จ้องจอดู “ซีรีย์” อย่างไร ไม่เสี่ยง กระดูกคอเสื่อม

23 ต.ค. 2566 | 05:18 น.

จ้องจอดู “ซีรีย์” อย่างไร ไม่เสี่ยง กระดูกคอเสื่อม : Tricks for Life

เชื่อหรือไม่ วันนี้มีผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาด้วยอาการปวด คอ บ่าไหล่ จำนวนมากขึ้นแบบก้าวกระโดด

เชื่อหรือไม่ ผู้มีอาการปวด คอ บ่าไหล่ อายุลดลงต่อเนื่อง

สาเหตุหลักมาจากการนั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน โดยเฉพาะกลุ่มที่นั่งดูหนัง ซีรีย์ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ

ทั้งนี้พบว่า ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ที่ใช้งานโทรศัพท์ไม่ได้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง แต่จะก้มหน้าเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานานเกิน 2 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือการดูซีรีย์ ต่างต้องใช้เวลารับชมที่ค่อนข้างนาน และอยู่ในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ยกตัวอย่างการที่เราจะดูซีรีย์ในแต่ละครั้ง ต้องใช้ระยะเวลาในการรับชมที่ค่อนข้างนาน และไม่ว่าจะอยู่ในท่านั่งหรือท่านอน

จ้องจอดู “ซีรีย์” อย่างไร ไม่เสี่ยง กระดูกคอเสื่อม

โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ ต่างก็ทำให้ร่างกายเกิดอาการปวดขึ้นได้จากท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เซลล์อักเสบเกิดขึ้นจนร่างกายเริ่มหาตัวช่วย โดยการดึงเอาแคลเซียมที่อยู่ในเลือดเข้ามารักษาในบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บ เมื่อเราอยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถจนเป็นพฤติกรรมที่เคยชิน ส่งผลทำให้เกิดโรคกระดูกคอเสื่อมตามมา

ข้อแนะนำ หากจำเป็นต้องดูหนังหรือซีรีย์ มีดังนี้

1.ควรดูผ่านโทรทัศน์จะดีกว่าโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต หากเลี่ยงไม่ได้ อาจต้องเสริมด้วยการใช้แท่นวางโทรศัพท์ หรือถือโทรศัพท์ให้อยู่ในระดับสายตาที่สามารถมองเห็นได้สะดวก โดยไม่ต้องก้มศีรษะ เพื่อลดแรงกระทำต่อกระดูกสันหลังบริเวณคอ

จ้องจอดู “ซีรีย์” อย่างไร ไม่เสี่ยง กระดูกคอเสื่อม

2.ควรนั่งหลังตรง โดยมีพนักพิงหลังหรือศีรษะ ก็จะช่วยลดแรงที่กระทำต่อกระดูกสันหลังได้มากขึ้น แต่ถึงแม้จะปรับเปลี่ยนอิริยาบถที่ถูกต้องแล้วก็ตาม การนั่งก้มดูโทรศัพท์เป็นเวลานานเกิน 2 ชั่วโมงนั้นก็ยังมีโอกาสทำให้เกิดอาการปวดคอได้เช่นกัน

3.ควรลุกขยับตัว หรือเปลี่ยนท่าทางขณะรับชมบ้าง และไม่ควรอยู่กับที่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน

4.ควรพักสายตาทุก 30-40 นาที โดยมองออกไปทางอื่น หรือวางแผนการรับชมซีรีย์ตามที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

จ้องจอดู “ซีรีย์” อย่างไร ไม่เสี่ยง กระดูกคอเสื่อม

เมื่อใดก็ตาม เมื่อรู้สึกปวดบริเวณคอแบบเป็นๆ หายๆ หรือปวดคอเรื้อรัง ถึงแม้จะได้รับการรักษาโดยการรับประทานยา หรือกายภาพบำบัดมาแล้วก็ตาม แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นร่วมกับมีอาการปวดคอร้าวลงแขน ปวดต้นคอท้ายทอยร้าวขึ้นศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้บ่งชี้ว่าไม่ใช่แค่อาการปวดธรรมดา แต่ร่างกายอาจส่งสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคกระดูกคอเสื่อม ดังนั้นจึงควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังเพื่อวางแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ขอบคุณ : โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,933 วันที่ 22 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566