กรมชลฯประสานกองทัพเรือนำเรือผลักดันน้ำเร่งระบายน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลให้เร็วขึ้น

24 ต.ค. 2560 | 10:42 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

กรมชลประทานประสานกองทัพเรือ นำเรือผลักดันน้ำเร่งระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลให้เร็วขึ้น

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ภายหลังจากที่กรมชลประทาน ได้ทยอยเพิ่มปริมาณน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จากเดิม 2,600 เป็น 2,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(ลบ.ม./วินาที) ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวานนี้(23 ต.ค. 60) มาจนถึงเช้าวันนี้(24 ต.ค. 60) มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,697 ลบ.ม./วินาที ซึ่งหลังจากนี้จะคงปริมาณน้ำให้อยู่ในอัตราไม่เกิน 2,700 ลบ.ม./วินาที ต่อเนื่องไปอีก 1 สัปดาห์ พร้อมกับบริหารจัดการน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านเขื่อน โดยการแบ่งรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมกันประมาณ 768 ลบ.ม.ต่อวินาที พร้อมกับรับน้ำเข้าไปเก็บกักไว้ในพื้นที่ลุ่มต่ำ 12 ทุ่ง ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 1,347 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ยังคงปิดการระบาย
จากการติดตามระดับน้ำบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา พบว่าบริเวณจ.ชัยนาท มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 22 เซนติเมตร บริเวณ จ.สิงห์บุรีไปจนถึงจ.อ่างทอง เพิ่มขึ้น 7 เซนติเมตร ส่วนบริเวณบ้านป้อม บ้านบางหลวงโดด และอ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำทรงตัว โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านบริเวณอ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ในอัตรา 2,882 ลบ.ม./วินาที(ปริมาณน้ำสูงสุดที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรับได้ 3,500 ลบ.ม./วินาที) ในขณะที่ในช่วงวันที่ 23 - 27 ต.ค. 60 ยังคงได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง

อ๊ายยยขายของ-7-1 กรมชลประทาน จึงได้เร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด โดยได้รับการสนับสนุนเรือผลักดันน้ำ 7 ลำ และเรือหลวงมารวิชัย 1 ลำ จากกองทัพเรือ นำมาติดตั้งในบริเวณคลองลัดโพธิ์ จ.สมุทรปราการ เพื่อเร่งระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ฯในช่วงที่น้ำลง ให้ออกสู่ทะเลได้เร็วขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้รับการสนับสนุนเรือผลักดันน้ำจากกองทัพเรือมาแล้ว 55 ลำ ติดตั้งในแม่น้ำท่าจีนบริเวณจ.สมุทรสาคร พร้อมกับเครื่องผลักดันน้ำของกรมชลประทานอีก 53 เครื่อง ติดตั้งในแม่น้ำท่าจีนบริเวณจ.นครปฐม เพื่อเร่งระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลได้ เร็วขึ้น นอกจากนี้ กรมชลประทาน ยังได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 12 เครื่อง ในบริเวณไซฟ่อนพระธรรมราชา ไซฟ่อนพระอินทราชา คลองเปรมประชากร ประตูระบายน้ำคอกกระบือ ประตูระบายน้ำบางน้ำจืด และบริเวณท้ายท่อระบายน้ำ บึงฝรั่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำลงสู่ทะเลให้เร็วขึ้นเช่นกัน หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มในพื้นที่ตอนบน สถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะเริ่มคลี่คลายตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมและทยอยเข้าสู่สภาวะปกติภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ปัจจุบัน(24 ต.ค. 60)มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 58,953 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 83 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด เป็นน้ำใช้การได้ 35,427 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 75 สามารถรองรับน้ำได้อีก 12,427 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลักมีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 20,292 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 82 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด มีปริมาณน้ำใช้การได้ 13,596 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 75 สามารถรองรับปริมาณน้ำได้รวมกันอีกกว่า 4,617 ล้าน ลบ.ม. เพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึงนี้ e-book-1-503x62