พาณิชย์เร่งแก้อุปสรรคทรัพย์สินทางปัญหาผู้ส่งออก

02 มิ.ย. 2559 | 14:08 น.
พาณิชย์เร่งแก้อุปสรรคทรัพย์สินทางปัญหาให้ผู้ส่งออก  เดินหน้าแก้ไขกฎหมายให้เข้มขึ้ น  มั่นใจสหรัฐจะปรับสถานะไทยให้ ดีขึ้น เหตุไทยมีความคืบหน้าในหลายๆเรื ่อง ตั้งเป้าปี2560ไทยน่าจะถู กถอดจากบัญชี PWL   ขณะเตรียมยกร่างโรดแมพทรัพย์สิ นทางปัญญาตามป้าหมายไทยแลนด์4.0

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เข้ามามี บทบาทกับผู้ส่งออกไทยมากขึ้นที่ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของปั ญหาและอุปสรรคในการนำสินค้ าของตนเองออกสู่ตลาดต่ างประเทศเพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทยไม่ค่อยศึ กษารายละเอียดของทรัพย์สินทางปั ญญา ดังนั้นผู้ประกอบการเองต้องศึ กษารายละเอียดของทรัพย์สินทางปั ญญาแต่ละประเภทที่มีสวนเกี่ยวข้ องกับธุรกิจ สินค้าหรือบริการด้วยเพื่อเตรี ยมตัวให้พร้อมก่อนทำธุรกิจหรื อนำสินค้าออกสู่ตลาดต่างประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและอุ ปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น   โดยปัญหาที่ผู้ประกอบการไทยเจอ เช่น ถูกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า เนื่องจากผู้ประกอบการไทยไม่ได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่ างประเทศไว้ทำให้เกิดความเสี ยหายและสับสนของผู้บริโภคและสิ นค้าไม่มีคุณภาพหรือถูกคนอื่ นนำเครื่องหมายการค้ าของตนไปจดทะเบียนในต่ างประเทศทำให้เจ้าของเครื่ องหมายไม่สามารถส่งสินค้ าไปขายในประเทศนั้นได้เป็นต้น

ดังนั้นคณะกรรมการนโยบายทรัพย์ สินทางปัญญาแห่งชาติ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานได้ให้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ในฐานะฝ่ายเลขานุ การคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สิ นทางปัญญาแห่งชาติ หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ อจัดทำโรดแมพ (Roadmap) ทรัพย์สินทางปัญญาของไทยในส่ วนของการสร้างสรรค์ การคุ้มครอง การบังคับใช้กฎหมายและการใช้ ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาเชิ งพาณิชย์ โดยคำนึงตั้งแต่ต้นทาง คือผู้ผลิต กลางทาง คือ ผู้ค้า ไปจนถึงปลายทาง คือ ผู้บริโภค  และมีเป้าหมายสอดคล้องตามกรอบยุ ทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ที่ให้ทรัพย์สินทางปัญญาและนวั ตกรรมขับเคลื่อนประเทศสู่ ไทยแลนด์ 4.0

“โรดแมพในแต่ละช่วง มีการกำหนดเป้าหมาย และแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่ องตลอดระยะ 20 ปี โดยเฉพาะในช่วงปี 2560 – 2564 มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนตั วชี้วัดที่ท้าทาย ตลอดจนมีการบูรณาการระหว่างหน่ วยงานขับเคลื่อน เพื่อมุ่งไปสู่การปฏิบัติให้ บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ อย่างแท้จริงซึ่งมี6ด้าน การสร้างสรรค์ ,การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปั ญญาในเชิงพาณิชย์ , การคุ้มครอง ,การบังคับใช้กฎหมาย , ด้านการส่งเสริมการคุ้มครองสิ่ งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และ ด้านการปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรพันธุ กรรมและการแสดงออกทางวั ฒนธรรมแบบดั้งเดิม ซึ่งกระทรวงมีแผนจะนำร่ างโรดแมปทรัพย์สินทางปั ญญาเสนอคณะกรรมการนโยบายทรัพย์ สินทางปัญญาแห่งชาติให้ความเห็ นชอบภายในเดือนกรกฎาคมนี้เพื่ อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนิ นการต่อไป”นางอภิรดีกล่าว

อย่างไรก็ตามในช่วงปีที่ผ่านมา กระทรวงได้มี การปราบปรามการละเมิดทรัพย์สิ นทางปัญญาและมีการจับกุมรวม7, 437คดี และยึดของกลางได้3,846,969ชิ้น รวมทั้งเน้นปราบปรามแหล่งการค้ าของละเมิดที่สำคัญ เช่นตลาดโรงเกลือ  นอกจากนี้ยังมีการแก้ ไขกฎหมายและปรับปรุงให้มี ความเข้มข้นขึ้น เช่น กฎหมายเครื่องหมายการค้า โยให้ความคุ้มครองเครื่ องหมายเสียง กำหนดให้การนำบรรจุภัณฑ์ของแม้ มาใช้บรรจุของละเมิดเป็นความผิ ดและเตรียมเข้าภาคีพิธีสารแมดริ ดซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่ างรอลงพระปรมาภิไธย และกฎหมายสิทธิบัตร เพื่ ออำนวยความสะดวกในการจดทะเบี ยนและเตรียมเข้าเป็นภาคีHague Agreement ซึ่งอยู่ระหว่างรับฟังความคื บหน้า

นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์คาดหวั งว่าสหรัฐอเมริกาจะปรั บสถานะไทยให้ดีขึ้นจากบัญชีที่ ต้องจับตามองเป็นพิเศษ(PWL)เป็ นบัญชีประเทศที่จับตามอง(WL) เพราะไทยเองมีความคืบหน้ าในหลายๆเรื่องๆทั้งในเรื่ องการรณรงค์การสร้างจิตสำนึก การปราบปราม และการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย ทั้งนี้กระทรวงตั้งเป้าว่าในปี2 560 ไทยน่าจะถูกจัดอันดับไปในทางที่ ดีขึ้น และน่าจะถูกถอดจากบัญชีPWLได้