วัดราชบุรณะหรือวัดเลียบ เคยเป็นที่ประทับสังฆราชถึง 2 พระองค์

19 เม.ย. 2567 | 20:50 น.

วัดราชบุรณะหรือวัดเลียบ เคยเป็นที่ประทับสังฆราชถึง 2 พระองค์ คอลัมน์ สังฆานุสติ โดย บาสก

ในการทำบุุญกุศลอุทิศให้อดีตบูรพาจารย์

วัดราชบุรณะ ราชวรวิหาร หรือวัดเลียบ ที่ตั้งเด่นเป็นแลนด์มาร์ค เชิงสะพานพุทธเมื่อวันที่ 17-18 เมษายน 2567 นั้น พบว่าในอดีตก่อนสงครามมหาเอเซียบูรพา วัดแห่งนี้จัดว่าเป็นวัดใหญ่อันดับต้นๆ ของกรุงรัตนสินทร์ เพราะเป็นที่ประทับสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์

แต่ความเป็นวัดใหญ่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้าสยาม และสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ต้องละลายไปด้วยแรงระเบิดของข้าศึก ที่ต้องการทิ้งระเบิดโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2488 เกิดพลาดเป้ามาลงวัดเลียบ วัดที่ใหญ่และงามเป็นหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงเป็นเศษอิฐ เศษปูน เสียหายเลียบ สมชื่อ

สภาพวัดเลียบ ก่อนถูกระเบิด

พุทธปรางค์ ที่รอดจากระเบิดสมัยสงครามมหาเอเซียบูรพา
 

ถาวรวัตถุที่ไม่โดนแรงระเบิดทำลาย มีเพียงพุทธปรางค์ ที่สร้างในมัย ร.3 เท่านั้น ทำให้ทุกคนที่ทราบเรื่องตระหนักถึงความอัศจรรย์ของพุทธปรางค์ จนถึงทุกวันนี้
 
เมื่อวัดที่เคยเป็นที่ประทับสังฆราช ถูกระเบิดทำลายไปแล้ว แต่เกิดเหตุประหลาดมาทำลายต่อ เมื่อมีคณะบุคคลและพระสงฆ์(บางองค์แต่มีอำนาจ) ขอให้รัฐบาลและคณะสงฆ์ในขณะนั้น ประกาศยุบวัด อ้างว่าวัดตั้งในที่ไม่เหมาะสม และยากที่จะปฏิสังขรณ์ ให้กลับคืนได้ จึงขอให้ยุบและรัฐบาลได้ประกาศวันที่ 30 กรกฎาคม 2488 ให้ยุบวัดเลียบ

ที่เหลือทั้งพระและสิ่งของที่เคลื่อนย้ายได้ให้ไปสังกัดวัดสุทัศน์ และวัดพระเชตุพนฯ
 
ในจำนวนพระวัดเลียบทั้งหลายนั้น มีพระครูปลัด ธรรมจริยวัฒน์(เชี้ยง อินทโชโต) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเลียบ ที่อดีตเจ้าอาวาส สั่งให้ดูแล เก็บส่วนที่เหลือจากระเบิด ไม่ยอมจากวัดเลียบ และมีความพยายามให้วัดกลับมาเป็นวัดดังเดิม


 

ในครั้งนี้ คุณหญิงอุไรลักษณ์ ชาญกล เข้ามาช่วยเหลือ และติดต่อกับนายควง อภัยวงศ์ ส.ส.พระนครให้ทำหนังสือถึงรัฐบาล ขอคืนฐานะเป็นวัดดังเดิม รัฐบาลเห็นชอบ จึงยกเลิกประกาศยุบวัด และอนุญาตให้บูรณะปฏิสังขรณ์ตามที่ขอมา เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2490

จากนั้น หลวงพ่อพระครูปลัดธรรมจริยวัฒน์ (เชี้ยง) จึงขอความร่วมมือจากผู้สนับสนุนให้บูรณะวัด ซึ่งมีทั้งผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน และหลวงพ่อพระครูศีลขันธโสภิต (ต่อมามีสมณศักดิ์ ที่ พระเทพคุณาธาร) เจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ เข้ามาช่วยเหลือทุกด้านด้วยความเต็มใจ

พระราชพฤฒาจารย์ (หลวงพ่อเชี้ยง) ผู้สู้ไม่ถอย รื้อฟื้นวัดเลียบ ที่เสียหายสิ้นเชิงจากระเบิด จนเป็นแลนด์มาร์ค ของ กทม.ในปัจจุบัน
 
วัดเลียบจึงกลับมางามสง่า มีพระอุโบสถทรงจตุรมุข ที่งามยิ่งทั้งทางด้านศิลปกรรม จิตรกรรมและสถาปัตยกรรรม ที่หาวัดในยุคเดียวกันเทียบยาก ส่วนพุทธปรางค์ได้รับการ บูรณะปฏิสังขรณ์อย่างต่อเนื่ิอง เป็นสัญลักษณ์ของวัดควบคู่กับพระอุโบสถทุกวันนี้ 

ในการบำเพ็ญกุศลถวายอดีตบุรพาจารย์ ทางวัดจัดตั้งพระสาทิสลักษณ์ และรูปภาพอดีตเจ้าอาวาสทั้งหมด ณ ห้องโถงโรงเรียนปริยัติธรรม ให้สักการะ
 
เจ้าอาอาวาสในอดีต 12 พระองค์/รูป มีดังนี้

สมัยกรุงธนบุรี

1 พระญาณไตรโลก 

สมัยรัตนโกสินทร์

2 พระพรหมมุนี 

3 สมเด็จพระพนรัตน์ (มี) พุทธ พ.ศ 2334 ถึง 2359 รวม 25 ปี
 
4 สมเด็จพระสังฆราช (นาค) พ.ศ 2359-2392 รวม 33 ปี 
  
5 พระธรรมวโรดม(สมบูรณ์)  พ.ศ 2392 ถึง 2415 รวม 23 ปี
  
6 พระโพธิวงศาจารย์ (ผ่อง) พ.ศ.2415 ถึง 2416 รวม 1 ปี
 
7 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง) พ.ศ 2416 ถึง 2446 รวม 30 ปี
 
8 พระราชโมลี(แจ่ม) พ.ศ 2446 ถึง 2448 รวม 2 ปี
 
9 พระธรรมดิลก (อิ่ม) พ.ศ 2448 ถึง พ.ศ 2466 รวม 18 ปี 

10 พระราชโมลี (ช้อน) พ.ศ 2466 ถึง 2468 รวม 2 ปี 

11 พระธรรมมดิลก (อิ่ม) พ.ศ 2448 ถึง 2466 รวม 18 ปี
 
12 พระราชพฤฒาจารย์ (เชียง อินทโชโต) พ.ศ 2491 ถึง  2535 รวม 45 ปี

เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน เป็นลำดับที่ 13 คือ พระธรรมวชิรนายก (ปรีชา อภิวณฺโณ ป.ธ.9) เจ้าคณะภาค 8

พระธรรมวชิรนายก (ปรีชา ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเลียบในปัจจุบัน

ในขณะเดียวกันผู้ช่วยเจ้าอาวาสรูปหนึ่งของวัดราชบุรณะ เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ในฝ่ายต่างประเทศ ได้แก่ พระเทพวชิรวิเทศ (ประเสริฐ กวิสฺสโร ปธ. 7 MA) เจ้าอาวาสวัดพุทธานุสรณ์ ซานฟรานซิสโก แคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกา และเป็นประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา อีกตำแหน่งหนึ่ง

ส่วนที่พาดหัวข่าวว่า วัดเลียบมีสมเด็จพระสังฆราช 2 พระองค์นั้น คือเจ้าอาวาส ลำดับที่ 4 สมเด็จพระสังฆราช (มี) และลำดับ ที่ 5 สมเด็จพระสังฆราช (นาค)

พระเทพวชิรวิเทศ  ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา และผจล.วัดเลียบ
 
ตามประวัตินั้น สมเด็จพระสังฆราช (มี) หรือก่อนสถาปนา และมีสมณฐานันดร ที่ผู้คนเอ่ยถึงท่านว่ามหามี เปรียญเอก 

ท่านเกิดสมัยพระเจ้าบรมโกษฐ์ เมื่อ พ.ศ. 2293 ในสมัยรัตนโกสินทร์ ท่านเป็นเปรียญเอก แห่งวัดเลียบ เมื่อเป็นเจ้าอาวาสวัดเลียบ ได้รับสมณศักดิ์ ฐานันดรสูงขึ้น ตามลำดับ จนเป็นถึง สมเด็จพระพนรัตน์ ในรัชกาลที่ 2

กาลต่อมา เมื่อสมเด็จพระสังฆราช(สุข) วัดมหาธาตุ สิ้นพระชนม์ จึงได้รับการสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 3 (พ.ศ.2359 สมัยรัชกาลที่ 2) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วทรงให้แห่มาประทับ ณ ตำหนักสมเด็จพระสังฆรราช วัดมหาธาตุ สิ้นพระชนม์ พ.ศ.2362 ในสมัยรัชกาลที่ 2

สมเด็จพระสังฆราช (มี)
 
ที่ต้องมาประทับวัดมหาธาตุนั้น สืบเนื่องจากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระสังฆราช ต้องมาประทับและบัญชาการคณะสงฆ์ ที่วัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจ ซึ่งมีสมเด็จพระสังฆราชประทับวัดมหาธาตุ 4 พระองค์ คือ

  1. สมเด็จพระสังฆราช (สุก) อยู่วัดมหาธาตุมาแต่เดิม
  2. สมเด็จพระสังฆราช(มี) วัดราชบุรณะ
  3. สมเด็จพระสังฆราช (สุข ญาณสังวร) วัดราชสิทธาราม
  4. สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดสระเกศ

ประเพณีการแห่สมเด็จสังฆราชมาประทับวัดมหาธาตุ ยุตินับแต่สมเด็จพระสังฆราชนาค ที่ประทับวัดราชบุณะ หรือวัดเลียบจนสิ้นพระชนม์

สมเด็จพระสังฆราช(นาค) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 6

ชาติภูมิไม่ทราบ นอกจากวันประสูติ

คือ 19 มีนาคม พ.ศ.2301 ในสมัยพระเจ้าเอกทัศ แห่งกรุงศรีอยุธยาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อ พ.ศ.2386 ในรัชกาลที่ 3 สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2392 ในรัชกาลที่ 3 พระชันษา 91 ปี ทรงดำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช รวม 6 ปี

เมื่อรับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช มิได้เสด็จมาประทับที่ตำหนักวัดมหาธาตุ เนื่องจากขณะนั้นวัดมหาธาตุ อยู่ระหว่างการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ดังนั้น จึงประทับ ณ วัดราชบุรณะ จนถึงสิ้นพระชนม์ 

พระอุโบสถวัดเลียบ

นับแต่นั้น ธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชต่างวัด มาประทับวัดมหาธาตุ จึงถูกยกเลิก พระเถระรูปใด สถิตวัดไหน ก็ให้สถิตวัดนั้น เมื่อได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชและปฏิบัติมาถึงทุกวันนี้

อนึ่งการทำบุญอุทิศบูรพาจารย์ ณ วัดราชบุรณะ วันที่ 17 และ 18 เมษายน นั้นเสมือนการชุมนุม พระมหาเถระ เพราะสมเด็จพระราชาคณะ 2 องค์เมตตามาเป็นประธาน คือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท) วัดไตรมิตร และสมเด็จพระมหาธัราจารย์ (ปฤสิทธิ์) อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพน นอกจากนั้นเป็นรองสมด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะชั้นธรรม อีก 21 องค์ พระสงฆ์อีก 100 รูปมาฉันเพลตามที่นิมนต์ เมื่อพระฉันเพลเสร็จ มีบังสุกุลรวมญาติ และสรงน้ำพระ เสร็จพิธี ในเวลา 14.00 น.