คันฉ่อง ส่องเลือกตั้ง : พรรคใหม่-เก่า ส่อตกม้าตายอื้อ

25 ม.ค. 2562 | 12:13 น.
ตาย-01 ตกม้า-03 นับถอยหลังเวทีการเมืองเปิดให้ลงสนาม เหลือเวลาแค่สัปดาห์เศษ ๆ ที่ทั้งพรรคและนักการเมือง เล็งสายตาจับจองพื้นที่ใน 350 เขตเลือกตั้ง

“ต้องลุ้นระทึก” ว่าถึงวันเปิดรับสมัครลงชิงชัยเก้าอี้ส.ส. 4-8 กุมภาพันธ์นี้ อาจหมดสิทธิได้ตั๋วลงแข่งขัน เรียกว่าแพ้ตั้งแต่ยังไม่ทันลงสนาม

กกต.ออกมาเปิดเผยว่า จากข้อมูลวันที่ 21 มกราคมนี้ มีพรรคที่มีคุณสมบัติครบ สามารถส่งผู้สมัครของพรรคลงชิงส.ส.เขตทั้ง 350 เขตทั่วประเทศแค่พรรคเดียว คือ ประชาธิปัตย์

อ่าน | กกต. เคาะเลือกตั้ง 24 มี.ค. 62 
อ่าน | เดินหน้าเลือกตั้ง 24 มี.ค. มิถุนายนได้ ‘นายกฯ-ครม.’ใหม่
อ่าน | ประกาศ กกต. ทำป่วน! ปมหลักฐานเสียภาษี พรรคการเมืองผวาสมัคร ส.ส. ไม่ทัน

เพราะตามมาตรา 145 กฎหมายพรรคการเมือง 2560 บัญญัติไว้ชัด พรรคจะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งเขตเลือกตั้งใดได้ จะต้องจัดตั้งสาขาพรรคการเมือง หรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด อย่างน้อย 1 แห่งในจังหวัดนั้น ๆ

ประชาธิปัตย์รายงานกกต.ว่า จัดตั้งสาขาพรรคแล้ว 8 สาขา และมีตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดอีก 69 แห่ง ครบทั้ง 77 จังหวัด

ขณะที่พรรคอื่นอีกกว่า 100 พรรค แจ้งเข้ามายังกกต. แค่ 39 พรรค โดยจำนวนยังห่างไกล รวมถึงพรรคใหญ่ขั้วหลักทางการเมืองอย่าง เพื่อไทย มีสาขาพรรค 4 แห่ง ตัวแทนสาขาพรรค 26 แห่ง  ส่วน พลังประชารัฐ มีสาขาพรรค 1 แห่ง ตัวแทนพรรคประจำจังหวัดอีก 30 แห่ง

อ่าน | "ปชป." พรรคเดียวผ่านเกณฑ์ตั้งสาขา-ตัวแทนพรรค ครบ 77 จังหวัด 

แถมระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม หย่อนบัตรใบเดียวเลือกส.ส.เขต เอาคะแนนที่ได้ไปรวมนับเป็นคะแนนพรรคด้วย เพื่อไปคิดหาจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อ ทุกคะแนนมีความหมาย พรรคการเมืองต้องดิ้นส่งส.ส.เขตให้ได้มากที่สุด
tp16-3439-คันฉ่อง แต่เจอแบบนี้ทั้งพรรคเก่า-พรรคใหม่ ว่าที่ผู้สมัครอาจตกม้าตายกันอื้อ

เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องการให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสะท้อนความต้องการของสมาชิกพรรค กฎหมายการเลือกตั้งส.ส. จึงบัญญัติให้ต้องทำ "ไพรมารีโหวต" หรือการเลือกตั้งขั้นต้นจากสมาชิกพรรคในแต่เขตเลือกตั้ง ป้องกันผู้บริหาร-นายทุนครอบงำพรรค จัดบัญชีผู้สมัครเองอย่างที่แล้วมา

เนื่องจากเป็นของใหม่และเวลาจำกัด จึงเป็น "ไพรมารี" อย่างย่อ จากที่จะทำทุกเขตเลือกตั้ง ก็ให้ใช้พื้นที่จังหวัด ที่มีสาขาพรรคหรือตัวแทนพรรคประจำจังหวัด ส่งรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตจังหวัดนั้นให้คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครของพรรค

อ่าน | เปิดเบื้องหลัง กกต. เคาะ 24 มี.ค. หย่อนบัตรเลือกตั้ง 
อ่าน | มาดู 5 พรรคยอดนิยมมีสมาชิกสูงสุด 

การเลือกตั้งครั้งแรกที่จะเกิดขึ้นเวลายิ่งกระชั้น คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 13/2561 ผ่าทางตัน ให้คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครของพรรคการเมือง แค่ "ต้องรับฟังความเห็น" ของหัวหน้าสาขาพรรค หรือตัวแทนพรรคประจำจังหวัด และสมาชิก เพื่อวางตัวผู้สมัครของพรรคได้

แต่ติดล็อกใหม่ที่ไม่คาดคิด เพราะเมื่อมีกฎหมายลูกเพื่อจัดการเลือกตั้งใช้บังคับ ได้ให้พรรคการเมืองต้อง "รีเซต" สมาชิกพรรคกันใหม่หมด ต้องส่งบัญชีรายชื่อสมาชิกให้ กกต. ตรวจสอบกับระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรค เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเป็นสมาชิกพรรคซ้ำซ้อน ซึ่งจะขาดคุณสมบัติ

[caption id="attachment_379453" align="aligncenter" width="500"] คันฉ่อง ส่องเลือกตั้ง : พรรคใหม่-เก่า  ส่อตกม้าตายอื้อ เพิ่มเพื่อน [/caption]

งานนี้กลายเป็นบูมเมอแรงเหวี่ยงกลับใส่ กกต. หลายพรรคโวยลั่นจัดส่งรายชื่อสมาชิกพรรคให้กกต.รับรองความถูกต้องนานแล้ว ยังตรวจไม่เสร็จ เลยเดินหน้าตั้งสาขาพรรคหรือผู้แทนพรรคประจำจังหวัดยังไม่ได้

โดยการจะจัดตั้งสาขาพรรคต้องมีสมาชิกพรรคที่มีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดนั้นไม่ต่ำกว่า 500 คน ส่วนการตั้งผู้แทนพรรคประจำจังหวัด ก็ต้องใช้สมาชิกพรรคที่มีภูมิลำเนาในเขตเลือกตั้งในจังหวัดนั้นตั้งแต่ 101 คนขึ้นไป จึงจะตั้งได้

ถ้าโดนจับ “แพ้ฟาวล์” เพราะลงสมัครไม่ได้ มีหวัง กกต. โดนถล่มเละแน่

อ่าน | คอลัมน์ : คันฉ่อง ส่องเลือกตั้ง >>คลิก

| คอลัมน์ : คันฉ่อง ส่องเลือกตั้ง
| โดย... นาย NO VOET
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3439 หน้า 16 ระหว่างวันที่ 27-30 ม.ค.2562
595959859