ปิดตำนาน "สถานีหัวลำโพง" 23 ธ.ค.นี้

18 พ.ย. 2564 | 06:55 น.

ล่าสุดกลายเป็นกระแสดราม่าถึงกรณี การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมปิดสถานีหัวลำโพงและหยุดให้บริการรถไฟเข้าขบวนที่สถานีดังกล่าวนั้น โดยจะให้สถานีบริการสถานีสุดท้ายที่ "สถานีกลางบางซื่อ"

"สถานีหัวลำโพง" ถือเป็นแลนด์มาร์กด้านการท่องเที่ยวที่เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาใช้บริการและการเดินทางของประชาชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประวัติเรื่องราวมากมายที่ทำให้คนในชุมชนกลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ในสถานีแห่งนี้ รวมทั้งบรรยากาศการค้าขายบริเวณภายในสถานีฯตลอดจนการค้าขายริมทางรถไฟ ซึ่งเป็นสีสันและเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้

 

 

ขณะเดียวกันการเดินทางของสถานีหัวลำโพง ถือเป็นแนวเส้นทางที่ตอบโจทย์ประชาชนที่สุด เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางที่ประชาชนเลือกใช้บริการมานาน ซึ่งประหยัดค่าเดินทางด้วยอัตราค่าโดยสารที่สามารถเข้าถึงได้ รวมทั้งประชาชนส่วนใหญ่ที่อยู่ในแถบชานเมืองต้องเดินทางทำงานโดยใช้บริการสถานีหัวลำโพงเป็นประจำทุกวัน หากต้องเดินทางไปขึ้นรถไฟที่สถานีกลางบางซื่อต้องเสียค่าเดินทางขึ้นรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินถึง 42 บาท ขณะที่ขึ้นรถไฟจากสถานีหัวลำโพงเริ่มต้นเพียงแค่ 2 บาทเท่านั้น อาจทำให้ประชาชนที่ใช้บริการออกมาต่อต้านกับนโยบายดังกล่าวได้ เพราะได้รับผลกระทบจากการเดินทางที่ลำบากมากขึ้นและต้องเสียค่าใช้จ่ายขึ้นรถไฟฟ้าที่มีราคาแพงโดยไม่จำเป็น

 

 

 

การหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงในครั้งนี้ถือเป็นการหยุดขบวนการทำลายประวัติศาสตร์ของการรถไฟฯ" โดยกิจการรถไฟไทย หรือ "กรมรถไฟหลวง" ได้ก่อกำเนิดขึ้นนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 "พระปิยมหาราช" ซึ่งเกิดขึ้นจากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ ท่าน โดยมีประกาศพระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยามตั้งแต่ กรุงเทพฯ ถึงเมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคม ทางรถไฟ เพื่อให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นหน่วยงานเพียงหน่วยงานเดียว ที่พระองค์ท่านทรงเสด็จมากระทำพระฤกษ์ แซะดิน ตอกหมุด ตรึงรางรถไฟ ด้วยพระองค์เอง

 

 

 

 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2434 ซึ่งทรงมีพระราชดำรัสว่า "เรา รู้สำนึกแน่อยู่ว่าธรรมดาความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนย่อมอาศัยถนนหนทางไปมากันเป็นใหญ่เป็นสำคัญ ได้เร็วขึ้นเพียงใด ก็เป็นการขยายชุมชนให้ไพศาลยิ่งขึ้นเพียงนั้นเราจึงได้อุตส่าห์คิดจะทำทางรถไฟให้สมกำลังบ้านเมือง"

ต่อมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439 พระองค์ทรงเสด็จมาในพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟปฐมฤกษ์ จากสถานีกรุงเทพ ถึงสถานีอยุธยา คือการเดินรถไฟสายแรกเพื่อให้กิจการรถไฟฯจารึกไว้ใน ประวัติศาสตร์แผ่นดินสยาม เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นสัญลักษณ์แห่งการนำพาสยามสู่ยุคแห่ง การพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างความเจริญเท่าเทียมนานาอารยประเทศ อันนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของ คนไทยเป็นอย่างยิ่ง ที่ทำให้ประเทศรอดพ้นจากการถูกยึดครองจากชาติมหาอำนาจตะวันตกในยุคล่า อาณานิคม

 

 

 สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เริ่มก่อสร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2453 ก่อสร้าง แล้วเสร็จ และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ทรงกระทำพิธีกดปุ่มสัญญาณฟฟ้าให้รถไฟขบวนแรกเดินเข้าสู่สถานีหัวลำโพง เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2459 สถานีหัวลำโพงจึงเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญยิ่งในการเดินทางของประชาชนด้วยขบวนรถไฟ เป็นสถานีจุดเริ่มต้นและปลายทางในการเดินทาง เป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของ ประเทศไทยที่อยู่เคียงคู่กันโดยไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และเป็นสัญลักษณ์แห่งพระอัจฉริยะภาพ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทาน "กิจการรถไฟหลวง" ให้กับพสกนิกรชาว ไทยทุกหมู่เหล่าได้ใช้ประโยชน์อย่างถ้วนหน้า สร้างความเจริญและโอกาสให้กับประเทศไทยมาจนถึง

 

 

 

 ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนหลังจากเป็นประธานการประชุมติดตามนโยบายแนวทางการพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) และแนวทางการพัฒนาตลอดแนวเส้นทางรถไฟบางซื่อ - หัวลำโพง ด้วยApolication "ZOOM"ว่าหลังจากที่ได้มีการเปิดใช้งานสถานีกลางบางชื่อเต็มระบบเพื่อเป็นศูนย์กลาง คมนาคมให้รฟท.เร่งพิจารณาแนวทางการหยุดให้บริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงภายในวันที่ 23 ธ.ค.นี้โดยขบวนรถไฟทั้งหมดจะสิ้นสุดที่สถานีกลางบางซื่อแทน เพื่อให้มีความชัดเจนในการเริ่มพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีหัวลำโพง

 

 

 

 

ไม่เพียงเท่านั้น "คมนาคม" ยังคงเดินหน้ายืนยันที่จะปิดสถานีหัวลำโพง โดยไม่สนคำทัดทานจากประชาชนที่ใช้บริการ สร้างความไม่พอใจให้กระแสชาวโซเชียลที่ใช้บริการสถานีหัวลำโพงไม่น้อย โดยส่วนใหญ่ระบุว่าการปิดสถานีหัวลำโพงนั้นถือเป็นการผลักภาระให้ประชาชนที่อยู่ในแถบชานเมืองในการเดินทางและไม่สนใจเสียงเรียกร้องจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหากต้องเดินทางด้วยรถไฟสายสีแดง

ปัจจุบันรฟท.ยังคงให้บริษัทเอสอาร์ที เอสเสท จำกัด หรือบ.ลูกของรฟท.เดินหน้าพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีหัวลำโพง 120 ไร่ เพื่อนำมาเสนอต่อนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอีกครั้งก่อนที่จะมีการปิดให้บริการสถานีหัวลำโพง

 

 

 

 สำหรับแผนพื้นที่จำนวน 120 ไร่ แบ่งเป็น 5 โซน

 

โซนA 16 ไร่ เป็นอาคารสถานีหัวลำโพงและพื้นที่สาธารณะ โ

 

โซนB13 ไร่ มีแผนปรับปรุงอาคารให้เป็นไปตามแนวทางอนุรักษ์

 

 

โซน C 22 ไร่ พื้นที่โรงซ่อมรถราง กำหนดเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่กิจกรรม เน้นพื้นที่สีเขียว มีต้นแบบจากเวนิส อิตาลี 

 

โซนD 49 ไร่ พื้นที่ชานชาลา,เส้นทางทางรถไฟ,ย่านสับเปลี่ยนการเดินรถ มีแผนพัฒนาเป็นรูปแบบมิกซ์ยูส โรงแรม อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัยคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า โดยยึดต้นแบบ โตเกียว มิดทาวน์

 

 โซนE 20 ไร่ อาคารสำนักงาน รฟท. ตึกคลังพัสดุเดิม มีแผนพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์กิจกรรม โดยยึดต้นแบบโครงการ Suzhou Creek เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน 

 

 

 

 ที่ผ่านมานายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า นโยบายของกระทรวงคมนาคม ต้องการให้ภายหลังเปิดสถานีกลางบางซื่อในเดือน พ.ย. 2564 จะปิดให้บริการที่สถานีหัวลำโพง ตามหลักการจะไม่มีรถโดยสารเข้าไปถึงสถานีหัวลำโพงเดือน พ.ย. 2564 แต่เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในเรื่องโรงซ่อม การเติมน้ำมันรถจักร ที่ยังต้องเข้ามาที่สถานีหัวลำโพงจะปรับเวลาให้เข้ามาได้ช่วงเวลา 22.00-04.00 น. เพื่อไม่ให้กระทบต่อการจราจรบริเวณจุดตัดกับถนนตามนโยบาย

 

 

 

 

 ทั้งนี้รฟท.ได้มีการปรับแนวเส้นทางรถไฟที่ให้บริการแล้วพบว่า รถไฟสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ สามารถปรับแผนการเดินรถเข้าสถานีกลางบางซื่อได้ ขณะที่เส้นทางสายตะวันออกยังมีปัญหาเล็กน้อย เนื่องจากเส้นทางยังไม่เชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อ ประเมินว่ามีผู้โดยสารได้รับผลกระทบประมาณ 3,000 คนต่อวัน

 

 

 

 คงต้องจับตาดูว่าการปิดสถานีหัวลำโพงในครั้งนี้จะช่วยให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกมากขึ้นหรือเป็นการเพิ่มภาระให้ประชาชนกันแน่