ส.ส.ท.ลั่นพร้อมผลักดันเยาวชนจากการแข่งขันหุ่นยนต์ สู่ระดับสากล

19 มิ.ย. 2560 | 10:25 น.
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาในเรื่องเทคโนโลยีของหุ่นยนต์ให้แก่เยาวชนไทย ทั้งในระดับอุดมศึกษาและมัธยมศึกษา ผ่านการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 ประเภทการแข่งขัน คือ การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย (ระดับอุดมศึกษา) การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท.-สพฐ. ยุวชน (ระดับมัธยมศึกษา) และการแข่งขัน TPA PLC Competition (ระดับอุดมศึกษา) และรางวัลประกวดกองเชียร์ เพื่อสร้างสีสันและกำลังใจให้แก่ทีมต่างๆ ที่เข้าร่วมการแข่งขัน

ภาพ 1 เกม Battle BallZ Robot และการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ประจำปี 2560 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17-16 มิถุนายน 2560 ณ เอ็ม ซี ซี ฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ได้ปิดฉากลงเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับความสำเร็จของทั้งผู้จัดและนิสิต นักศึกษา นักเรียน ทุกโรงเรียน ทุกสถาบันที่เข้าร่วมการแข่งขัน

ภาพ 2 การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ตลอดระยะเวลา 24 ปีของการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ระดับอุดมศึกษา 17  ปี ในระดับยุวชน และ 12 ปี ในประเภทการแข่งขัน TPA PLC Competition ส.ส.ท. ได้สร้างสีสันและเกมการแข่งขันหุ่นยนต์ที่ท้าทายความสามารถของเหล่านิสิตนักศึกษา นักเรียน มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เยาวชนรู้จักการทำงานเป็นทีมและนำความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา มาใช้ให้เกิดประโยชน์และการที่เยาวชนได้ร่วมกันคิด ร่วมกันประดิษฐ์ ร่วมกันแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่มากไปกว่านั้น คือ การแสดงออกซึ่งความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาด้วยการจับมือแสดงความยินดีกับผู้ชนะนั้น สร้างความน่าชื่นชมและถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์

ภาพที่ 1 การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. PLC ชิงแชมป์ประเทศไทย การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2560 มีนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ34 สถาบัน 51 ทีม ให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งทาง ส.ส.ท. ได้จัดการแข่งขันเพื่อเฟ้นหาแชมป์หนึ่งเดียวของไทยในระดับอุดมศึกษา ภายใต้เกมการแข่งขัน “ยุทธการจานบิน (The Landing disc)” โดยในปี 2560 (ค.ศ. 2017) นี้ เป็นปีที่จะก้าวสู่ 2 ทศวรรษของการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia-Pacific Robot Contest (ABU Robocon) ซึ่งประเทศญี่ปุ่น ผู้ถือกำเนิดการแข่งขันได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันอีกครั้ง และได้นำเอาแรงบันดาลใจจากเกมการละเล่นพื้นบ้านโบราณของประเทศญี่ปุ่นอย่าง Tosenkyo มาใช้เป็น Theme การแข่งขัน บางส่วนได้ถูกประยุกต์ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้หุ่นยนต์ ผู้ใดเอาชนะใจตนเองและเอาชนะใจผู้อื่นได้ ผู้นั้นจะเป็นผู้ชนะ นั่นคือหัวใจของเกมการแข่งขันนี้

ภาพที่ 1 เกม ROBO Rescue หรือ หุ่นยนต์กู้ภัย การแข่งขันจะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ สีแดงและสีน้ำเงิน การแข่งขันจะใช้เวลาทั้งหมด 3 นาที ทีมเข้าแข่งขันแต่ละทีมสร้างหุ่นยนต์ในระบบบังคับด้วยมือ (Manual Robot) หรือ ระบบอัติโนมัติ (Automatic Robots) ก็ได้ เพื่อนำภารกิจร่อน flying disc ให้ไปวางไว้บนเสา ทีมใดมี flying disc อยู่บนเสามากที่สุดถือว่าเป็นผู้ชนะ

ภาพหมู่ทุกรางวัล จาก 58 ทีมสมัครเข้ามา ได้แข่งขันรอบคัดเลือกให้เหลือ 32 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาชิงชัยกันในรอบนี้ ค่อนข้างจะดูยากสักหน่อยว่าทีมใดจะป็นผู้ชนะ และจาก 32 ทีม ต้องคัดเลือกให้เหลือ 16 ทีมสุดท้าย แต่ยิ่งทีมเหลือน้อยลงเท่าไร การฉายแววความเก่งก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่เก่งอย่างเดียว ต้องพกความ “เฮง” มาด้วย ว่าใครจะเป็นเจ้าแห่งการร่อน flying disc และเราก็ได้ผู้ชนะที่ได้สำเร็จ คว้ารางวัลถ้วยรางวัลพระราชทานไปครอง นั่นคือ ทีม V-BOT YAMO ALL NEW จากมหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา

จะได้แชมป์จาก ส.ส.ท. ไปแล้วก็ตามแต่ก็ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะ 8 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบมา จะต้องเข้าร่วมชิงชัยกับอีก 8 ทีมสุดท้ายจากระดับอาชีวศึกษา ในการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU Robot Contest Thailand 2017 จัดโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และผู้ที่ชนะเลิศการแข่งขัน ABU Robot Contest Thailand 2017 จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขัน ABU ROBOCON 2017 ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ

ปีนี้จัดการแข่งขันภายใต้ชื่อเกม “TPA Robo's Basketball Competition 2017” หรือหุ่นยนต์ชู้ตบาส กีฬาระดับโลก ที่สร้างความตื่นเต้นและสนุกสนาน เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาที่มีความรู้ด้าน PLC (Program Logic Controller) ได้นำความรู้ทางด้านทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการควบคุมกลไกนำไปสู่การประดิษฐ์หุ่นยนต์ ให้สามารถเลียนแบบลักษณะการเคลื่อนไหวของมนุษย์ สำหรับการแข่งขันนี้ทีมที่เข้าแข่งขันจะต้องประดิษฐ์หุ่นยนต์ด้วยโปรแกรม PLC ให้สามารถชู้ตลูกบบาสลงห่วงให้ได้ ความสนุกสนานของเกมนี้อยู่ที่การปล่อยลูกบาสและการคำนวนระยะเพื่อให้ลูกบาสชู้ตเข้าแป้นอย่างแม่นยำ ฝ่ายใดจะชู้ตลูกบาสลงห่วงได้มากกว่า แม่นยำกว่าและความเฮงของใครจะมากกว่ากัน ในที่สุดเราก็ได้ทีมที่สามารถโปรแกรมหุ่นยนต์ได้แม่นยำคว้าแชมป์การแข่งขัน  TPA Robo's Basketball Competition 2017” ไปครอง นั่นคือ ทีม Exprosion 2 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

ที่สนามหุ่นยนต์ยุวชนระดับมัธยมศึกษา ปีนี้เรียกความสนใจจากผู้ชมได้มากเลยทีเดียว ถึงขนาดมุงดูกันรอบสนามการแข่งขันเลยทีเดียว ที่สนามนี้ต้องถูกมุงดูอย่างมากมายนั้น ก็เพราะทั้งการแข่งขัน Robo Rescue หรือหุ่นยนต์กู้ภัย ซึ่งใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติที่มีล้อ ให้นักเรียนผู้เข้าแข่งขันทำการโปรแกรมหุ่นยนต์ให้สามารถปฏิบัติภารกิจที่กำหนด ภายใต้สถานการณ์และสิ่งแวดล้อมสมมติ โดยหุ่นยนต์ต้องเคลื่อนที่อย่างอัตโนมัติเพื่อหลบหลีกสิ่งกีดขวาง สร้างเส้นทางเพื่อทำการช่วยผู้ประสบภัยให้ปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ

ภารกิจของการแข่งขัน คือ หุ่นยนต์ต้องพยายามเคลื่อนที่ไปตามห้องต่างๆ เพื่อที่จะทำภารกิจต่อไป คือ การบรรจุถุงยังชีพเพื่อค้นหาผู้ประสบภัย และเคลื่อนที่ในแต่ละจุดจะมีหลุดอันตรายซึ่งหากหุ่นยนต์ตกลงในหลุมนั้นถือว่าจบการแข่งขันทันที  ซึ่งทีมใดฝ่าฟันภารกิจช่วยผู้ประสบภัยครบทุดจุด ถือเป็นการเสร็จสิ้นภารกิจ เป็นผู้ชนะในการแข่งขันไปเลย ซึ่งทีมที่เป็นผู้ชนะได้แก่ ทีม RK Robot จากโรงเรียนร่องคำ จังหวัดกาฬสินธิ์

และการแข่งขัน Battle BallZ Robot หรือหุ่นยนต์ยิงลูกบอลประจัญบาน เป็นการแข่งขันหุ่นยนต์กึ่งอัตโนมัติควบคุมด้วยรีโมตคอนโทรลไร้สาย เพื่อเคลื่อนที่นำลูก Floorball เข้าประตูฝ่ายตรงข้าม ทีมที่จะเป็นหุ่นยนต์เจ้าสนามจะต้องนำลูก Floorball เข้าประตูฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากที่สุด จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนี้ ซึ่งทีมที่เป็นผู้ชนะได้แก่ ทีมจากโรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพมหานคร

จากการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ทุกประเภท นักเรียนและนิสิต นักศึกษา ทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันต่างรู้สึกว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่หาได้ยากและได้เปิดโอกาสให้กับตนเองในหลายๆ ด้าน เช่น ความคิด ความสามารถ ประสบการณ์ ซึ่งจะสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตของตนเองและถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้ น่าประทับใจกับความคิดเล็กๆ ที่เริ่มเจริญงอกงาม อันนำไปสู่การขยายความคิดของการแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายต่อไปในอนาคต แต่เหนือสิ่งอื่นใดการแข่งขันในครั้งนี้ และทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา เราได้เห็นและชื่นชมความสามารถของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ร่วมแรง ร่วมใจ ผสานกันเป็นหนึ่งเดียว พร้อมทั้งได้รับมิตรภาพที่ดีจากทีมผู้เข้าแข่งขันด้วยกัน และกลับมาพบกับพวกเขาเหล่านี้ได้อีกครั้งใน “การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ประจำปี 2561”