พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ทางรอดประเทศวิกฤตพลังงาน

08 ส.ค. 2565 | 04:50 น.

บทบรรณาธิการ

วิกฤตราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่สร้างผลกระทบไปทั่วโลกจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น กระทบต่อค่าครองชีพของประชากรในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะไทยเองที่ต้องเผชิญกับราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก เพราะต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากไม่มีแหล่งพลังงานที่ใหญ่พอจะพึ่งพาตัวเองได้
 

การพึ่งพาแหล่งพลังงานจากต่างประเทศ ที่ไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบกว่า 8-9 แสนบาร์เรลต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจีในรูปแบบราคา Spot ที่วันนี้ 52 ดอลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียูแล้ว เมื่อเกิดวิกฤตราคาพลังงานของโลก ย่อมส่งผลกระทบมาถึงโดยตรงกับค่าครองชีพ จากต้นทุนการผลิตสินค้า ค่าขนส่ง ตลอดจนต้นทุนค่าเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าสูงขึ้นตาม ซึ่งปัจจุบัน 
 

ดังนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่รัฐบาลของ พ.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้องเร่งจัดหาแหล่งพลังงานของไทยเอง เพื่อรับมือกับวิกฤตด้านพลังงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากขณะนี้ไทยกำลังเผชิญความเสี่ยงทั้งการจัดหาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และจากแหล่งในเมียนมา ที่นับวันปริมาณการผลิตลดลงเรื่อยๆ สะท้อนจากการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีในรูปราคา Spot เพิ่มขึ้นทุกปี (ปัจจุบัน ราว 4 ล้านตันต่อปี) 
 

ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจาก๊าซธรรมชาติราว 58.6 % ในส่วนนี้ผลิตได้เองในอ่าวไทยปริมาณก็ลดลงเหลือ 45% นำเข้าจากเมียนมา 20 % และนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีพุ่งถึง 35 %  
 

เมื่อราคาแอลเอ็นจีผันผวนปรับตัวสูงขึ้นมาก ได้ส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากปัจจุบันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต้องแบกรับภาระค่าเอฟทีไว้ราว 1 แสนล้านบาท ทำให้รอบเดือนกันยายน-ธันวาคมนี้ ต้องปรับขึ้นค่าเอฟทีอีกราว 68.66 สตางค์ต่อหน่วย และจะทยอยปรับต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า มีโอกาสที่ค่าไฟฟ้าจะทยายขึ้นไป 6 บทต่อหน่วยได้ ซึ่งล้วนได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นไปทั้งสิ้น

ทางออกของประเทศเวลานี้ หลายฝ่ายเห็นว่า รัฐต้องเร่งจัดหาแหล่งพลังงาน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงานตลาดโลกให้เร็วที่สุด เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังานสำรองไว้สำหรับอนาคต โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อน ไทย-กัมพูชา หรือ (overlapping claims area : OCA) เพื่อนำก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูกขึ้นมาใช้แทนการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี ที่มีราคาแพงมาผลิตไฟฟ้า เพื่อให้ราคาค่าไฟฟ้าถูกลง ลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน และยังสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ในการดึงดูดนักลงทุนเข้ามาลงทุนได้อีกทางหนึ่ง  
 

ดังนั้น รัฐบาลควรจะใช้จังหวะนี้ บรรจุ OCA เข้าไปอยู่ในการจัดทำแผน ของคณะกรรมการเฉพาะกิจ (คณะทำงาน) เพื่อติดตามและวิเคราะห์ผลกระทบ และจัดทำข้อเสนอการแก้ปัญหาทุกมิติ เพื่อจัดทำแผนรองรับทุกด้านตามวิกฤตการณ์ในอนาคต ที่นายกรัฐมนตรีจัดตั้งขึ้นมา เพื่อให้เกิดการเจรจากับทางกัมพูชาในรูปแบบการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจร่วมกันโดยเร็ว
 

เพราะที่ผ่านมารัฐบาล ได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (JTC) ไทย-กัมพูชา มี พล.อ.ประวิตร รองนายากรัฐมนตรี เป็นประธานอยู่แล้ว ก็น่าจะเปิดเวทีเจรจา นำไปสู่ความร่วมมือของทั้ง 2 สองฝ่าย ในการพัฒนาพื้นที่ OCA เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตพลังงานในระยะยาวต่อไปได้