ถอดบทเรียนปลูกข้าวโพดหลังนาสำเร็จแนะ “เฉลิมชัย”สานต่อ

16 ก.ค. 2562 | 04:10 น.

ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษศาตร์การเกษตรวิจัยโครงการข้าวโพดหลังนาของรัฐบาลบิ๊กตู่ 1 โชว์เศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท แนะ “เฉลิมชัย” สานต่อ โดยถอดบทเรียนพัฒนาความรู้การปลูกให้เกษตรกร พร้อมป้องกันและปราบ “หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด” ศัตรูพืชใหม่ที่ระบาดในไทยเป็นครั้งแรก

 

ถอดบทเรียนปลูกข้าวโพดหลังนาสำเร็จแนะ “เฉลิมชัย”สานต่อ

รองศาสตาจารย์วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า ได้ศึกษาวิจัย “โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาฤดูแล้งปี 2561/62” ของรัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งริเริ่มโดย นาย กฤษฎา บุญราช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โครงการฯ นี้สามารถยกระดับรายได้ให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการคิดเป็นมูลค่า 654.55 ต่อไร่และที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการคิดเป็นมูลค่า 616.92 บาทต่อไร่ เหตุผลที่โครงการนี้สามารถสร้างรายได้เพิ่มแก่เกษตรกรที่ไม่ได้ร่วมโครงการด้วยเนื่องจากการลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังสามารถรักษาสมดุลการผลิตข้าว ทำให้ราคาข้าวนาปรังไม่ให้ตกต่ำ

ถอดบทเรียนปลูกข้าวโพดหลังนาสำเร็จแนะ “เฉลิมชัย”สานต่อ

จากการศึกษาพบว่า โครงการนี้มีส่วนทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น 413.11 บาทต่อไร่ ขณะที่เกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการมีต้นทุนสูงขึ้น 330.88 บาทต่อไร่ ตามลำดับ และโดยภาพรวมต้นทุนการผลิตของเกษตรกรทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 383.60 บาทต่อไร่เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนยังมีความรู้ในการปลูกข้าวโพดในนาน้อยและมีการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดซึ่งเป็นครั้งแรกที่แมลงศัตรูพืชชนิดนี้ระบาดในไร่ข้าวโพด ดังนั้นเมื่อนำรายได้หักออกจากต้นทุนการผลิตพบว่าโครงการนี้ทำให้รายได้สุทธิต่อไร่ของเกษตรกที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น 241.44 บาทต่อไร่ และกลุ่มเกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น 286.04 บาทต่อไร่

ถอดบทเรียนปลูกข้าวโพดหลังนาสำเร็จแนะ “เฉลิมชัย”สานต่อ

รองศาสตราจารย์วิษณุกล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ริเริ่มจากการที่พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยส่วนใหญ่ของประเทศอยู่นอกเขตชลประทานหรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 96-97 ของพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งหมด และยังปลูกกันในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมและเหมาะสมต่ำ (S3 และ N) ถึงร้อยละ 33 ของพื้นที่เพาะปลูก ประกอบกับปัญหาอุปทานล้นตลาดของข้าว และปัญหาผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ผลิตอาหารสัตว์ รัฐบาลจึงจัดทำโครงการนี้เพื่อใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับการสร้างสมดุลระหว่างด้านอุปสงค์-อุปทานในตลาดข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ถอดบทเรียนปลูกข้าวโพดหลังนาสำเร็จแนะ “เฉลิมชัย”สานต่อ

สำหรับระเบียบวิธีวิจัยเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลกับเกษตรกรใน 38 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยแบบสอบถามจำนวน 1,180 ชุด ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2562 ซึ่งประกอบด้วยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 657 ครัวเรือนและเกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการที่ปลูกพืชอื่นแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้เช่น ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง เป็นต้น 523 ครัวเรือน โดยได้มีการนำข้อมูลสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยามาวิเคราะห์ร่วมด้วย งานศึกษาครั้งนี้ได้เลือกใช้เทคนิค “วิธีการแมทชิ่งโดยใช้คะแนนความโน้มเอียง” (Propensity Score Matching หรือ PSM) ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในการประเมินผลกระทบของโครงการหรือนโยบายสาธารณะ เพื่อลดปัญหาความเอนเอียงในการคัดเลือกอันเนื่องมาการเข้าร่วมโครงการเป็นไปด้วยความสมัครใจ

ถอดบทเรียนปลูกข้าวโพดหลังนาสำเร็จแนะ “เฉลิมชัย”สานต่อ

ทั้งนี้พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในโครงการมี 813,598 ไร่และพื้นที่ที่ปลูกพืชอื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 20,626,327 ไร่  ผลการศึกษาพบว่า โครงการฯสามารถสร้างประโยชน์รวมในเชิงเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่า 6,081 ล้านบาท โดยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เข้าร่วมโครงการได้รับผลประโยชน์มูลค่า 173 ล้านบาท ขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกพืชอื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการได้รับผลประโยชน์มูลค่า 5,908 ล้านบาท  นอกจากนี้โครงการยังสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในมิติของสุขภาพด้วยคือ การลดปัญหามลพิษทางอากาศจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเนื่องจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯมีอัตราการเผาเพื่อจัดการแปลงคิดเป็นร้อยละ 27.36 ของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ ขณะที่เกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการมีอัตราการเผาเพื่อจัดการแปลงคิดเป็นร้อยละ 36.70 ของพื้นที่ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ สรุปคือ โครงการช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศโดยสามารถลดพื้นที่เผาทางการเกษตรลงร้อยละ 25.44 เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีโครงการ 

ถอดบทเรียนปลูกข้าวโพดหลังนาสำเร็จแนะ “เฉลิมชัย”สานต่อ

สำหรับ​ผลตอบแทนแก่เกษตรกรผู้​ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่ำกว่าที่ประเมินไว้ โดยก่อนหน้าดำเนินโครงการกระทรวงเกษตรฯ ประมาณการว่า ผลตอบแทนจากการปลูกข้าวโพดหลังนานจะสูงกว่าการปลูกข้าวนาปรังไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทต่อไร่ แต่จากการสำรวจข้อมูลภาคสนามพบว่า ปัญหาหลักที่เป็นอุปสรรคที่ทำให้ผลตอบแทนต่ำคือ การเกิดภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้น้ำมีไม่เพียงพอใช้ตลอดฤดูเพาะปลูก

ถอดบทเรียนปลูกข้าวโพดหลังนาสำเร็จแนะ “เฉลิมชัย”สานต่อ

โดยจากการสำรวจพบว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทานถึง 508 ครัวเรือน จาก 657 ครัวเรือนที่ทำการสำรวจ ผลผลิตถูกทำลายจากการระบาดอย่างรุนแรงของหนอนกระทู้ในหลายพื้นที่ทำให้ผลผลิตเสียหายและเกษตรกรต้องใช้จ่ายเพิ่มเพื่อซี้อยากำจัดศัตรูพืช เกษตรกรที่ไม่เคยปลูกข้าวโพดขาดความรู้ในการเพาะปลูกและจัดการแปลง และราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรได้รับจริงเพียง 6.14 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่าราคาประกันซึ่งตั้งไว้ไม่ต่ำกว่า 8 บาทต่อกิโลกรัมที่ความชื้นร้อยละ 14.5 เนื่องจากการรีบเก็บเกี่ยวก่อนเวลา ขาดแคลนเครื่องจักรเก็บเกี่ยวในพื้นที่ หรือการกดราคาของพ่อค้าพืชไร่และผู้ผลิตอาหารสัตว์ที่มีอำนาจทางการตลาดที่สูงมาก

ถอดบทเรียนปลูกข้าวโพดหลังนาสำเร็จแนะ “เฉลิมชัย”สานต่อ

รองศาสตราจารย์วิษณุย้ำว่า โครงการข้าวโพดหลังนาฤดูแล้งปี 2561/62 ประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจจากผลกระทบในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งรัฐบาลสมควรสานต่อ โดยเพิ่มการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการในปีถัดๆ ไปควรพิจารณาเกณฑ์ความเพียงพอของน้ำตลอดฤดูเพาะปลูกให้เข้มงวดมากขึ้น ควรสร้างระบบเตือนภัยศัตรูพืชและสภาพอากาศให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่ายอย่างทั่วถึงและทันท่วงทันมากขึ้น ควรเพิ่มความรู้ให้กับเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะเกษตรกรที่ไม่เคยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาก่อน โดยอาจประสานกับสถาบันการศึกษาที่เชี่ยวชาญด้านเกษตรทั่วประเทศและภาคเอกชนในการเป็นพี่เลี้ยงให้กับเกษตรกร ควรส่งเสริมตลาดเช่าซื้อเครื่องจักรกลเพื่อการเก็บเกี่ยวและจัดการแปลงที่ได้คุณภาพให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ และควรเพิ่มการดูแลการรับซื้อในราคาที่ยุติธรรม และส่งเสริมการปลูกในรูปแบบแปลงใหญ่ผ่านการขายให้กับสหกรณ์น่าจะช่วยให้เกษตรกรได้ราคาขายที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้โครงการที่ริเริ่มทำเป็นครั้งแรกพัฒนาจนสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรมากดังที่วางเป้าหมายไว้ อีกทั้งเป็นต้นแบบในการทำเกษตรกรรมอื่นๆ ต่อไป