เปิดแนวคิด "วัยรุ่นพันล้าน" กับการเมืองใหม่

19 ม.ค. 2562 | 13:52 น.
จากที่ สปริงนิวส์ เน็ตเวิร์ค ได้มีการจัดงานเสวนา “อยากเห็นเมืองไทยดีกว่านี้ 2” ในหัวข้อ “เปิดแนวคิดวัยรุ่นพันล้านกับการเมืองใหม่”  โดย 5 นักธุรกิจชั้นนำ ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้จัดการกองทุน 500 Tuktuks ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุ๊คบี จำกัด, ปรินทร์ โลจนะโกสินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนบี มีเดีย จำกัด (มหาชน), สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด , ณพ ณรงค์เดช รองประธานคณะกรรมการ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด และชนิสรา วงศ์ดีประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บรันช์ไทม์ จำกัด (เจ้าของผลิตภัณฑ์ ไดมอนด์เกรนส์) ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์จากผลกระทบทางการเมืองและแสดงความคิดเห็นสู่ตัวแทนพรรคการเมืองไทยเพื่อนำไปพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

[caption id="attachment_377037" align="aligncenter" width="503"] นายฉาย บุนนาค ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดียกรุ๊ป จํากัด (มหาชน) นายฉาย บุนนาค ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดียกรุ๊ป จํากัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จุดประสงค์ของการเสวนาในวันนี้คือ ต้องการให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมองประสบการณ์แนวคิดเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งสำหรับพรรคการเมืองแต่ละพรรคอยากให้ได้รับฟังความคิดเห็นของนักธุรกิจที่สร้างเนื้อสร้างตัวมาด้วยตนเองในวัยที่ไม่สูง ถือว่าเป็นวัยรุ่นอยู่เพื่อนำไปพัฒนาในเชิงของนโยบายต่อไป เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยที่มีประชากรกว่า 66 ล้านคนในปัจจุบัน มีจำนวนเกษตรกรกว่า 7 ล้านครัวเรือนเทียบเท่ากับ 20 ล้านคนหรือ 30% ของประเทศ บนพื้นที่เพาะปลูกกว่า 150 ล้านไร่ แต่ตัวเลขที่น่าตกใจคือ 10 อันดับแรกของสินค้าส่งออกไทยมีสินค้าเกษตรเพียงอย่างเดียว ที่ไม่ใช่ข้าวแต่เป็นยางพาราและไม่ใช่อันดับ 1 ซึ่งอยากให้มองว่านโยบายหรือแนวคิดอะไรของแต่ละพรรคที่จะมาช่วยประชากรที่เป็นรากฐานของประเทศ ช่วยให้มีความมั่นคงและอยู่บนหลักของเศรษฐกิจพอเพียงได้แทนที่จะมีนโยบายประชานิยม อย่างเช่น การประกันราคาสินค้า จำนำราคาสินค้าการเกษตรใดๆก็ตามหรือนโยบายที่เหมือนกับโยนเงินตรงไปให้ประชากรหรือเกษตรกรที่มีรายได้น้อย[/caption]

ประสบการณ์เจ็บจากการเมืองไทย

[caption id="attachment_376990" align="aligncenter" width="503"] วัยรุ่นพันล้าน_๑๙๐๑๑๙_0032 ปรินทร์ โลจนะโกสินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนบี มีเดีย จำกัด (มหาชน)[/caption]

ปรินทร์ : ปัจจุบัน การทำงานระหว่างรัฐเอกชน มันต่างกันสิ้นเชิง ความล่าช้าของหน่วยงานรัฐ ระเบียบ กติกา กฎหมายมีไว้เพื่อความละเอียดรอบคอบ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐเน้นเรื่องผลตอบแทนสูงสุด  ขณะที่เอกชนทุกอย่างรวดเร็วหมด เน้นเรื่องนวัตกรรมเป็นหลัก ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลมีความยากไม่ต่างกัน มีทั้งสิ่งที่เอื้อต่อธุรกิจและส่วนที่ยากกับธุรกิจ ซึ่งมีความท้าทายที่แตกต่างกันออกไป ปัญหาตอนนี้ที่กระทบ คือ ภาษีป้ายที่จะขึ้น 400-500% หากมองสองมุมเข้าใจว่าภาครัฐต้องการมีรายได้เพิ่ม แต่ประเด็นคือภาษีป้ายที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบให้ลูกค้าไปเลือกการลงโฆษณาผ่านช่องทางดิจิตอลมากขึ้น

“สิ่งที่ต้องโฟกัสควรเป็นโซเชียลมีเดียอย่าง Google Facebook มากกว่า  ทำไมเราถึงไม่สามารถไปเก็บภาษีหรือหารายได้จากส่วนนั้นได้  เรายินดีให้ปรับเพิ่มแต่ปรับเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมให้เราอยู่ได้”

[caption id="attachment_376993" align="aligncenter" width="503"] สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด[/caption]

สิรโสมย์ : ด้วยความที่เป็นธุรกิจใหม่ แรกๆ คือ เป็นช่วงที่ยากจากเหตุความไม่มั่นคงทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในช่วงที่มีการเคอร์ฟิว  ทุกการกระทำของคนๆ นึงส่งผลกระทบต่อคนเป็นทอดๆ ไป ตามระบบนิเวศ ทุกคนน่าจะมีความกังวล ภาคธุรกิจที่ต้องสู้ในการทำธุรกิจก็เหนื่อยพอแล้ว  แต่ยังมีเรื่องของปัจจัยภายนอกที่ยังต้องมีความกังวล อย่างความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ถ้าเลือกได้ก็อยากให้สถานการณ์มั่นคง

[caption id="attachment_376992" align="aligncenter" width="503"] ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้จัดการกองทุน 500 Tuktuks ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุ๊คบี จำกัด ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้จัดการกองทุน 500 Tuktuks ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุ๊คบี จำกัด[/caption]

ณัฐวุฒิ : ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เราเอากฎหมายที่เขียนขึ้นเมื่อ 30-40 ปีที่ผ่านมา จำกัดการเกิดขึ้นของ เทคโนโลยี มีหลายบริษัทเกิดขึ้นอย่าง แกร็บ แอร์บีเอ็นบี ที่ในปัจจุบันดูเหมือนไม่ถูกต้องตามตัวบทกฎหมาย จริงๆ แล้วเราอยู่ในยุค 2019 ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ มันดีกว่าเร็วกว่าถูกกว่า นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้มีคนใช้มากขึ้น  เราหยุดเทคโนโลยีที่เข้ามาไม่ได้แต่อย่างน้อยเราทำในเรื่องของความแฟร์ในสนามการแข่งขัน ระหว่างผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งคนเหล่านี้ใช้วิธีในการจดทะเบียนตั้งบริษัทนอกประเทศเพื่อเข้ามาทำธุรกิจในไทย เพื่อที่จะไม่ต้องทำตามกฎหมายไทย  กฎหมายไทยมีเอาไว้เพื่อให้คนไทยทำธุรกิจแข่งกับบริษัทเหล่านี้ไม่ได้ในปัจจุบัน ซึ่งตรงนี้ต้องมีคนที่มีความเร็วใส่เข้าไปในรัฐบาลชุดนี้ ในการออกกฎหมายหรือแก้ไข

[caption id="attachment_376994" align="aligncenter" width="503"] ณพ ณรงค์เดช รองประธานคณะกรรมการ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด ณพ ณรงค์เดช รองประธานคณะกรรมการ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด[/caption]

ณพ :  เรื่องของพลังงานทดแทน หลังจากที่ได้บริษัทนี้มาซึ่งเกิดเหตุการณ์ที่ดิน ส.ป.ก. ขึ้นถึงแม้ว่าตอนที่เริ่มกิจการเราได้ดีล ดิลิเจนท์อย่างดีและไม่พบปัญหานี้ ขณะนั้นเราเริ่มก่อสร้างโครงการที่ 3 อยู่ และศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่าที่ดินไม่สามารถนำมาใช้ทำพลังงานลมได้  รวมถึงท่อน้ำมันและธุรกิจอื่นๆ ที่ใช้ที่ดินของ ส.ป.ก. อยู่ เนื่องจากพื้นที่ทั้งหมด 98% ที่ติดตั้งกังหันลมอยู่บนที่ดินของ ส.ป.ก. ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นก็ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ผ่านพ้นวิกฤติตรงนั้นมาได้  ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการตีความของกฎหมาย

[caption id="attachment_376999" align="aligncenter" width="503"] ชนิสรา วงศ์ดีประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บรันช์ไทม์ จำกัด (เจ้าของผลิตภัณฑ์ ไดมอนด์เกรนส์) ชนิสรา วงศ์ดีประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บรันช์ไทม์ จำกัด (เจ้าของผลิตภัณฑ์ ไดมอนด์เกรนส์)[/caption]

ชนิสรา :  ปัญหาจากการทำงานที่ผ่านมาคือความล่าช้าของเอกสารจากการติดต่อผ่านหน่วยงานราชการ  ซึ่งมีผลต่อการทำธุรกิจในการรอเอกสารเพื่อดำเนินงานต่างๆ ขณะที่ธุรกิจได้ดำเนินการไปตามความต้องการของลูกค้า  จากที่เห็นมีหลายธุรกิจที่ต้องรอเอกสารจากหน่วยงานราชการ จนทำให้กระแสของสินค้าซาลงส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้านั้น นอกจากนี้กำลังซื้อก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากยอดขายของสินค้าขึ้นลงตามกำลังซื้อของผู้บริโภค วัยรุ่นพันล้าน_๑๙๐๑๑๙_0019

ความหวังกับการเมืองไทย

ณัฐวุฒิ : เด็กรุ่นใหม่คืออนาคตของชาติ รัฐบาลจะช่วยสนับสนุนเรื่องของการศึกษาเพื่อช่วยให้เค้าไปข้างหน้า เราทำทุกวันนี้ไม่ได้เกิดผลในช่วงเวลาเดียว แต่ส่งผลไปถึงคนรุ่นต่อๆไป  รัฐบาลถัดไปเป็นรัฐบาลแรกที่ทุกคนมีสมาร์ทโฟนอยู่ในมือ มันไม่มีเรื่องที่จะไปหลอกเค้าหรือมีเรื่องอะไรที่เกิดขึ้นแล้วคนในประเทศจะไม่รู้ จากนี้เป็นต้นไป เราสามารถใช้เรื่องที่เราทำได้ไปช่วยในเรื่องของการศึกษา การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีทั้งบวกและลบ   ผมก็มีความหวังกับรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นมันไม่ได้แย่ แต่เทคโนโลยีที่เข้ามาจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น เร็วขึ้น ผมนับถือทุกท่านที่ยอมสละเวลาเข้าไปทำเพื่อส่วนรวม เพราะฉะนั้นมันมีความหวังแน่นอน

สิรโสมย์ : ทุกภาคส่วนเกี่ยวข้องกันเพราะอยู่ในระบบนิเวศเดียวกัน ถ้ามีความมั่นคงทางการเมืองทุกหน่วยงานก็จะสามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้ มันถึงเวลาแล้ว เราอยากเห็นประเทศไทยไปข้างหน้า เชื่อว่าประเทศไทยยังดีได้กว่านี้ โลกเปลี่ยนไปเร็วมาก เราเห็นความเปลี่ยนแปลงของประเทศเพื่อนบ้าน ณ วันนี้ การเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาทำให้ประเทศดีกว่านี้ได้ เชื่อว่าทุกการเปลี่ยนแปลงดีเสมอ

ณพ : ผมเชื่อว่าทุกอย่างคนเราอยู่ด้วยความหวัง ถ้ามองย้อนกลับไป 10 ปีที่ผ่านมาที่เราบ่นว่าแย่ๆ แต่เราก็มากันไกลพอสมควร ซึ่งเป็นความร่วมมือของประชาชนทุกคนด้วย การที่จะมีการเลือกตั้งหรือไม่ ผมเชื่อว่าทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์มีพลังในตัวเอง เป็นหน้าที่ที่จะจุดประกายเรื่องของความสามารถของเราออกมาอย่างไร การใช้เทคโนโลยีก็ควรใช้ให้ถูกเรื่อง ซึ่งนโยบายของทุกพรรคก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี

ชนิสรา : การที่ทุกคนจะรู้ทุกอย่างเท่าๆ กัน ทุกคนมีสิทธิ์ออกความเห็น อิสระตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญของทางรัฐบาลและประชาชน ซึ่งปิดกั้นไม่ได้ คนที่ทำงานอยู่ในระดับสูงๆ ต่อไปคนที่มีเจตนาดีที่สุด ถึงจะอยู่ได้ ต่อให้เก่งยังไงแต่เจตนาไม่ดี ก็ยากที่จะเชื่อใจ ทำด้วยเจตนาที่ดีที่สุด เพราะนโยบายของแต่ละทุกพรรคคือดีอยู่แล้ว ถ้าทำได้ไม่มีใครไม่เลือก วัยรุ่นพันล้าน_๑๙๐๑๑๙_0016

อยากเห็นลุงตู่อยู่ต่อไหม?

สิรโสมย์ : ไม่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นพรรคการเมืองหรือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมันก็มีผลต่อความเชื่อมั่นของนานาชาติ

ณัฐวุฒิ :  ถ้าเรามีรัฐบาลผสม จะทำให้ทำงานกันไปได้อีกสักพัก เพราะรัฐบาลไม่ได้เดินด้วยตัวคนๆ เดียว ขอให้ทุกคนที่อยู่ด้วยกันไปสามารถทำงานร่วมกันได้แบบยกมือแล้วมีคนฟัง  คิดว่าคงรู้ว่าตัวเองต้องทำอย่างไร

ชนิสรา : สุดท้ายมันอยู่ที่ผลงาน ไม่ได้อยู่ที่จะเป็นลุงตู่หรือไม่ เพราะเราไม่รู้อนาคตว่าเลือกตั้งมาจะเป็นอย่างไร สุดท้ายเปลี่ยนแล้วเกิดหรือไม่เกิดอะไร คือสิ่งที่เราต้องรอดู ถ้ามองในแบบวัยรุ่นหรือประชาชนคนหนึ่งก็ไม่เข้าใจคำยากๆ เช่นว่า ทำไมถึงต้องเลือกตั้ง ไม่มีเวลาทำความเข้าใจ เพราะงานมีมากมาย จะอยู่ก็ขอให้ทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ถ้าไม่อยู่ก็อยากให้คนที่เข้ามาแทนทำให้ดีที่สุด

ณพ : จากประสบการณ์ในการเป็นผู้นำ มันไม่เป็นได้ดั่งใจ แต่เชื่อในเรื่องของทีมเวิร์ค ในการทำให้สิ่งที่คิดเกิดขึ้นมาให้ได้ มันมีความยาก โดยเฉพาะถ้าต้องเป็นผู้นำและดูแลองค์กรที่ใหญ่มาก เรานั่งบ่นกันแต่ถ้ามองย้อนกลับไป เราก็ก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลา การที่ใครก็แล้วแต่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำ อยู่ที่ทีมงาน ผู้ที่คอยสนับสนุน และผู้ตาม ถ้ามีใครที่มีความหวังดีเข้ามาทำตรงนี้ เราก็น่าจะช่วยสนับสนุนให้เต็มที่ แอดฐานฯ

สิ่งที่ฝากถึงรัฐบาล

สิรโสมย์ : มันเป็นหน้าที่ของคนไทย อยากให้ประชาชนมาใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตัวเองและอยากฝากรัฐบาลให้รับฟังความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ในการหาทางออกร่วมกันเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ

ณัฐวุฒิ : ท้ายที่สุดมันเป็นเรื่องของส่วนรวม ต้องมีคนทำและต้องมีคนฟัง สิ่งที่เกิดขึ้นผมคิดว่าเราเสียเวลากันไปมากมันไม่ใช่เวลาแค่ 4 ปี แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นผมคิดว่าเรามาถึงจุดที่มันควรจะเป็นครั้งสุดท้ายละ ไม่งั้นมันก็จะวนไปอีก แล้วมันจะนานเกินยุคที่เด็กโตขึ้นหลังจากนั้นมันจะเป็นเรื่องใหญ่ เราจะเป็นเจเนอเรชันที่ไม่เคยมีความปรองดองกันเลยในสิ่งที่เกิดขึ้น

ณพ : ผมเชื่อว่าทุกสิ่งที่ท่านกำลังจะทำเมื่อเวลาเปลี่ยนไปอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน ผมเชื่อว่าทุกคนเข้าใจได้ ซึ่งมันเป็นความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายทั้งภาคประชาชนและฝั่งรัฐบาล

ชนิสรา : ทุกอย่างที่ทุกคนเลือกที่จะทำส่งผลต่อการตัดสินใจของเด็กในรุ่นหลัง แต่ก่อนใครทำอะไรจบไปก็จบเลย แต่ปัจจุบันมันอยู่บนโซเชียลมีเดีย อยากให้เด็กรุ่นหลังเห็นว่าต่อไปอยากเป็นผู้ใหญ่ที่ทำสิ่งดีๆให้กับประเทศชาติบ้าง มันไม่ได้หยุดแค่ที่ตัวเรา แต่คือสิ่งที่จะต่อไปในรุ่นหลัง อยากฝากไว้ให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับทุกๆคนด้วย 595959859