจากผลแห่ง คำพิพากษาโดยตรง จึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ แต่กรมควบคุมมลพิษเป็นผู้คัดค้านมีสิทธิขอพิจารณาคดีใหม่ และศาลปกครองกลางได้วินิจฉัยสรุปได้ดังนี้ บาร์ไลน์ฐาน

1. บริษัท นอร์ทเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้นำโครงการของกิจการ ร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี ได้กล่าวอ้างคุณสมบัติด้านการเงินของ บริษัท นอร์ทเวสต์ วอเตอร์ กรุ๊ป จำกัด โดยไม่มีหลักฐานใด ๆ ว่าบริษัทดังกล่าวจะเข้ามาร่วมรับผิดชอบในโครงการ และบริษัท นอร์ทเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีส่วนรับผิดชอบการลงทุนเฉพาะงานเดินระบบและซ่อมบำรุง ซึ่งมีมูลค่าของงานประมาณ 10% ของราคาโครงการ การกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษที่ไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่กิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี ผู้รับจ้าง

2. เจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ ผู้คัดค้าน ได้มีประกาศท้องที่ที่จะขายที่ดินสำหรับใช้ในโครงการ ซึ่งห่างไปจากที่บริษัทที่ปรึกษาได้ทำการศึกษาไว้กว่า 20 ก.ม. ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาโครงการที่เพิ่มสูงขึ้น โดยบริษัทคลองด่านมารีน แอนด์ ฟิชเชอรี่ จำกัด เป็นผู้เสนอขายที่ดินในบริเวณดังกล่าว อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทดังกล่าว ซึ่งมีความสัมพันธ์ในเชิงบริหารและเชิงทุนกับบริษัทหนึ่งในกิจการร่วมค้า

3. เจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ ผู้คัดค้าน ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดการประกวดราคา (TOR) ทำให้ที่ดินของกลุ่มบริษัทมารูเบนี่ คอเปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาอีกรายหนึ่งขาดคุณสมบัติ จึงเหลือที่ดินของบริษัท คลองด่านมารีน แอนด์ ฟิชเชอรี่ จำกัด ซึ่งเป็นที่ดินซึ่งอยู่ในความควบคุมของกิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี เพียงรายเดียว ทำให้กลุ่มบริษัทอีกรายหนึ่งไม่มีที่ดินที่จะใช้ดำเนินโครงการและ ขอถอนตัว

4. สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจร่างสัญญาและกำหนดให้กิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี และบริษัท นอร์ทเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด รับผิดร่วมกันและแทนกันตามสัญญา แต่เจ้าหน้าที่ของ กรมควบคุมมลพิษได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความเป็นให้กิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี รับผิดร่วมกัน โดยตัดข้อความที่ให้บริษัท นอร์ทเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ต้องรับผิดร่วมกันออก และในการลงนาม ในสัญญาได้ให้บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้ลงนามแทนกิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี และบริษัท นอร์ทเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่ยื่นครั้งการประกวดราคา ซึ่งต่อมาบริษัทแม่ของบริษัทนอร์ทเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้แจ้งขอถอนหนังสือ มอบอำนาจเดิมต่อเจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษแล้ว แต่ไม่มีการตรวจสอบโดยอ้างว่าเป็นปัญหาภายใน ที่ไม่เกี่ยวกับกรมควบคุมมลพิษ อันเป็นการช่วยเหลือกิจการร่วมค้า หลังจากนั้นได้มีการยินยอมให้บริษัท สมุทรปราการ ออพเปอร์เรทติ่ง จำกัด ผู้ร้องที่ 6 ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์เข้ามาเป็นคู่สัญญาแทนบริษัท นอร์ทเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

การกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการขัดต่อระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรีและกฎหมาย ทั้งในขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม การจัดหาที่ดิน การประกวดราคา และมีการแก้ไขข้อความในร่างสัญญาที่ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานอัยการสูงสุดในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย โดยผู้ที่จะรับประโยชน์คือบริษัท คลองด่านมารีน แอนด์ ฟิชเชอรี่ จำกัด และกิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี สัญญาโครงการออกแบบรวมก่อสร้างระบบบำบัด น้ำเสีย ซึ่งเกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันกรมควบคุมมลพิษผู้คัดค้าน คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่ชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระเงินจึงมีเหตุ ให้เพิกถอนได้ เนื่องจากการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ศาลปกครองกลางจึงมีคำพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 50/2546 หมายเลขแดงที่ 2/2554 ลงวันที่ 12 ม.ค. 2554

ก่อนหน้านี้คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้กรมควบคุมมลพิษชดใช้ค่าเสียหายจำนวนกว่า 9,000 ล้านบาท ให้กับ 6 บริษัท ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว