จุฬาฯเปิดหลักฐานใหม่สถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งปี61รุนแรงมากขึ้น!

27 ก.พ. 2561 | 12:02 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

จุฬาฯ เปิดหลักฐานใหม่ สถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งของไทยปี 2561 รุนแรงมากขึ้น!

27 กุมภาพันธ์ 2561 ณ.ห้องประชุม 421 อาคารภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดเวทีเสวนาสาธารณะ TGWA ครั้งที่ 8 เรื่อง “สถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งปี 2561: ทช ประกาศไทยหลุดพ้นวิกฤติกัดเซาะแล้ว…จริงหรือ?”

ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพง์สกุล ประธานสถาบันโลกร้อนศึกษาประเทศไทย มูลนิธินภามิตรและอาจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวนำวัตถุประสงค์ของการเสวนาครั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนและสาธารณะเข้าใจข้อมูลที่แท้จริงของสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย ปี 2561 ตอนหนึ่งว่า มีความไม่สบายใจที่หน่วยงานรัฐ ออกมาประกาศว่าชายหาดไทยหลุดพ้นวิกฤตปัญหากัดเซาะเมื่อเร็วๆนี้

จากการศึกษาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยมาต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2533 พบว่าประเทศไทยเริ่มพบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2535-36 ที่หาดบางเทา จังหวัดภูเก็ต บางพื้นที่ของจังหวัดนราธิวาสและบริเวณอ่าวไทยตอนบนรูป ก และต่อมาในปี พศ. 2549 ได้จัดทำรายงานสถานการณ์การกัดเซาะของประเทศไทยให้กับทางธนาคารโลก
tanaw

"พบว่าการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยในห้วงเวลานั้น มีพื้นที่กัดเซาะขั้นรุนแรง (อัตรากัดเซาะมากกว่า 5 เมตรต่อปี) ทั่วประเทศมีระยะทางยาวประมาณ 599 กม. หรือคิดเป็น 21% ของความยาวชายฝั่งทั่วประเทศไทย"

ต่อมาทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ในปี 2551โดยมีการระดมแผนงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ทช. กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นและจังหวัดริมชายฝั่งทะเลทั้ง 23 จังหวัดทั่วประเทศ สถานการณ์การกัดเซาะของประเทศไทยทวีความรุนแรงมากขึ้น ในปี 2556 พบว่าพื้นที่การกัดเซาะรุนแรงทั่วประเทศมีระยะทางยาว 830 กม. หรือคิดเป็น 30% ของความยาวชายฝั่งทั่วประเทศ สรุปสถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งทะเลในปัจจุบัน พื้นที่กัดเซาะชายฝั่งรุนแรงมากขึ้นทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน

โดยเฉพาะพื้นที่กว่า 600 กิโลเมตร ที่ภาครัฐได้มีมาตรการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยวิธีต่างๆ เช่น เขื่อนกันคลื่นแบบต่างๆ เขื่อนกันตะกอนปากร่องน้ำ กำแพงกันคลื่นแบบต่างๆ การปักแนวไม้ไผ่กันคลื่น แนวกระสอบทรายกันคลื่น นั้นพบว่าการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณแนวใกล้โครงสร้างเหล่านั้นลดความรุนแรงลงได้บ้างในหลายแห่งการกัดเซาะดูเหมือนจะหยุดและดีขึ้นบ้าง
แต่พบว่าการกัดเซาะยังมีความรุนแรงต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบริเวณพื้นท้องทะเลนอกชายฝั่งออกไป สถานการณ์การกัดเซาะทำให้พื้นท้องทะเลถูกกัดเซาะลึกขึ้น 1-2 เมตรและบางแห่งมีการกัดเซาะชายฝั่งพื้นท้องทะเลลึกมากกว่า 4 เมตร
sea

ปัจจุบันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอยู่ในขั้นวิกฤติรุนแรงมากขึ้น ทำให้ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาพื้นที่ริมชายฝั่งทะเลทั่วประเทศถูกน้ำทะเลกัดเซาะลึกเข้ามาตั้งแต่ 50 เมตรถึงมากกว่า 1 กิโลเมตร ประเทศไทยเสียพื้นที่ริมชายฝั่งทะเลจากปัญหาการกัดเซาะทั้งสิ้น 79,725 ไร่ทั่วประเทศ และทำให้สูญเสียบริเวณพื้นที่ชายหาดโคลน ชายหาดทรายและสันทรายใต้น้ำอีกประมาณ 227,937 ไร่ทั่วประเทศ

ศ.ธนวัฒน์ กล่าวทิ้งท้ายว่าสถานการณ์การกัดเซาะประเทศมีความรุนแรงมากขึ้น เสนอแนะให้รัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบดำเนินการดังต่อไปนี้:

1) สถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งประเทศมีความรุนแรงมาก ควรบรรจุปัญหานี้เป็นวาระแห่งชาติให้มีการแก้ไขโดยเร่งด่วน และให้ยกประเด็นการกัดเซาะชายฝั่งไว้ในประเด็นปฎิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติในการแก้ไขปัญหาในระยะยาว 20 ปีต่อไป
บาร์ไลน์ฐาน

2) ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงอย่าง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช) กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เร่งการปฎิรูปองค์กรและยกเครื่ององค์ความรู้ด้านการกัดเซาะชายฝั่งทั้งระบบ ให้สามารถเป็นเสาหลักในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถบูรณาการในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานอื่นได้

3) ขอให้นักวิชาการและที่ปรึกษาของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ลดการสร้างความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ลดการมุ่งโจมตีหน่วยงานอื่นๆที่มีหน้ารับผิดชอบการแก้ไขปัญหาการกัดเชาะชายฝั่งด้วยกัน อันจะก่อให้เกิดความสับสนของประชาชนในมาตรการของรัฐที่ไม่มีเอกภาพในการแก้ไขปัญหาประเทศทั้งระบบ

4) ขอให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงาน มีแผนงานบูรณาการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศร่วมกันแบบมีเอกภาพ โดยใช้ข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้องและเชื่อถืออ้างอิงได้ สามารถลดความเสียหายทั้งระยะสั้นและระยะยาวของประเทศได้ต่อไป

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว