BPP ลุยพลังงานทดแทน ตั้งเป้าผลิต 1,000 เมกะวัตต์ในญี่ปุ่น

09 ธ.ค. 2560 | 04:42 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ที่แยกออกมาดำเนินงานด้าน ธุรกิจไฟฟ้า และพัฒนาพลังงานทดแทน ปัจจุบันมีโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหมด 27 โครงการ แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว 14 โครงการ และอยู่ระหว่างการพัฒนา 13 โครงการ ในประเทศไทย, สปป.ลาว, จีน และญี่ปุ่น

สำหรับกำลังการผลิตตามสัดส่วนการลงทุนจากโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วรวมอยู่ที่ 2,068 เมกะวัตต์เทียบเท่า โดยมาจากโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป 1,903 เมกะวัตต์เทียบเท่า และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 165 เมกะวัตต์ ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ที่ BPP ให้ความสำคัญก็คือการขยายโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในประเทศญี่ปุ่น

[caption id="attachment_201091" align="aligncenter" width="449"] นายวรวุฒิ ลีนานนท์ นายวรวุฒิ ลีนานนท์[/caption]

**เดินเครื่องลงทุนญี่ปุ่น
โดยระหว่างวันที่ 17-21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา BPP ได้นำคณะสื่อมวลชม ติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานในญี่ปุ่น

นายวรวุฒิ ลีลานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BPP กล่าวว่า บริษัทได้เข้ามาลงทุนในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์ฟาร์ม ปัจจุบันบริษัทมีโครงการที่ได้ตกลงทำสัญญา ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนารวมทั้งหมด 233เมกะวัตต์ รวม 13 โครงการ โดย 3 โครงการแรก ได้แก่ โครงการโอลิมเปีย, โครงการฮิโนะ และโครงการอวาจิ จิ รวมกำลังผลิต 12.7 เมกะวัตต์ ได้เริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์หรือซีโอดีแล้ว

ส่วนอีก 10 โครงการอยู่ระหว่างทำการก่อสร้างและพัฒนา ซึ่งจะทยอยซีโอดีในช่วงปี 2561-2563 กำลังการผลิตรวม 118.65 เมกะวัตต์ รวมทั้งโครงการยามางาตะ ไออีเดะ กำลังการผลิตตามสัดส่วนถือหุ้น 51% คิดเป็น 102 เมกะวัตต์ จากกำลังการผลิตทั้งหมด 200 เมกะวัตต์ที่จะซีโอดีในปี 2566 และยังมี อีกหลายโครงการที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ได้บรรลุข้อตกลงเซ็นสัญญา

โดยบริษัทตั้งเป้าภายในปี 2568 จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าของโครงการในประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งสิ้น 1,000 เมกะวัตต์ จากเป้าหมายกำลังการผลิตรวมที่ 4,300 เมกะวัตต์

tp9-3320-a **ต่อยอดพลังงานรูปแบบอื่น
นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนรูปแบบอื่น นอกเหนือจากโซลาร์ฟาร์ม โดยศึกษาการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลในญี่ปุ่น หลังจากมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ และภาครัฐญี่ปุ่นได้ส่งเสริมการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง แต่ยังต้องรอการไฟฟ้าญี่ปุ่นเปิดให้เข้ายื่นเสนอโครงการ

อีกทั้ง บริษัทยังสนใจต่อ ยอดธุรกิจพลังงานทดแทนในญี่ปุ่นในลักษณะการขายไฟฟ้าให้กับประชาชนโดยตรง (Energy Trading) จากปัจจุบันที่บริษัทผลิตไฟฟ้าและขายไฟผ่านการไฟฟ้าญี่ปุ่น ซึ่งการต่อยอดในธุรกิจ Energy Trading ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษากฎเกณฑ์ต่างๆ ของทางการญี่ปุ่น

“ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทสร้างการเติบโตในญี่ปุ่น เพราะกลุ่มบ้านปูมีกลยุทธ์กระจายการลงทุนทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในระยะยาว และมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีกับประเทศญี่ปุ่นมากกว่า 20 ปี ในขณะเดียวกันรัฐบาลญี่ปุ่นเอง มีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนอื่นๆ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศ และลดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ โดยมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนอื่นๆ เป็น 24% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าในปี 2573 โดยบริษัทมองว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการลงทุนด้านพลังงานทดแทน และมั่นใจว่าโครงการต่างๆของ BPP ในญี่ปุ่นจะสามารถเปิดดำเนินการได้ตามกรอบเวลาที่วางไว้”

**รายได้ปี60เกิน9.81พันล.
นายวรวุฒิ กล่าวอีกว่า สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2561 นั้น คาดว่ารายได้จะสูงขึ้นจากปี 2560 ตามกำลังการผลิตไฟฟ้าในจีนและญี่ปุ่นที่เตรียมซีโอดีเพิ่ม กำลังการผลิตรวม 96 เมกะวัตต์ ทำให้ในปีหน้าบริษัทจะมีโรงไฟฟ้าที่ซีโอดี แล้วเพิ่มเป็น 2,160 เมกะวัตต์ จากปีนี้อยู่ที่ 2,079 เมกะวัตต์ โดยมีโรงไฟฟ้าที่ญี่ปุ่น 3 โครงการ กำลังผลิตรวม 44.5 เมกะวัตต์ และโครงการล่วนหนาน เฟส 2 ในจีนที่จะซีโอดีรวม 52 เมกะวัตต์ ขณะที่โรงไฟฟ้าหงสาสามารถรักษาอัตราการจ่ายไฟฟ้า (EAF) ดีขึ้นมาที่สูงกว่า 82% ตั้งแต่ไตรมาส 3/2560

“บริษัทมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ในมือรวม 2,790 เมกะวัตต์ ซึ่งซีโอดีแล้ว 2,070 เมกะวัตต์ และอยู่ระหว่างก่อสร้าง 721 เมกะวัตต์ โดยจะทยอย COD ครบทั้งหมดในปี 2566 อีกทั้งปัจจุบันบริษัทยังอยู่ระหว่างพิจารณาลงทุนเพิ่มในสปป.ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น โดยเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน โรงไฟฟ้าถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และชีวมวล เพื่อบรรลุเป้าหมายกำลังการผลิตที่ตั้งไว้ 4,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568” ส่วนรายได้ในปี 2560 คาดว่าจะสูงกว่าปีก่อนที่มีรายได้ 9.81 พันล้านบาท”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,320 วันที่ 7 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว