เมื่อต้องโบกมือลา

01 ส.ค. 2564 | 22:02 น.

Designing Your Family Business รศ.ดร.เอกชัย  อภิศักดิ์กุล  คณบดีคณะวิทยพัฒน์และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย [email protected]

เมื่อธุรกิจไปต่อไม่ได้ก็ต้องการออกจากธุรกิจด้วยการมีแผนวางมือจากธุรกิจในอนาคต และยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรหลังจากที่เจ้าของเดิมออกไปแล้วอีกด้วย ซึ่งการเลือกกลยุทธ์ในการออกจากธุรกิจอาจดูเหมือนไม่มีขั้นตอนที่ชัดเจนในช่วงเพิ่งเริ่มต้น

 

แต่การวางแผนล่วงหน้าเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะหมายถึงการโอนความเป็นเจ้าของบริษัทเมื่อจะเกษียณตัวเองหรือไม่ต้องการจะทำธุรกิจต่อไป เนื่องจากการออกจากธุรกิจอาจสร้างความตึงเครียดจนมักจะบดบังการตัดสินใจที่ถูกต้องได้

 

ดังนั้นหากมีกลยุทธ์ที่ดีที่วางแผนไว้ล่วงหน้าจะช่วยให้สามารถจัดการกับสถานการณ์ที่ยากลำบากได้อย่างดี โดยสิ่งที่ควรพิจารณาในการสร้างกลยุทธ์การออกธุรกิจ ได้แก่ ระยะเวลาที่วางแผนจะอยู่ในธุรกิจ สถานการณ์ทางการเงินและความคาดหวังของเจ้าของ

 

ผู้ลงทุนหรือเจ้าหนี้รายใดที่ต้องชดใช้ และขั้นตอนจะเป็นอย่างไร เป็นต้น ทั้งนี้การวางกลยุทธ์ไว้เสียแต่เนิ่นๆ สามารถช่วยให้กระบวนการเป็นเรื่องง่ายและให้ผลกำไรมากที่สุด โดยทั่วไปแล้วสำหรับธุรกิจขนาดเล็กมีกลยุทธ์ในการออกจากธุรกิจดังนี้

 

เลิกกิจการ (Liquidation) เป็นกระบวนการในการปิดกิจการและการขายทรัพย์สินของกิจการหรือ แจกจ่ายให้กับเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น มี 2 วิธีการหลักๆได้แก่ วิธีแรกคือ ปิดกิจการและขายสินทรัพย์โดยเร็วที่สุด วิธีนี้มักเป็นวิธีสุดท้ายสำหรับธุรกิจ

 

เนื่องจากจะสร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่ขายได้เท่านั้น ในขณะที่รายการอื่นที่มีค่า เช่น รายชื่อลูกค้าหรือความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะหายไปด้วย ทั้งนี้ก่อนเลิกกิจการ เจ้าของจะต้องทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการชำระบัญชีเพื่อให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องในการขายทรัพย์สิน

เมื่อต้องโบกมือลา

ชำระหนี้ทั้งหมด ระเบียบการเกี่ยวกับพนักงาน และบรรลุข้อผูกพันทางกฎหมายและการเงินทั้งหมด ข้อดีคือเป็นทางออกที่ค่อนข้างง่ายและขึ้นอยู่กับการขายสินทรัพย์ ซึ่งอาจเป็นกระบวนการปิดกิจการอย่างรวดเร็ว ข้อเสียคือจะได้เงินจากสินทรัพย์ที่ขายได้เท่านั้น เช่น อสังหาริมทรัพย์ สินค้าคงคลัง อุปกรณ์ ฯลฯ และถ้ามีเจ้าหนี้ต้องชำระก่อนจากเงินที่ได้มา

 

อีกวิธีคือ การชำระบัญชีธุรกิจอย่างช้าๆ วิธีนี้คือการจ่ายเงินให้ตัวเองจนกว่าการเงินของธุรกิจจะหมดลง จากนั้นก็ปิดกิจการและเมื่อเวลาผ่านไปเจ้าของจะนำเงินออกไปแทนที่จะนำกลับมาลงทุนใหม่อีกครั้งในธุรกิจ ข้อดีคือมีกระแสเงินสดเข้ามาเรื่อยๆ

 

ข้อเสียคือศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจและมูลค่าการขายลดลง อีกทั้งวิธีการนำเงินออกไปจะส่งผลต่อสถานการณ์ทางภาษีของเจ้าของด้วย

 

ขายธุรกิจ เจ้าของอาจตัดสินใจขายธุรกิจให้กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นหุ้นส่วนเดิม ผู้บริหาร พนักงาน ลูกค้า เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัว โดยทั่วไปในข้อตกลงการจัดหาเงินทุนของผู้ขายนั้น ผู้ซื้อสามารถทยอยชำระเงินให้ธุรกิจได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ขายสามารถรักษารายได้ใน

 

ขณะที่ผู้ซื้อเริ่มดำเนินธุรกิจโดยไม่ต้องลงทุนเริ่มแรกจำนวนมาก และผู้ขายยังสามารถทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในระหว่างการถ่ายโอนกิจการ ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการราบรื่นขึ้นสำหรับทุกฝ่ายอีกด้วย

 

ข้อดีคือการซื้อกิจการระยะยาวสามารถช่วยสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน รู้สึกมุ่งมั่นกับความสำเร็จของธุรกิจมากขึ้น และเจ้าของเดิมอาจยังคงมีส่วนร่วมในธุรกิจได้หากต้องการ ข้อเสียคือความสัมพันธ์ในครอบครัวอาจตึงเครียดและก่อให้เกิดความขัดแย้งในครอบครัว

 

นอกจากนี้ผู้ขายอาจถูกโน้มน้าวให้ขายในราคาลดมากๆไม่ตรงตามมูลค่าจริงของธุรกิจ สุดท้ายอาจเสนขายให้คู่แข่งหรือธุรกิจที่คล้ายคลึงกันที่ต้องการซื้อกิจการของเรา ข้อดีคือผู้ซื้ออาจยินดีจ่ายราคาสูงให้กับบริษัทของคุณ ข้อเสียคือวัฒนธรรมและระบบของทั้ง 2 บริษัทอาจขัดแย้งกันและพนักงานบางส่วนหรือจำนวนมากอาจถูกเลิกจ้างในระหว่างการเปลี่ยนแปลงนี้

 

หน้า 14-15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,701 วันที่ 1 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2564